เฮนรี จอห์นเทมเปิล ไวส์เคานต์พัลเมอร์สตันที่ ๓ เป็นขุนนางไอริชเชื้อสายอังกฤษซึ่งเป็นนักการเมืองและนักบริหารที่มีทั้งความฉลาดเฉียบแหลม อารมณ์ขันและความมุทะลุจนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ผู้คนกล่าวขวัญมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นนายกรัฐมนตรี ๒ สมัย ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๕๕-๑๘๕๘ และ ค.ศ. ๑๘๕๙-๑๘๖๕ นับตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งเข้าสภาสามัญใน ค.ศ. ๑๘๐๗ พัลเมอร์สตันเป็นสมาชิกสภาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา ๕๘ ปี และในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ถึง ๔๘ ปี เขาเป็นนักการเมืองสังกัดกลุ่มทอรี (Tory) และเปลี่ยนมาเข้ากลุ่มจิก (Whig) และจบลงด้วยการเป็นผู้นำพรรคเสรีนิยม (Liberal Party)* พัลเมอร์สตันจัดว่าเป็นนักการเมืองแบบขุนนางอังกฤษรุ่นเก่าที่มีความคิดเสรี ชื่นชอบความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ต่อต้านความคิดมีรัฐบาลประชาธิปไตย เขามีความเป็นตัวของตัวเองเกินกว่าจะยอมให้พรรคใดมาอ้างสิทธิในตัวเขาเพราะชื่อพรรคไม่มีความหมายสำหรับเขาอย่างจริงจังนักภารกิจหลักคือ การรักษาหรือจรรโลงผลประโยชน์ของอังกฤษเท่านั้นโดยเฉพาะผลประโยชน์ในต่างแดนซึ่งทำให้นักชาตินิยมอย่างเขาอาจถูกจัดได้ว่าเป็นผู้สนับสนุนทั้งพวกเสรีนิยมพวกอนุรักษนิยม หรือแม้แต่กลุ่มปฏิวัติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะของอังกฤษในแต่ละเหตุการณ์หรือแต่ละกรณี ชาวอังกฤษจึงจดจำเพียงว่าเขาเป็นผู้นำด้านการต่างประเทศที่โดดเด่นมากในสมัยที่อำนาจของอังกฤษเฟื่องฟูที่สุด
เฮนรี จอห์นเทมเปิล เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๘๔ ที่คฤหาสน์ของครอบครัวที่บรอดแลนส์ (Broadlands) มณฑลแฮมป์เชียร์ (Hampshire) เขาเป็นบุตรคนโตในจำนวน๕ คนของเฮนรี เทมเปิล (Henry Temple) ไวส์เคานต์พัลเมอร์สตันที่ ๒ เจ้าของที่ดินสายทอรีในเคาน์ ตีซิลโก (Silgo) และเคาน์ตีดับลิน(Dublin) ในไอร์แลนด์ และแมรี มี (Mary Mee) บุตรสาวพ่อค้าชาวเมืองดับลินที่มั่งคั่ง ใน ค.ศ. ๑๗๙๕ เทมเปิลเข้าเรียนที่โรงเรียนแฮโรว์ (Harrow) นอกจากเรียนหลักสูตรวิชาคลาสสิกของโรงเรียนแล้วเขายังเรียนภาษาฝรั่งเศสอิตาลี และเยอรมันเพิ่มเติมจากครูสอนพิเศษที่จ้างมาจากอิตาลี และใน ค.ศ. ๑๘๐๐ ได้เข้าเรียนเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมื่อบิดาเสียชีวิตในเดือนเมษายนค.ศ. ๑๘๐๒ เทมเปิลขณะอายุ ๑๘ ปีได้รับมรดกที่ดินในเคาน์ตีซิลโก และสืบทอดบรรดาศักดิ์ เป็นไวสเคานต์พัลเมอร์สตันที่ ๓ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๘๐๓ เขาเข้าศึกษาที่เซนต์จอห์นส์คอลเลจ (St. John’s College) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ช่วงที่กำลังศึกษาอยู่นั้นได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาสามัญครั้งแรกในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัยในการเลือกตั้งซ่อมอันเนื่องมาจากการอสัญกรรมของนายกรัฐมนตรีวิลเลียม พิตต์ (William Pitt ค.ศ. ๑๗๘๓-๑๘๐๑, ๑๘๐๔-๑๘๐๖)* ในเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๘๐๖ แต่พัลเมอร์สตันพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนั้น
ใน ค.ศ. ๑๘๐๗ พัลเมอร์สตันได้เป็นสมาชิกสภาครั้งแรกโดยมีผู้อุปถัมภ์ช่วยเจรจาตกลงกับเซอร์เลนเนิร์ด โฮมส์ (Leonard Holmes) ขุนนางเจ้าที่ดินเขตนิวพอร์ต (Newport) ที่ไอล์ออฟไวต์ (Isle of Wight) ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งกระเป๋า (pocket borough) โดยพัลเมอร์สตันต้องสัญญาว่าจะไม่ไปเยือนที่นั่นเลย เมื่อเข้าสู่การเมืองครั้งแรก เขาก็ยังคงศึกษาอยู่ที่เคมบริดจ์ พัลเมอร์สตันอภิปรายในสภาครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๘๐๘ โดยชี้แจงเรื่องที่รัฐบาลส่งกองเรือไปกรุงโคเปนเฮเกนอันเป็นการปฏิเสธข้อกล่าวหาของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ (Napoleon I ค.