สัมนักขาขนิษฐ์ท้าว | ทศเศียร | |
ยลราชนักสิทธิเสถียร | ท่าน้ำ | |
แลโฉมประโลมเจียน | ใจขาด อยู่ฤๅ | |
พิศเร่งพิศวงล้ำ | หลากท้าวใดไฉน | |
เลงตลึงตละเจ้า | จอมสุรา ไลยเอย | |
ฤๅกฤษณุธาดา | สู่ด้าว | |
ฤๅสุริยศะศิปรา | กฎเล่ห์ ไฉนฤๅ | |
ฤๅว่าจักรพรรดิท้าว | ผนวชทิ้งเวียงสฐาน | |
มลักเลงพิศณุเร้า | รนฤดี | |
รึงรักษป่วนกามี | หม่นไหม้ | |
จนพระเสรจสรงลี | ลาสู่ กุฎิเอย | |
นางจึ่งสมประดีได้ | สติก้าวกลับมา | |
ถึงถ้ำพิลาปรื้อ | รำพรรณ | |
ไปหลับจวบสุริยัน๑ | เยี่ยมฟ้า | |
ปางพระสี่กรผัน | ผายสนาบ อีกเอย | |
นางลอบแลเล่ห์บ้า | บ่นเศร้าซึมกสัลย์ | |
ตริพลางแปลงรูปคล้าย | นงคราญ เทพเอย | |
คอยพระองค์จากลหาน | ทึกเต้า | |
ภุชพงษเสร็จสรงสนาน | เสด็จสู่ กุฎิแฮ | |
นางจึ่งเยื้องกรายเข้า | นอบเกล้าอัญชุลี | |
จักรกฤษณพิศรูปเพื้ยน | ผิดใจ | |
เอ๊ะเทพยฤๅผีไพร | หยอกเย้า | |
จำถามแน่ทรามไวย | มานี่ ใยฤๅ | |
สมเยศเจ้าไฉนเจ้า | สถิตยด้าว สฐานใด๒ | |
น้องคือขนิษฐท้าว | ทศภักตร์ | |
ซึ่งผ่านอาณาจักร | เกาะแก้ว | |
หวังให้ร่วมวงษยักษ | ฤๅชอบ | |
จึงหลีกมาบุญแล้ว | ปสบไท้ถวายตัว | |
พระฟังพระว่าอ้า | อายใจ | |
ผิดเพศผิดพิไสย | สื่อพร้อง | |
พระเอยตัดอาไลย | หลากเล่ห ไฉนฤๅ | |
แต่กินรยังต้อง | อยู่ด้วยฤๅษี | |
อนึ่งน้องวรนาฎเชื้อ | กระษัตรี | |
หวังจะฝากชีวี | แด่ไท้ | |
พระว่าชั่งพาที | ใครเสน่ห เองนา | |
ซ้ำด่ากัลยาให้ | เจบน้ำคำคม | |
พระบริภาษแล้วสู่ | สำนักนิ์ | |
นางสดับพระทรงจักร | ด่าแจ้ว | |
จักถือซึ่งคำหนัก | หน่อยไม่ เลยนา | |
ภอเหลือบเหนพระแคล้ว | รีบคล้อยตามไป | |
ถึงสฐานส่ายเนตรชะแง้ | ยลสี ดาเอย | |
ดุจเทพกินรี | สู่ด้าว | |
นี่จึงพระจักรี | เผด็จสวาศ กูเอย | |
จำฆ่าเมียชิงท้าว | ร่วมห้องสองสม | |
แปรรูปเปนราพร้าย | ราวี | |
ไล่คะยิกหยิกตี | เข่นเขี้ยว | |
นางกรีดเรียกจักรี | ช่วยชีพ น้องเอย | |
พระสดับจับศรเลี้ยว | ไล่ล้างนางมาร | |
ปางพระลักษณ์สถิตยยั้ง | ศาลา | |
ยินสนั่นชักขรรค์คลา | สกัดหน้า | |
เหนอนงค์แอบเชษฐา | บังราพ | |
พระนุชเผ่นทยานว้า | วิ่งเข้าชิงไชย | |
ราพเหนสองราชไท้ | รึงความ สวาศเอย | |
พิศลักษณลืมแลราม | ราคร้อน | |
แม้สองมาดสมทราม | สวาศจัก ดีนา | |
ยลนาฎสีดาค้อน | เข่นเข้าราวี | |
พระลักษณโดดถีบต้อง | ยักขินี | |
เหยียบอกแกว่งขรรค์ศรี | ปลายคว้าง | |
ว่าเหวยอี่กาลี | จะฆ่า เสียฤๅ | |
เกรงโลกย์จะยินอ้าง | แต่ให้สาใจ | |
ว่าพลางตัดหัดถ์ทั้ง | ทอนบาท | |
