จังหวะ

การใช้อัตราส่วนของเวลาเป็นเครื่องแบ่งทำนองเพลงให้เป็นส่วนย่อย ทุก ๆ ส่วนย่อยหรือจังหวะนี้จะต้องมีระยะเท่ากันและดำเนินไปด้วยเวลาอันสม่ำเสมอ จังหวะที่ใช้ในการบรรเลงดนตรีไทยแบ่งออกได้เป็น ๓ อย่าง คือ

 ๑. จังหวะพื้นฐาน คือ จังหวะที่อยู่ในใจของผู้บรรเลงและผู้ขับร้อง

 ๒. จังหวะฉิ่ง คือ การใช้ฉิ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะ เสียง “ฉิ่ง” เป็นจังหวะเบา เสียง “ฉับ” เป็นจังหวะหนัก

 ๓. จังหวะหน้าทับ คือ การใช้ทำนองเครื่องหนังเป็นเครื่องกำหนดจังหวะ โดยมากนิยมใช้หน้าทับปรบไก่เป็นเกณฑ์นับจังหวะ เช่น ตีหน้าทับปรบไก่ครบ ๑ เที่ยว นับเป็น ๑ จังหวะ

 จังหวะฉิ่งและจังหวะหน้าทับแต่โบราณมีความสัมพันธ์กัน โดยจังหวะฉิ่งสามารถเทียบเป็นจำนวนจังหวะหน้าทับได้ เช่น ๒ ฉิ่ง ๒ ฉับ เท่ากับ ๑ จังหวะหน้าทับ

 เพลงบางเพลงอาจมีหน้าทับพิเศษซึ่งมีความยาวแตกต่างไปจากจังหวะหน้าทับในข้อ ๓. เช่น เพลงหน้าพาทย์ต่าง ๆ (ดู หน้าทับ ประกอบ)