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๑๔)* ที่ว่าอังกฤษกระทำไปเพื่อโจมตีเดนมาร์ก แต่เป็นไปเพื่อยับยั้งการยึดครองเดนมาร์กของนโปเลียนที่ ๑ นับเป็นการแสดงออกถึงความสนใจของเขาในกิจการต่างประเทศ ลอร์ดสเปนเซอร์ เพอร์ซีวัล (Spencer Perceval) ชื่นชมการแถลงของเขามากเมื่อขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. ๑๘๐๙ จึงเสนอตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้แก่เขา แต่พัลเมอร์สตันปฏิเสธด้วยเห็นว่าตนยังไม่พร้อม และพอใจเป็นเพียงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีบทบาทอะไรนักดูแลแต่การเงินของกองทัพอย่างเดียวเขาว่าการกระทรวงนี่อยู่เกือบ ๒๐ ปี ก่อนหน้านั้นใน ค.ศ. ๑๘๒๑ เขาปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งที่จะนำเขาเข้าสู่สภาขุนนาง และไม่รับอีกหลายข้อเสนอเพราะจะทำให้เขาต้องย้ายไปพำนักที่นครดับลินหรือในเขตแคริบเบียนหรือไม่ก็นครกัลักตตา (Calcutta) ในอินเดีย พัลเมอร์สตันไม่อยากละไปจากแสงสีของกรุงลอนดอนศูนย์กลางความสนใจของเขาอยู่ที่สโมสรการพนันหรูหรา อัลแม็ก (Almack) ซึ่งมีผู้ดึงดูดหลักที่คอยต้อนรับเขาอยู่ ๓ คนและเป็นที่ลือกันว่ามีความสัมพันธ์พิเศษกับเขาทั้งสิ้นได้แก่ เลดีเจอร์ชีย์ (Jersey) เจ้าหญิงโดโรที เด ลีเวน (Dorothy de Lieven) และโดยเฉพาะเลดีเอมิลี คาวเปอร์ (Emily Cowper) ซึ่งเขาคบหามาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๑๐ เธอเป็นน้องสาวของนายกรัฐมนตรีวิลเลียม แลมน์ ไวส์เคานต์ เมลเบิร์นที่ ๒ (William Lamb, 2ᶰᵈ Viscount Melbourne ค.ศ. ๑๘๓๔, ๑๘๓๕-๑๘๔๑)* และเป็นภริยาของลอร์ด คาวเปอร์ พัลเมอร์สตันขณะอายุ ๕๕ ปี ได้สมรสกับเธอใน ค.ศ. ๑๘๓๙ เมื่อเธอเป็นม่ายแล้วพัลเมอร์สตันมีบุตรนอกสมรสหลายคนและเชื่อกันว่าบางคนเป็นบุตรที่เกิดจากเลดีคาวเปอร์ก่อนสมรสกับเขา ทำให้เขาถูกมองว่าเป็นเสือผู้หญิง แม้แต่หนังสือพิมพ์ The Times ก็ให้ฉายาพัลเมอร์สตันว่า “Lord Cupid”
ใน ค.ศ. ๑๘๒๘ พัลเมอร์สตันพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีและเปลี่ยนไปเป็นฝ่ายด้านเขายังคงมีบทบาทในด้านกิจการต่างประเทศ เช่นการเสนอให้อาเทอร์ เวลส์ลีย์ ดุ๊กแห่งเวลลิงตันที่ ๑ (Arthur Wellesley, 1ˢᵗ Duke of Wellington)* นายกรัฐมนตรีเข้าไปแทรกแซงในเหตุการณ์ความวุ่นวายในกรีซหรือการที่เขาเดินทางไปยังกรุงปารีสหลายครั้งจนคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติขึ้นในไม่ช้าในปีต่อมาเขากล่าวโจมตีเวลลิงตันว่าจะทำให้อังกฤษกลายเป็นศูนย์กลางของระบอบอำนาจนิยมของยุโรปและเผยแพร่สุนทรพจน์ด้านต่างประเทศครั้งสำคัญของเขาในรูปจุลสาร ซึ่งเท่ากับเป็นการแสดงความจริงจังในการทำทายฝ่ายทอรีที่เขาเคยเข้ากลุ่มด้วยและเคยทำงานกับนายกรัฐมนตรีทอรีมาแล้วถึง ๕ คนเขาตั้งคำถามวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะของนักการเมืองฝ่ายวิกโดยตลอด และแสดงความยินดีต่อเหตุการณ์ การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๘๓๐ (French Revolution of 1830)* ดังนั้นเมื่อชาลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ ๒ (Charles Grey, 2ᶰᵈ Earl Grey)* จากฝ่ายวิกขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปีนั้นเขาก็เชื้อเชิญให้พัลเมอร์สตันรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้ต่อมาเป็นเวลา ๑๕ ปี คือ ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๓๐-๑๘๓๔, ๑๘๓๕-๑๘๔๑ และ ๑๘๔๖-๑๘๕๑ การดำเนินนโยบายแบบก้าวร้าวบุ่มบ่ามทำให้เขาได้ฉายาว่า “Lord Pumice stone” และเรียกการทูตที่เขาใช้กับรัฐบาลชาติต่าง ๆ ว่า การทูตแบบนาวิกานุภาพ (gunboat diplomacy)
การเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายแห่งในยุโรปใน ค.ศ. ๑๘๓๐ กระทบต่อสถานะของยุโรปตามข้อตกลงในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna ค.ศ. ๑๘๑๔-๑๘๑๕)* ได้แก่ เบลเยียมต้องการจะแยกตัวออกจากเนเธอร์แลนด์ การเกิดสงครามกลางเมืองในโปรตุเกสและสเปนจากปัญหาสิทธิการสืบราชสมบัติของพระราชธิดา โปแลนด์กำลังจะสู้รบกับรัสเซีย ส่วนประเทศยุโรปทางเหนือก็กำลังรวมตัวเป็นพันธมิตรอันส่อเค้าว่าจะคุกคามสันติภาพและเสรีภาพของยุโรปส่วนอื่นพัลเมอร์สตันเข้ามารับตำแหน่งขณะที่ยุโรปอยู่ในภาวการณ์เช่นนี้ เขาดำเนินรอยตามแนวนโยบายของจอร์จ แคนนิง (George Canning)* รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนก่อนและยึดหลักการปกป้องผลประโยชน์ทางการเมือง ยุทธศาสตร์ และเศรษฐกิจของอังกฤษทั้งในยุโรปและโพ้นทะเลเป็นสำคัญ โดยพยายามไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับข้อผูกพันระยะยาวไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งในยุโรปเพื่อดำรงสันติภาพ และยืนยันความยิ่งใหญ่ของอังกฤษเมื่อเห็นว่าจำเป็นและเหมาะสม พัลเมอร์สตันมีความเชื่อเหมือนแคนนิงว่าควรสร้างดุลอำนาจในยุโรป ให้ยุโรปอยู่ในภาวะไร้สงคราม และการมีรัฐเสรีนิยมบนภาคพื้นยุโรปจะก่อผลดีต่ออังกฤษ ปรากฏว่าเขาประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ความสำเร็จครั้งแรกคือการยุติปัญหาเบลเยียมช่วง ค.ศ. ๑๘๓๐-๑๘๓๙ ในฐานะประธานของการประชุมแห่งลอนดอน (London Conference) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เขาแสดงความเชี่ยวชาญทางการทูต โดยจัดให้มีการลงนามในสนธิสัญญาลอนดอนค.ศ. ๑๘๓๑ (Treaty of London 1831) เพื่อให้เอกราชแก่เบลเยียม การกระทำดังกล่าวก็เพื่อป้องกันไม่ให้ฝรั่งเศสครอบงำกลุ่มประเทศแผ่นดินตํ่า และต่อมายังให้มหาอำนาจ ๕ ชาติประกันความเป็นกลางของเบลเยียมด้วยพัลเมอร์สตันเห็นว่าการที่เบลเยียมไต้เอกราชจากเนเธอร์แลนด์จะเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของอังกฤษ ข้อเสนอและการจัดการของเขาก็เป็นที่ยอมรับของนานาชาติและเจ้าชายเลโอโปลด์แห่งซักชี-โคบูร์ก (Leopold of Saxe-Coburg) พระสวามีในเจ้าหญิงชาร์ลอตด์ (Charlotte) พระราชธิดาในพระเจ้าจอร์จที่ ๔ (George IV ค.ศ. ๑๘๒๐-๑๘๓๐)* แห่งอังกฤษก็ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรเบลเยียม ส่วนในเรื่องสงครามเอกราชของกรีซ (Greek War of Independence ค.ศ. ๑๘๒๑-๑๘๓๐) พัลเมอร์สตันก็สนับสนุนให้กรีซเป็นเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมัน (Ottomam Empire)* หรือตุรกีด้วยการทำสนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล (Treaty of Constantinople) อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๓๐ เขาก็มีนโยบายปกป้องจักรวรรดิออตโตมันด้วยเพราะต้องการกีดกันรัสเซียไม่ให้เข้ามาที่ช่องแคบบอสพอรัส(Bosporus) การค้าระหว่างอังกฤษกับตุรกีจึงเพิ่มขึ้นถึง ๘ เท่าระหว่าง ค.ศ. ๑๘๓๐-๑๘๕๐
นอกจากนี้ พัลเมอร์สตันยังต้องการกีดกันไม่ให้ฝรั่งเศสครอบงำกษัตริย์สเปนและโปรตุเกสจึงสนับสนุนการเคลื่อนไหวของฝ่ายเสรีนิยมในดินแดนทั้ง ๒ แห่งเพราะเห็นว่าจะช่วยสถาปนาระบอบที่สอดคล้องและเป็นมิตรกับอังกฤษมากกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พัลเมอร์สตันสนับสนุนฝ่ายเจ้าหญิงมาเรีย (Maria) ในโปรตุเกสและฝ่ายเจ้าหญิงอิซาเบลลา (Isabella) ในสเปนให้ได้ราชสมบัติ จึงต่อต้านเจ้าชายมีเกล (Miguel) และเจ้าชายการ์โลส(Carlos) แห่งโปรตุเกสและสเปนตามลำดับ ทั้งสองเป็นพวกอำนาจนิยมและต่างอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ เมื่อช่วยฝ่ายเสรีนิยมปราบกบฏแล้วพัลเมอร์สตันก็จัดให้มีการลงนามพันธไมตรี จตุภาคี (Quadruple Alliance) ในเดือนเมษายนค.ศ. ๑๘๓๔ ระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศสสเปนและโปรตุเกสซึ่งบังคับให้ผู้อ้าง สิทธิในบัลลังก์ออกไปจากประเทศนั้นๆ และเพื่อตอบโต้เจ้าชายเคลเมนส์ ฟอน เมทเทอร์นิช (Clemens Fürst von Metternich)* ที่จัดตั้งสันนิบาตสามจักรพรรดิ (Drei-kaiserbund)* ขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๓๓ ฝรั่งเศสไม่ค่อยเห็นด้วยกับอังกฤษนัก พระเจ้าหลุยส์ ฟิลิป (Louise Philippe ค.ศ. ๑๘๓๐-๑๘๔๘)* ดูเหมือนจะทรงโปรดพวกการ์ลิสต์ (Carlist) ซึ่งสนับสนุนเจ้าชายการ์โลสและปฏิเสธที่จะแทรกแซงสเปนซึ่งข้อนี่อาจเป็นเหตุที่ทำให้พัลเมอร์สตันรู้สึกไม่ดีกับพระเจ้าหลุยส์ ฟิลิปไปจนตลอดชีวิต
ในช่วงแรกของการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในบรรดามหาอำนาจพัลเมอร์สตันกลัวว่าฝรั่งเศสและรัสเซียจะคุกคามผลประโยชน์อังกฤษ แต่การระวังไม่ให้ ๒ ชาติจับมือกันต่อต้านอังกฤษนั้นเขาก็จะใช้วิธีการให้ความร่วมมือ ดังนั้นฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ ฟิลิปจึงเป็นมิตรกับอังกฤษเกือบตลอดทศวรรษ ๑๘๓๐ แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ประเทศ มีอันต้องเสื่อมลงเพราะปัญหาตะวันออก (Eastern Question)* พัลเมอร์สตันต้องการจำกัดอำนาจของมุฮัมมัด อาลี ปาชา (Muhammad AU Pasha)* แห่งอียิปต์ซึ่งเป็นอุปราชของสุลต่านแห่งตุรกีที่ฝรั่งเศสสนับสนุนให้อยู่แต่ที่อียิปต์เท่านั้นมุฮัมมัด อาลีได้พยายาม ยึดชายส่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมด และก่อการกบฏต่อสุลต่านออตโตมันแต่ใน ค.ศ. ๑๘๓๓ และ ๑๘๓๕ รัฐบาลอังกฤษไม่อนุมัติให้พัลเมอร์สตันส่งความช่วยเหลือให้แก่ตุรกีเพื่อต่อสู้กับอาลี แต่เมื่ออำนาจของอาลีคุกคามสถาบันสุลต่านมากขึ้นโดยเฉพาะหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๓๙ พัลเมอร์สตันสามารถทำให้ชาติมหาอำนาจลงนามในเอกสารร่วมในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม รับรองเอกราชและบูรณภาพของจักรวรรดิออตโตมันเพื่อคงความมั่นคงและสันติภาพของยุโรปไว้ และใน ค.ศ. ๑๘๔๐ เมื่อมุฮัมมัด อาลีครอบครองซีเรียและชนะตุรกีในยุทธการที่เนซิบ (Battle of Nezib) ลอร์ดพอนซอนบี (Lord Ponsonby) ทูตอังกฤษประจำกรุงคอนสแตนติโนเปิลจึงร้องขอให้รัฐบาลอังกฤษเข้าแทรกแซง ฝรั่งเศสซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาลีปฏิเสธที่จะเข้าแทรกแซงด้วยแม้จะเคย ลงนามในเอกสารร่วมเมื่อปีก่อนพัลเมอร์สตันขุ่นเคืองฝรั่งเศสมากและอังกฤษก็ต้องการป้องกันไม่ให้ฝรั่งเศสเข้าไปมีอิทธิพลบริเวณแม่นํ้าไนส์ (Nile) จึงดำเนินการให้มีการลงนามในอนุสัญญาลอนดอน(London Convention) เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๔๐ ระหว่างอังกฤษ ออสเตรีย ปรัสเซียและรัสเซียโดยที่ฝรั่งเศสไม่ทราบเรื่อง
พัลเมอร์สตันจำต้องเสี่ยงต่อการทำสงครามกับฝรั่งเศสซึ่งสนับสนุนอาลีและอิบราฮิม ปาชา (Ibrahim Pasha) บุตรชายที่นำทัพอียิปต์บุกเข้าซีเรีย โดยยํ้าให้ปฏิบัติตามอนุสัญญาลอนดอนที่ระบุให้อาลีสามารถปกครองแบบสืบตระกูลในอียิปต์ต่อไปโดยแลกกับการถอนตัวออกจากซีเรีย เลบานอนปาเลสไตน์ และทะเลทรายไชไน(Sinai) แต่เมื่อรัฐมนตรีหลายคนของอังกฤษคัดค้านการดำเนินงานของพัลเมอร์สตันเขาจึงส่งหนังสือถึงไวส์เคานต์เมลเบิร์นที่ ๒ นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าจะลาออกถ้ารัฐบาลไม่เห็นด้วยกับวิธีการของเขา อย่างไรก็ดี อังกฤษส่งกองทหารยิงถล่มนครเบรุตและอาเครอ (Acre) จากนั้นก็ยกพลขึ้นบกหลังยื่นคำขาดต่ออาลีซึ่งคิดว่าฝรั่งเศสจะเข้าช่วยจึงลังเลที่จะยอมจำนนโดยดี ในที่สุดอาลีพ่ายแพ้และสิ้นอำนาจ ระหว่างประชุมช่วงนั้นประเทศมหาอำนาจสนับสนุนพัลเมอร์สตันที่ระบุข้อห้ามไม่ให้เรือรบแล่นผ่านช่องแคบบอสพอรัสและดาร์ดะเนลส์ (Dardanelles) ขณะที่ตุรกีอยู่ในภาวะปลอดศึกสงครามพัลเมอร์สตันยังสามารถโน้มน้าวตุรกีให้ยินยอมให้ต่างชาติส่งกงสุลไปประจำในนครเยรูซาเลมและให้คนต่างชาติไปพำนักถาวรที่นั่นได้ วิลเลียม แทนเนอร์ ยัง (William Tanner Young) จึงเปิดสถานกงสุลอังกฤษในนครเยรูซาเลม วิธีการเชิงรุกของพัลเมอร์สตันนับว่าได้ผล แม้อังกฤษจะร่วมมือกับรัสเซียกีดกันฝรั่งเศสที่หนุนอาลี แต่พัลเมอร์สตันก็ต่อต้านรัสเซียด้วย เนื่องจากเกรงว่ารัสเซียจะคุกคามผลประโยชน์ชองอังกฤษ อังกฤษจึงเข้าไปแทรกแซงในอัฟกานิสถานเพื่อไม่ให้รัสเซียเข้าไปในเอเชียกลาง การต่อต้านรัสเซียของพัลเมอร์สตันนั้นเป็นเพราะรัสเซียสามารถข่มขู่อังกฤษในเรื่องผลประโยชน์ทางใต้ของยุโรปและในเอเชีย อย่างไรก็ดีเขาไม่ประสบความสำเร็จในอัฟกานิสถานการตอบโต้อิทธิพลของรัสเซียในอัฟกานิสถานก่อให้เกิดสงครามอังกฤษ-อัฟกานิสถาน(Anglo-Afghan War ค.ศ. ๑๘๓๘-๑๘๔๒) ที่ก่อความหายนะเพราะจบลงด้วยการทำลายล้างกองทหารอังกฤษขณะถอยร่นจากกรุงคาบูล พัลเมอร์สตันจึงหันไปพยายามขยายอิทธิพลของอังกฤษทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของอินเดียต่อไป
นอกจากนี้ สงครามฝิ่น(Opium War) ครั้งที่ ๑ ระหว่างอังกฤษกับจีนก็เกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๓๙ ซึ่งอยู่ในช่วงที่เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อันเนื่องมาจากความพยายามที่จะบีบบังคับให้จีนเปิดประเทศค้าขายกับพ่อค้าอังกฤษมากขึ้นกองทัพเรืออังกฤษได้เข้าโจมตีมณฑลกว่างตง เพราะเรือแอโรว์ (Arrow) ที่จดทะเบียนเป็นเรืออังกฤษถูกเจ้าหนี้ที่ชายส่งของจีนยึดและดึงธงอังกฤษลงพัลเมอร์สตันสนับสนุนการกระทำของแฮร์รี พากส์ (Harry Parkes) กงสุลอังกฤษประจำมณฑลกว่างตงที่ยิงปืนใส่ที่พักของข้าหลวงจีนผลของสงครามก่อความเสียหายต่ออาคารสถานที่และชีวิตชาวจีนมากมาย คนอังกฤษก็เห็นด้วยกับพัลเมอร์สตันอย่างไรก็ดี รัฐบาลพรรควิกของพัลเมอร์สตันสิ้นสุดลงก่อนสงครามยุติ แต่พัลเมอร์สตัน์ก็ได้ชื่อว่าเป็นรัฐบุรุษที่ทรงอำนาจแห่งยุค การเลือกตั้งครั้งต่อมา พรรคของเขาจึงได้เสียงข้างมากอย่างท่วมท้น
เมื่อกลับมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกครั้ง ได้เกิดการปฏิวัติ ค.ศ. ๑๘๔๘ (Revolutions of 1848)* ทั่วยุโรป เขาสนับสนุนอิตาลีที่ต้องการรวมชาติเพื่อกีดกันการขยายอิทธิพลของฝรั่งเศสสนับสนุนพวกซิซิลีต่อต้านกษัตริย์แห่งเนเปิลส์ และอนุญาตให้มีการจัดส่งอาวุธจากคลังอาวุธที่วูลิช (Woolwich) และไม่เห็นด้วยกับการปราบปฏิวัติในฮังการีของออสเตรียแม้จะไม,อยากให้ฮังการีลุกฮือ พัลเมอร์สตันไม่ต่อต้านออสเตรียเพียงแต่อยากให้ออกไปจากคาบสมุทรอิตาลีเพราะเขาสนับสนุนหลักการกำหนดตนเองตามแนวเชื้อชาติจึงไม่เห็นด้วยที่ออสเตรียยังคงครอบครองภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลีอยู่ นโยบายของเขาช่วยกรุยทางให้แก่ รีชอร์จีเมนโต (Risorgimento)* หรือการรวมชาติอิตาลีและการสถาปนาราชอาณาจักรอิตาลีใน ค.ศ. ๑๘๖๑ พัลเมอร์สตันเห็นว่าเพื่อความนั่นคงของยุโรปแล้วออสเตรียต้องเป็นมหาอำนาจทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์อยู่ต่อไป แต่เขาก็ใช้ยุทธวิธีกีดกันไม่ให้ออสเตรียเข้าแทรกแซงในสงครามกลางเมืองสวิส
ในช่วงที่ ๓ ของการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนี่ จอห์น รัสเซลล์ เอิร์ล รัสเซลล์ที่ ๑ (John Russell, 1ˢᵗ Earl Russell)* นายกรัฐมนตรีจำต้องให้พัลเมอร์สตันดำรงตำแหน่งตามเสียงเรียกร้องของประชาชนแม้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Victoria ค.ศ. ๑๘๓๗-๑๙๐๑)* จะทรงคัดด้านเพราะทรงเห็นว่าเขาเป็นบุคคลอันตรายและไม่อยู่ในการควบคุมของรัฐบาล แต่ช่วงนี้พัลเมอร์สตันแทบจะเป็นนักการเมืองที่คนชื่นชอบมากที่สุดจากการที่มีนโยบายคุ้มครองผลประโยชน์ของอังกฤษไปทั่วโลกและถ้าจำเป็นก็อาจต้องใช้กำลัง ดังเช่นกรณีดอนปาชีฟีกู (Don Pacifico Affair) ที่มีการส่งทหารอังกฤษ ๑ กองร้อยเพื่อกอบกู้ความสูญเสียของดาวิด ปาขีฟีกู (David Pacifico ค.ศ. ๑๗๘๔-๑๘๕๔) ชาวยิวเชื้อสายโปรตุเกสแต่เกิดที่ยิบรอสตาร์ (Gibraltar)* จึงได้สัญชาติอังกฤษ เขามีอาชีพเป็นพ่อค้าที่กรุงเอเธนส์ ใน ค.ศ. ๑๘๔๗ บ้านของเขาลูกเผาทั้งหลังจากเหตุการณ์จลาจลอันเนื่องมาจากการต่อต้านชาวยิวปาชีฟีคูเรียกค่าเสียหายจำนวน๒๖,๐๐๐ ปอนด์ แต่ถูกรัฐบาลกรีกบอกปัด พัลเมอร์สตันจึงเช้าจัดการระหว่างเดือนมกราคม-เมษายนค.ศ. ๑๘๕๐ โดยปิดล้อมเมืองพีเรอุส(Piraeus) ของกรีซซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใต้การดูแลร่วมกันของ ๓ มหาอำนาจ คือ อังกฤษ รัสเซีย และฝรั่งเศสเรือกรีกหลายลำถูกยึดจนกว่ากรีซจะจ่ายค่าชดเชยให้ปาชีฟีกู การกระทำของอังกฤษถูก ๒ ชาติประท้วงทูตฝรั่งเศสเดินทางออกจากอังกฤษชั่วคราวพัลเมอร์สตันเองก็ถูกประณามทั้งในสภาสามัญและในสภาขุนนาง แต่สภาสามัญเปลี่ยนคำตัดสินหลังจากได้ฟังการแถลงอันยาวนาน๕ ชั่วโมงของเขา ซึ่งเป็นสุนทรพจน์ที่คมคายและทรงพลังที่สุดของพัลเมอร์สตันโดยกล่าวถึงการที่พลเมืองอังกฤษควรจะได้รับความคุ้มครองและการยอมรับเฉกเช่นพลเมืองของจักรวรรดิโรมันเคยได้รับ สุนทรพจน์นี่ทำให้พัลเมอร์สตันซึ่งผู้คนนิยมอยู่แล้วแทบจะเป็นวีรบุรุษของประเทศเลยทีเดียวเขาไม่เพียงแต่สามารถให้เหตุผลเรื่องดอนปซีฟีกู แต่ยังเป็นการให้ความชอบธรรมต่อการจัดการด้านการต่างประเทศของเขาด้วยและเมื่อรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ในรัฐสภาที่ซักฟอกเขา พัลเมอร์สตันกลับกล้าแข็งและได้คะแนนนิยม จากประชาชนเพิ่มมากขึ้นไปอีก นอกเหนือไปจากทำให้ปาชีฟีกูได้เงินชดเชยมากพอควร
แมัเขาจะได้รับการโห่ร้องชื่นชมจากสุนทรพจน์ ๕ ชั่วโมง แต่ราชสำนักยังคงไม่พอใจกับวิธีการดำเนินการโดยไม่หารือของพัลเมอร์สตันเพราะสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบกับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เขากระทำซึ่งอาจกระทบต่อพระประยูรญาติซึ่งเป็นประมุขของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เช่นเดียวกับรัฐมนตรีหลายคนก็ไม่พอใจพัลเมอร์สตันทั้งในกรณีนี่และหลายกรณีก่อนหน้าเช่นความคิดที่จะต้อนรับลายอช คอชุท (Lajos Kossuth)* ผู้นำกลุ่มชาตินิยมฮังการีที่ต่อต้านออสเตรียที่บ้านพักของเขาที่บรอดแลนส์ เมื่อพัลเมอร์สตันได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวกับการก่อรัฐประหารยึดอำนาจของประธานาธิบดีหลุยส์ นโปเลียน (Louis Napoleon)* กับทูตฝรั่งเศสประจำ กรุงลอนดอนก็ทำให้ทั้งราชสำนักและรัฐมนตรีหลายคนไม่พอใจอีก ในที่สุดจอห์นรัสเซลล์ เอิร์ลรัสเซลล์ที่ ๑ จำต้องเสนอให้เขาลาออกในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๘๕๑ ซึ่งเขาก็ยินยอม แต่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมาพัลเมอร์สตันก็แก้ลำคืนเมื่อเขาสามารถควํ่ารัฐบาลรัสเซลล์ในการแปรญัตติร่างกฎหมายฉบับหนึ่ง
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๘๕๒ ในช่วงรัฐบาลทอรีเข้าบริหารช่วงสั้นๆ จอร์จ แฮมิลตัน-กอร์ดอนเอิร์ลแห่ง อาเบอร์ดีนที่ ๔ (George Hamilton-Gordon, 4ᵗʰ Earl of Aberdeen) เป็นผู้นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีทั้งพวกวิกและพวกที่เคยสนับสนุนเซอร์รอเบิร์ต พีล (Rober Peel)* ลอร์ดรัสเซลล์ได้ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนพัลเมอร์สตันว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้คนค่อนข้างงุนงงเพราะรู้ว่าเขาชำนาญการต่างประเทศมากกว่า ผู้แต่งชีวประวัติของเขากล่าวว่าถ้าพัลเมอร์สตันคุมนโยบายต่างประเทศตอนนั้นอาจไม่เกิดสงครามไครเมีย (Crimean War)* ก็เป็นได้ เพราะพัลเมอร์สตันกล่าวเตือนแล้วว่าทหารรัสเซียได้เคลื่อนมารวมพลแถวพรมแดนตุรกี ดังนั้นทัพเรืออังกฤษควรร่วมมือกับฝรั่งเศสในช่องแคบดาร์ดะเนลล์เพื่อปรามรัสเซีย แต่คำเตือนของเขาไม่มีใครสนใจ
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๓ รัสเซียขู่ว่าจะบุกแคว้นวัลเลเคีย (Wallachia) และมอลเดเวีย (Moldavia) ถ้าสุลต่านออตโตมันไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้อง พัลเมอร์สตันเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจดำเนินการทันทีว่าต้องส่งทัพเรือไปดาร์ดะเนลส์เพื่อช่วยกองทัพเรือตุรกีและบอกให้รัสเซียรู้ว่า อังกฤษจะเข้าสู่สงครามถ้าราชรัฐทั้งสองถูกบุก แต่ลอร์ดอาเบอร์ดีนไม่เห็นด้วยเพราะใฝ่สันติ แต่ก็ส่งทัพเรือไปดาร์ดะเนลส์ เพราะชาวอังกฤษส่วนใหญ่เห็นด้วยกับพัลเมอร์สตันรัสเซียจึงเห็นเป็นโอกาสบุกแคว้นทั้งสอง วันที่ ๒๘ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๔ อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อรัสเซียจากการที่ไม่ถอนทหารออกจากทั้ง ๒ แคว้นในช่วงฤดูหนาวค.ศ. ๑๘๕๔-๑๘๕๕ ทหารอังกฤษที่เมืองท่าเซวัสโตโปส(Sevastopol) ริมส่งทะเลดำได้รับความลำบากจากสภาพอากาศที่รุนแรงจึงพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ จากปฏิบัติการการยุทธ์ของกองพลน้อย (Charge of the Light Brigade) ซึ่งทำให้ชาวอังกฤษโกรธแค้นเป็นอันมากในเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๘๕๕ ลอร์ดอาเบอร์ดีนจึงต้องตั้งคณะกรรมาธิการของสภาขึ้นเพื่อสอบสวนการปฏิบัติการดังกล่าวในที่สุดรัฐบาลต้องประกาศลาออกทั้งคณะ อย่างไรก็ดี ผลงานสำคัญของพัลเมอร์สตันในช่วงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คือ การออกพระราชบัญญัติโรงงานพระราชบัญญัติว่าด้วยการลดปริมาณควันในกรุงลอนดอนและพระราชบัญญัติยกเลิกการส่งนักโทษไปเกาะแทสเมเนีย (Tasmania) โดยทั่วไป เขาให้ความสนใจด้านกิจการในประเทศน้อย โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูประบบการเลือกตั้งแม้เขาจะเริ่มต้นกับพรรควิกด้วยการสนับสนุนนโยบายปฏิรูประบบการเลือกตั้งของรัฐบาลเกรย์ แต่เขาก็ไม่ต้องการให้อังกฤษก้าวไกลไปกว่านั้นเขาไม่ยอมรับมาตรการใหม่ ๆ ของกฎหมายปฏิรูปที่รัฐบาลเกรย์เสนอในช่วง ค.ศ. ๑๘๓๐-๑๘๓๑ นัก พัลเมอร์สตันจัดได้ว่าอยู่ในหมู่ชนชั้นเจ้าของที่ดินและชนชั้นกลางที่ต่อต้านการให้สิทธิเลือกตั้ง แก่สมาชิกสหภาพแรงงานและต่อต้านมาตรการทำงภาษีและกฎหมายที่จะกระทบต่อชนชั้นเจ้าที่ดินยิ่งในเวลาต่อมาเขาแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัสเซลล์ผู้เคยจัดทำร่างกฎหมายให้เอิร์ล เกรย์ปฏิรูประบบการเลือกตั้งในต้นทศวรรษ ๑๘๓๐ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลเสนอร่างกฎหมายที่จะให้สิทธิออกเสียงแก่กรรมกรในเมืองแบบที่รัสเซลล์ต้องการในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๘๕๓ พัลเมอร์สตันจึงขอลาออก เอิร์ลแห่งอาเบอร์ดีนต้องไปชักชวนให้เขากลับมาโดยบอกว่าการปฏิรูปชั้นต่อไปยังไม่แน่นอน
เมื่อรัฐบาลอาเบอร์ดีนต้องลาออกด้วยเรื่องสงครามไครเมีย สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียไม่ทรงประสงค์จะทาบทามพัลเมอร์สตันจึงทรงขอให้เอดเวิร์ด จอร์จ แสตนลีย์ เอิร์ลแห่งดาร์บีที่ ๑๔ (Edward George Stanley, 14ᵗʰ Earl of Derby) เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ดาร์บีจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ จึงทรงหันมาหาเฮนรี เพตดี-ฟิตซ์โมริช มาร์ควิสที่ ๓ แห่งแลนล์ดาวน์ (Henry Petty-Fitzmaurice, 3ʳᵈ Marquis of Landsdowne ค.ศ. ๑๗๘๐-๑๘๖๓) แต่เขาอายุมากเกินไป พระองค์จึงทรงขอให้ลอร์ดรัสเซลล์รับตำแหน่ง แต่ไม่มีรัฐมนตรีที่เคยร่วมงานกับเขาคนไหนยอมรับยกเว้นพัลเมอร์สตันที่จะยอมทำงานให้ในที่สุดสมเด็จพระราชินีนาถจึงทรงต้องผืเนพระทัยขอให้พัลเมอร์สตันวัย ๗๑ ปี จัดตั้งรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๕๕ เพราะดูว่า “ผู้เฒ่าแพม” (Old Pam) จะเป็นคนเดียวที่จะนำอังกฤษไปสู่ชัยชนะสำเร็จ ซึ่งก็จริงเพราะในเดือนมีนาคม ซาร์นิโคลัสที่ ๑ (Nicholas I ค.ศ. ๑๘๒๕-๑๘๕๕)* สวรรคต ซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๒ (Alexander II ค.ศ. ๑๘๕๕-๑๘๘๑)* ซึ่งครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาทรง ต้องการสันติภาพ แต่พัลเมอร์สตันเห็นว่าข้อความสันติภาพอ่อนให้รัสเซียเกินไปจึงทูลเสนอจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ ไม่ให้ทรงรับการเจรจาสันติภาพ เขาเชื่อมั่นว่าจะกู้เมืองเซวัสโตโปลกลับคืนมาได้ จะทำให้อังกฤษได้เปรียบในการเจรจามากขึ้น
ในเดือนกันยายนเซวัสโตโปลก็ยอมจำนนต่อทหารอังกฤษเมื่อฝรั่งเศสยึดเมืองมาลาคอฟ (Malakov) ได้ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๕๖ มีการลงนามหยุดยิง ต่อมามีการลงนามตกลงในที่ประชุมใหญ่แห่งกรุงปารีสข้อเรียกร้องของพัลเมอร์สตันที่ให้ทะเลดำปลอดทหารก็ได้รับการรับรองแม้ว่าข้อเรียกร้องที่ต้องการให้ดินแดนคาบสมุทรไครเมียคืนสู่ตุรกีไม่เป็นผล วิลเลียม แกลดสโตน (William Gladstone)* และเบนจามิน ดิสเรลี (Benjamin Disraeli)* ผู้นำการเมืองสำคัญทั้งของวิกและทอรีกล่าวโจมตีเสียดสีนโยบายของเขา แต่ชาวอังกฤษทั่วไปพากันชื่นชม หลังการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๖ ในเดือนต่อมา พัลเมอร์สตันก็ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ (Order of the Garter) เมื่อสงครามไครเมียสิ้นสุดลงใน ค.ศ. ๑๘๕๖ อังกฤษก็ก่อสงครามกับจีนอีกเพราะจีนจับลูกเรือของเรือซึ่งจดทะเบียนที่ฮ่องกงในข้อหาโจรสลัด ริชาร์ด ค็อบเดน(Richard Cobden) เสนอให้สภาสามัญลงมติประณามการกระทำดังกล่าวซึ่งก็ผ่านในเวลาต่อมา พัลเมอร์สตันจีงจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เพื่อพิสูจน์ว่ามหาชนอยู่ข้างเขา พรรควิกได้เสืยงข้างมากอีกครั้ง ส่วนค็อบเดนและจอห์นไบรต์ (John Bright) นักการเมืองหัวก้าวหน้าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายต่างประเทศของพัลเมอร์สตันต่างก็ต้องสูญเสีย ที่นั่งในสภา
ความสำเร็จในการแก้ปัญหาสงครามไครเมียทำให้ พัลเมอร์สตันมีชัยชนะในการเลือกตั้งใน ค.ศ. ๑๘๕๗ เขาผ่านพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการหย่าร้าง (Matrimonial Causes Act 1857) ซึ่งทำให้การหย่าร้างไม่ต้องขึ้นศาลศาสนาอีกต่อไป แกลดสโตนซึ่งเคร่งศาสนาคัดค้านแต่ไม่สำเร็จในเดือนมิถุนายนมีข่าวว่าเกิดกบฏในอินเดีย พัลเมอร์สตันจึงส่งเซอร์โคลินแคมป์เบลล์ (Colin Campbell) และกำลังเสริมไปอินเดีย เขาต้องการโอนอำนาจของบริษัทอินเดียตะวันออกให้ขึ้นตรงต่อกษัตริย์อังกฤษจึงมีการออกพระราชบัญญัติการปกครองอินเดีย (Government of India Act 1858) แต่ไม่ถึง ๑ ปีหลังจากนั้นพัลเมอร์สตันก็ลาออกหลังจากการพ่ายแพ้เรื่องไม่สำคัญนัก ความนิยมในตัวเขาแทบหมดไป แต่ในที่สุดรัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมของลอร์ดดาร์บีก็ถูกบีบให้ลาออกใน ค.ศ. ๑๘๕๙ พัลเมอร์สตันกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งของรัฐบาลพรรคเสรีนิยมชุดแรกในประวัติศาสตร์อังกฤษด้วยวัย ๗๕ ปี นับเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งโดยมีแกลดสโตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลอร์ดรัสเซลล์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงสุดท้ายของการบริหารประเทศของเขาพัลเมอร์สตันเสริมสร้างการป้องกันประเทศ รักษาความเป็นกลางในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกันและขัดขวางความพยายามใด ๆ ที่จะขยายสิทธิออกเสียงเลือกตั้งไปยังชนชั้นแรงงานเพราะแม้จะเป็นริกหรือเสรีนิยม แต่ส่วนลึก เขายังคงเป็นนักอนุรักษนิยม จึงขัดขวางไม่ให้มีการปฏิรูปการเลือกตั้งมากไปกว่าที่เป็นอยู่อีก ดังใน ค.ศ. ๑๘๕๓ หนังสือพิมพ์ Morning Herald กล่าวว่า พัลเมอร์สตันมีแนวคิดเสรีนิยมเมื่อเป็นเรื่องต่างประเทศ แต่เป็นอนุรักษนิยมเมื่อเป็นเรื่องในประเทศ
ในสงครามกลางเมืองอเมริกันระหว่าง ค.ศ. ๑๘๖๑-๑๘๖๕ พัลเมอร์สตันมีใจสนับสนุนฝ่ายใต้หรือฝ่ายสมาพันธรัฐ (Confederate) ที่ต้องการมีทาสทั้งที่เขาเป็นคนต่อต้านการค้าทาสและระบบทาสมาตลอด เขารู้สึกเป็นศัตรูกับสหรัฐอเมริกาและเชื่อว่าการสลายฝ่ายเหนือหรือฝ่ายสหภาพ (Union) จะทำให้สหรัฐฯ อ่อนแอซึ่งจะทำให้อังกฤษมีอำนาจเพิ่มขึ้นและการสถาปนาสมาพันธรัฐของรัฐทางใต้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตลาดสินค้าอังกฤษมาก ตอนต้นสงครามกลางเมือง อังกฤษประกาศตนเป็นกลาง แต่ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๖๑ พัลเมอร์สตันรับรองผู้แทนของฝ่ายสมาพันธรัฐอย่างไม่เป็นทางการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ จึงขู่ว่าประเทศที่รับรองฝ่ายใต้ให้แยกตัวถือเป็นศัตรูของฝ่ายเหนือ นอกจากนี้ อังกฤษเกือบต้องเข้าสงครามเพราะนักการเมืองฝ่ายใต้๒ คนถูกฝ่ายสหภาพจับกุมได้บนเรืออังกฤษ พัลเมอร์สตันตอบโต้ด้วยการขู่ว่าจะล่งทหารไปแคนาดา นักการเมืองทั้งสองจึงได้รับการปล่อยตัวแต่เป็นการเดินหมากที่เสี่ยงมาก เพราะกรณีความพยายามของเขาที่จะช่วยเดนมาร์กในปัญหาชเลสริก-โฮลชไตน์ (Schleswig-Holstein) นั้นไม่ประสบความสำเร็จ คำขู่ของเขาไม่ได้ผลเมื่อประกาศในสภาสามัญว่าถ้าชเลสวิก-โฮลชไตน์ถูกปรัสเซียยึด คงไม่ใช่เดนมาร์กเท่านั้นที่เข้าสู่สงคราม แต่รวมอังกฤษด้วย บิสมาร์คไม่สนใจคำเตือนของพัลเมอร์สตันปรัสเซียกับออสเตรียก็เข้ายึดดัชชีทั้งสอง อังกฤษไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ตามคำขู่ได้ นับเป็นการเสียหน้าอย่างยิ่ง ในเวลาต่อมา พัลเมอร์สตันมีวิธีอธิบายปัญหาชเลสวิก-โฮลชไตน์ซึ่งซับซ้อนมากอย่างง่าย ๆ และมีอารมณ์ขันว่า มีบุคคล ๓ คนเท่านั้นที่เข้าใจปัญหานี่คนแรกคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี (Albert, Prince Consort) ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้วคนที่ ๒ คือ ศาสตราจารย์ชาวเยอรมันที่ได้เสียสติไปแล้วและคนที่ ๓ คือ ตัวเขาที่ได้ลืมมันไปแล้ว
ในการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. ๑๘๖๕ พัลเมอร์สตันได้รับชัยชนะอีกครั้ง สามารถเพิ่มจำนวนเสียงข้างมากในสภาหลังจากนั้นเกิดเหตุการณ์รุนแรงในไอร์แลนด์ พัลเมอร์สตันสั่งให้อุปราชในไอร์แลนด์ดำเนินการเฉียบขาด เช่นระงับการพิจารณาคดีในศาลที่ใช้วิธีการแบบลูกขุนและระแวดระวัง การเดินทางของชาวอเมริกันเชื้อสายไอริชเข้าไปในไอร์แลนด์ เพราะเขาเชื่อว่าพวกฟิเนียน(Fenian) ที่ก่อการมีสหรัฐอเมริกาหนุนหลังอยู่ในต้นเดือนตุลาคมปีนั้นพัลเมอร์สตันป่วยหนักมีไข้สูงและถึงแก่อสัญกรรมที่เมืองแฮตฟิลด์ (Hatfield) มณฑลฮาร์ตฟอร์ดเชียร์ (Hertfordshire) เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม สองวันก่อนอายุครบ ๘๑ ปี ศพของเขาได้รับการประกอบพิธีสงที่วิหารเวสต์มินสเตอร์ในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๖๕ นับเป็นสามัญชนคนที่ ๓ ที่ได้รับเกียรตินี่.