ปากจมูกหูขาด | ขับซ้า๓ | |
จำใจจากภูวนารถ | จรเหลือบ หลังเอย | |
ไกลพระนองเนตรน้ำ | รีบเข้าโรมคัน | |
ปางขุนฃรสถิตยพร้อม | เสนา | |
ยลขนิษฐขาดแฃนฃา | จมูกหวิ้น | |
หูปากแหว่งสงกา | จึ่งตรัส ถามเอย | |
นางสดับแสร้งแต่งลิ้น | กล่าวล้วนดีสม | |
เดิมลาทศภักตรเข้า | ไพรศรี | |
สบหนึ่งนาฎสองชี | ยั่วเย้า | |
น้องรักษบอใยดี | มันโกรธ | |
ทำโทษเพียงข้าเจ้า | จักม้วย มรณา๔ | |
ราพสดับพิโรธร้อง | เรียกมาร มาตยเฮย | |
เร็วเร่งจัดทวยหาญ | เหิ่มกล้า | |
อำมาตยรับโองการ | มาตระ เตรียมเฮย | |
พลรถคชมิ่งม้า | สรรพพร้อมพลเดิน | |
ขุนฃรทรงเครื่องพริ้ง | เพราดุจ พรหมนอ | |
จับคทาสราวุธ | รีบเต้า | |
ทรงรถเร่งพลยุทธ์ | เอิกเกริก มาเฮย | |
ถึงกุฎิขับอสุรเข้า | ไล่ล้อมจับชี | |
สามองค์ยลราพร้าย | รุดราญ | |
รามฝากโฉมเยาวมาลย์ | แด่น้อง | |
กุมศรเผ่นโผนทยาน | ไล่พิฆาฏ ยักษเฮย | |
ปวงยักษเข่นเขี้ยวร้อง | สนั่นพร้อมดากัน | |
พระแผลงพรหมมาศต้อง | โยธี | |
แสนโกฏิดับชีวี | เกลื่อนหล้า | |
ราพพิโรธวาเหวยชี | ทุรชาติ | |
เองอาจทำน้องข้า | ไปรู้มรณา๕ | |
เออก็น้องทานเย้า๖ | ยวลชาย | |
เราจึ่งทำภออาย | แก่ผู้ | |
น้อยฤๅเหม่แบบหมาย | ใครที่ ไหนฤๅ | |
หญิงจะมากระแหย่งชู้ | พูดให้ใครเหน | |
ว่าพลางแผลงสาตรก้อง | เปนไฟ | |
จักรกฤษแผลงตอบไป | เกิดน้ำ | |
ดับเพลิงและศรไชย | ยักษหัก แหลกแฮ | |
ราพพิโรธขะเม่นซ้ำ | ปล่อยด้วยจักรพาฬ | |
ต้องคันศรสาตรสบั้น | จากกร พระเอย | |
รามเอะใจจึงวอน | เทพท้าว | |
พระพรุณทราบนำศร | มาส่ง ถวายแฮ | |
รามรับจับธนูน้าว | ปล่อยต้องรถา | |
สาระถิสีหราชม้วย | ศรคทา หักเอย | |
แทตยพิโรธโดดถลา | แล่นเข้า | |
ถอนรังฟาดจักรา | รามรับ | |
ซ้ำหวดราพเจบเรา | พลาดถ้าเซลง | |
ผุดลุกได้โดดง้าง | บรรพต | |
เท้งทุ่มพระทรงยศ | สาตรป้อง | |
ไล่รุดแทตยกระถด | ถ่อยอ่อน กรเอย๗ | |
ซ้ำปล่อยพลายวาดต้อง | ราพร้ายวายปราณ | |
ปวงเทพย์ชวนเทพย์ซร้อง | สรเสริญ | |
ขานขับสำเนียงเพลิน | เพรียกฟ้า | |
เสร็จผลาญอริราชเยิน | ยับชีพ มลายแฮ | |
จึ่งพระกฤษณเจ้าหล้า | เสดจเข้าอาศรม |
คำศัพท์ | คำอธิบาย |
---|---|
จักรกฤษ | พระกฤษณะผู้ทรงจักร คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม |
จักรพาฬ | ศรจักรพาลพัง, ชื่อศรของพญาขร อนุชาของทศกัณฐ์ |
พระจักรี | ผู้ทรงจักร คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม |
พระทรงจักร | พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม |