ราตรีกระบี่ยั้ง | ยังเตียง ทองนา | |
ฝูงอนงค์นั่งเรียง | รับใช้ | |
ฉวยฉุดสใบเมียง | ภักตรสั่ง สนมแฮ | |
เชิญนาฎกันยุมาให้ | เสด็จขึ้นมาปราง | |
กำนัลรับสั่งแล้ว | ครรไล | |
ไปกราบทูลอรไทย | ถี่ถ้อย | |
นางสดับกระดากใจ | จักขัด เกรงนา | |
ทรงเครื่องเสร็จเสด็จคล้อย | คลาศเฝ้าขุนกระบินทร์ | |
ลูกลมโลมและเกี้ยว | กัลยา | |
ชรอยพี่ร่วมพาศนา | นุชพ้อง | |
อยู่ถึงพลับพลาสา | มิภักดิ์โปรด ประทานแฮ | |
สมนึกเชิญนิ่มน้อง | สถิตยเบื้องบรรจฐรณ์ | |
นางสเทินเมินตอบถ้อย | พาที | |
ข้าใช่สาวแส้มี | ลูกเต้า | |
ไป่ควรคู่บัดสี | สนมนาฏ ดื่นนา | |
ขอปลดเปนเพียงเถ้า | แก่เกื้อการงาน | |
น้อยฤๅถ่อมถ้อยรูป | นางเถียง อยู่นา | |
พี่ใคร่ใช้นุชเพียง | เพื่อนเคล้า | |
ว่าพลางย่างเยื้องเมียง | มาโอบ องค์แฮ | |
พาสถิตยบัลลังก์เล้า | ลูบต้องลองเลียม | |
นางสบัดหัดถ์ข่วนค้อน | คมไนย นาเอย | |
ดูดุ๋ด่วนได้ไฉน | น่าแค้น | |
เมื่อผัวพึ่งบันไลย | ชลเนตร นองนา | |
รักแน่คอยหน่อยแม้น | ทุกขสิ้นตามประสงค์ | |
สุดห้ามความรักร้อน | ทรวงกระสัน แม่อา | |
ตามนิดอย่าบิดผัน | ผัดเพี้ยน | |
ลิงยักษย่อมผิดกัน | กะนั้นและ น้องเอย | |
ไม่สนิทมิดเมี้ยน | เหมาะแม้นมือมาร | |
ซึ่งรักอินทรชิตม้วย | ชีวา แล้วแฮ | |
จักก่นกันแสงหา | ห่อนฟื้น | |
ลองลืมอสุรรักพา | นรสัก คราวเอย | |
เกลือกจะชวนจิตรชื้น | ฉ่ำล้ำกุมภัณฑ์ | |
ว่าพลางทางยั่วเย้า | ยวนสมร | |
รวบรัดกระหวัดกร | กอดเคล้า | |
เอนแอบแนบสนิทนอน | เหนือแท่น ทิพยนา | |
สองทราบรศรักเร้า | รงับเคลิ้มนิทรา | |
ปางนั้นพระลักษณน้อง | อวตาร | |
ดำรัสสั่งสุรการ | กับทั้ง | |
นิลนนท์รีบนำสาร | เสนอจักร กฤษณ์แฮ | |
ตามเหตุหนหลังตั้ง | แต่ต้นจนปลาย | |
แม้นว่าวายุบุตรเข้า | รำบาน | |
ขอลั่นศรสังหาร | ชีพมล้าง | |
แม้นพระโปรดประการ | ใดกลับ แสดงแฮ | |
เราจะรั้งทัพค้าง | อยู่ถ้าราวี | |
รับสารสองกระบี่เร้า | รีบจร ดลแฮ | |
เฝ้าบาทพระสี่กร | กราบเกล้า | |
แถลงเหตุหณุมานถอน | ตนหาก พระนา | |
ทูลเสร็จสุดสิ้นเค้า | กนิฐไท้สั่งความ | |
ทรงครุธหยุดคิดรู้ | แยบคาย สิ้นแฮ | |
หวังเกลื่อนเงื่อนอุบาย | ศึกไว้ | |
ตรัสสั่งบุตรสุริยฉาย | เตรียมตรวจ ขบวนนา | |
เราจะไปเองได้ | ทราบแจ้งจริงไฉน | |
ขุนกระบี่บช้าจัด | พลไกร เสร็จเฮย | |
พระอ่าองค์อำไภ | ผ่องแผ้ว | |
กุมศรเสดจไคล | คลาสู่ รถแฮ | |
เร่งคลี่พยุหทัพแคล้ว | คลาศเข้าพงพี | |
ครั้นถึงเทียบรถแก้ว | กับรถ อนุชนา | |
พระลักษณ์ยอหัดถ์ประนต | บาทไท้ | |
แถลงเล่าลักษณหมด | ตามเหตุ หลังแฮ | |
ขอฆ่าหณุมานไว้ | แบบเบื้องสงคราม | |
ภูวไนยสดับห้าม | น้องรัก ท่านแฮ | |
พ่ออย่าเพ่อหวนหัก | หม่นไหม้ | |
พรุ่งนี้พี่เองจัก | สังเกต ก่อนนา | |
แล้วสั่งพลไกรให้ | ทบรั้งริมไพร | |
ฝ่ายลูกพายุฟื้น | นิทรา | |
ประดับสรรพอลังการ์ | กนกแพร้ว | |
โลมกันยุมาลา | ปราบศึก สมรแฮ | |
แล้วสู่ปราสาทแก้ว | ยอบเฝ้าทศกรรฐ | |
กุมภัณฑ์ยลภักตรยิ้ม | ยินดี ยิ่งนา | |
เรียกนั่งร่วมแท่นมณี | หยอกเย้า | |
บิดรพิศพ่อผ่องศรี | สดกว่า ก่อนเฮย | |
เปนกระไรข้าเฝ้า | นี่เนื้อบุญเรา | |
แต่รับโอรสไว้ | ในธา นีนา | |
ได้พึ่งผ่อนนอนตา | หลับได้ | |
วันวานพ่อไปรา | วีเหนื่อย นักฤๅ | |
จงพั่กสักหน่อยให้ | เหือดฟื้นแรงโรย | |
หณุมานเสแสร้งตอบ | วาที | |
ลูกกริ่งปรปักษหนี | น่าส้อน | |
เชิญพระปิ่นภูมี | ศวรเสด็จ ด้วยแฮ | |
จักจับมนุษย์ต้อน | กระบี่ให้แตกฉาน | |
ทศกรรฐ์ตบหัดถ์ก้อง | ปรางรัตน์ | |
คิดถูกกับพ่อชัด | ชอบถ้อย | |
เหวยราพเร่งเรวจัด | ทัพเทียบ ไว้นา | |
พลไพร่ชายจักน้อย | ชักล้อมวังเติม | |
จัดเปนสองทัพแม้น | มารบิด เบือนแฮ | |
จงประหารชีวิตร | อย่าเว้น | |
สั่งให้ฟั่นเชือกติด | ตนทุก กองเฮย | |
พบสวาน่าเหล้น | มัดเข้ามาเมือง | |
มโหทรรับสั่งแล้ว | รีบมา | |
เร่งตรวจเตรียมโยธา | ครบถ้วน | |
สองทัพสรรพสาตรา | วุธธุช ทิวแฮ | |
สารแสะรันแทะล้วน | แต่งตั้งตามกระบวน | |
ทศเศียรทรงเครื่องพร้อม | พิไชยยุทธ์ | |
หัดถ์จับสาตราวุธ | ใหญ่น้อย | |
แล้วตรัสเรียกวายุบุตร | ตามเสด็จ มานา | |
เถลิงรถเร่งพลคล้อย | คลาศเข้าพนมวัน | |
ครั้นถึงบรรพตใกล้ | สนามรณ รงค์เอย | |
กระบี่ให้หยุดพล | พักไว้ | |
ลงรถรีบจรดล | สู่ทศ เศียรแฮ | |
ทูลว่าข้าขอให้ | เสด็จยั้งอยู่พลาง | |
ลูกจักร่ายเวทป้อง | กายา | |
ลอบสู่ทัพปัจจา | มิตรแล้ว | |
จับลักษณ์กับรามา | มัดเหาะ มาแฮ | |
พระจึ่งขับพลแกล้ว | กลาดเข้าตลุมบอน | |
ทศกรรฐ์สรวลก้องเกือบ | ถึงพรหม โลกย์เฮย | |
ตบหัดถ์ฉาดฉานชม | ชอบแท้ | |
ครั้งนี้ที่ปรารมภ์ | ราวกับ ปลิดแฮ | |
เหนชัดสัตรูแพ้ | พ่ายด้วยเดชดนัย | |
จับมนุษย์นายทัพทั้ง | สองคน ได้แฮ | |
ลิงล่อยคงพลอยซน | ซอกเร้น | |
เสนาอย่าเผลอตน | ตามจับ พิเภกนา | |
ตั้งจิตรคิดว่าเหล้น | สนุกนิ์ครั้งคราวเดียว |
คำศัพท์ | คำอธิบาย |
---|---|
ทรงครุธ | ผู้ทรงครุฑเป็นพาหนะ คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม |