ห้ากระษัตริยเสดจข้าม | เฉนียนชล | |
ถึงฝั่งกับพวกพหล | คับขั้ง | |
ชนนีเสด็จเนาบน | รถรีบ ยาตรแฮ | |
ลุบริเวณชฎิลยั้ง | อยุดพ้องพลพฤนทร์ | |
ทัพขั้งนอกเฃตรด้าว๑ | กุฎี | |
พระพรตเชิญชนนี | เสด็จเต้า | |
สองดาบศนำวิถี | สี่กษัตริย์ จรแฮ | |
ถึงถิ่นภารทวาชเข้า | นบน้อมนักธรรม์ | |
นักพรตถามว่าไท้ | ราชถวัลย์ | |
ไฉนผนวชล่ะขอบขันธ์ | เฃตรกว้าง | |
พระพรตบอกสิ้นสรรพ์ | เหตุกลับ ถามแฮ | |
ทราบถิ่นโปรดแนะบ้าง | ทานแจ้งเธอครวญ | |
ดาบศเหนพระเศ้รา | สงสาร | |
ทูลว่าจะพาหลาน | สู่ไท้ | |
ชวนสองพระอาจาริย์ | นำกษัตริย์ ไปเฮย | |
ถึงกุฎิ์ชฎิลต่างไหว้ | กฤษณ์ยั้งไหนถาม | |
สรภังค์ดาบศแจ้ง | จริงไข | |
สามกษัตริย์เนาเฃตรไศล | พนัศด้าว | |
นามสัตกูฎเชิญไป | ตาจัก นำเฮย | |
นักพวตสี่นำท้าว๒ | เสด็จเข้าไพรเขียว | |
พวกดาบศอยู่เบื้อง | เชิงคิรี | |
เหนหมู่พหลหวาดหนี | วุ่นว้า | |
สวนพระลักษณ์เสดจลี | ลาศเสาะ ผลแฮ | |
ยลพระพรตยกพยุหกล้า | คิดแค้นปลองศิลป์ | |
ปางพระรามสดับก้อง | โกลา หลแฮ | |
ตระหนักศรอนุชา | รีบเต้า | |
ตรัสถามทราบกิจจา | ตามเหตุ ทูลเฮย | |
ปรามพระลักษณ์อยุดเข้า | กุฎิ์ทั้งสององค์ | |
สรภังค์ดาบศทั้ง | สามมุนี | |
นำเสดจดลกุฎี | กฤษณไท้ | |
พักพลร่มเฌอคิรี | นอกเฃตร | |
กษัตริย์สี่เสดจใกล้ | วิศณุแล้วโศกศัลย์ | |
พระรามยลอนุชเศร้า | กำสรด | |
เกรงกนิฐชีพจักปลด | กอดไว้ | |
ห้ากษัตริย์ต่างรันทด | ครวญคร่ำ | |
คลายโศกถามถึงไท้ | ชนกเศ้ราฤๅเกษม | |
พระพรตทูลแต่ต้น | จนจบ ความแฮ | |
บิตเรศโศกปรารภ๓ | เชษฐเจ้า | |
จากเวียงพระโศกสยบ | จนชีพ ดับแฮ | |
สามกษัตริย์ทราบโศกเศร้า | ขัติยห้าวิสัญญี | |
สุมันตันเหนรีบเฝ้า | พระชนนี ทูลเฮย | |
ทราบเหตุจึ่งเสดจลี | ลาศเร้า | |
ถึงกลับโศกทเวศทวี | สยบอีก กำนันแฮ๔ | |
นักพรตมาตยหมอเข้า | ช่วยแก้พลันหาย | |
ฟื้นองค์พงษขัติยพร้อม | เหนกัน | |
รามลักษณอรรคเรศอัญ | ชลิตน้อม | |
มาตุรงค์ท่านรำพรรณ์ | เชิญเสดจ กลับนา | |
กฤษณรักษรับสัตยซ้อม | มั่นแล้วฤๅคืน | |
ไกยเกษีกล่าวอ้อน | วอนขมา โทษแฮ | |
เชิญพิศณุกลับภารา | อย่างกี้ | |
พระตรัสมั่นสัตยา | ห่อนรับ คำเฮย | |
จักรักษาสัตย์ชี้ | เช่นไท้ไอยกา | |
พระวสิฐสวามิตรได้ | สดับตรัส | |
เหนพระรามอ้างสัตย์ | มั่นถ้อย | |
ซักเรื่องขัติยวัตร | ครองอยุทธ เพรงแฮ | |
พระพรตทูลฃอคล้อย | อยู่ด้วยองค์นรายน์ | |
พระจักรีทฤษดิน้อง | โศกศัลย | |
กอดกนิฐจาบัลย | พร่ำพร้อง | |
อย่าเทวศกลับเฃตรขันธ์ | ผดุงราษฎ์ เทิญพ่อ | |
พระพรตฟังยิ่งร้อง | ร่ำไห้โหยครวญ | |
ฝ่ายรุกขเทพยสดับถ้อย | เชิญนารายน์ | |
อมรหมู่แสดงกาย | เยี่ยมหน้า | |
บังคับพระพรตคลาย | เคลื่อนทัพ กลับแฮ | |
คืนปกครองไพร่ฟ้า | กฤษณเอื้อนตามอมร | |
น้องนรายน์สดับซ้ำ | โศกศัลย์ | |
ดังถูกอาวุธฟัน | หม่นไหม้ | |
จึ่งทูลสนองพระบัญ | ชาพระ พี่นา | |
ขอคู่ฉลองบาทไท้ | เพื่อไว้แทนองค์ | |
ปางพระราเมศรเอื้อน | อรรถแถลง | |
จำจักเดินพนัศแขวง | ปราบเสี้ยน | |
ฉลองบาทคู่ปทานแสดง | ความรักษ อนุชนา | |
ห้ากษัตริย์ต่างโศกเพี้ยน | ผัดยั้งอาศรม | |
ฝ่ายสี่นักสิทธิแจ้ง | เหลือทาน ทัดนา | |
อวยสวัสดิแล้วคืนสถาน | อยู่ยั้ง | |
สองกษัตริยละพรตกาญ | จนเครื่อง ทรงแฮ | |
เลิกทัพกลับพร้อมทั้ง | มาตุไท้สามองค์ | |
ครั้นถึงปลายเฃตรด้าว | อยุทธยา นครเอย | |
ให้อยุดสร้างภารา | ที่นั้น | |
พระพรตสั่งอนุชา | เชิญชเนติก์ สามเฮย | |
กลับบุเรศเธอสถิตยหั้น | พักถ้าอวะตาร | |
กล่าวถึงพิราพกล้า | ฤทธิมหันต์ | |
เนาถิ่นเขาอัศกรรณ | อยาบช้า | |
มีสวนปลูกพวาสุวรรณ | พฤกษหนึ่ง ปลาดพ่อ | |
กำชับบ่าวอสุรถ้า | สัตวล้ำแดนกุม | |
สั่งเสร็จรเหจเหาะขึ้น | คัคณานต์ | |
แผลงฤทธิบังสุริยฉาน | มืดฟ้า | |
ดลไตรทศเทวสฐาน | หยอกสุ รางค์เฮย | |
เหนเครื่องประดับคว้า | แย่งได้กลับแดน | |
ป่างพระรามกับด้วย | อนุชา ธิราชแฮ | |
อรรคเรศองค์สีดา | พรตสร้าง | |
หฤไทยขุ่นทรงอา | ไลยพระ ชนกเอย | |
จึ่งเสดจมายังข้าง | นัคไหว้ลาชฎิล | |
ฝ่ายดาบศใหญ่น้อย | ฟังคำ ลาแฮ | |
ในจิตรอาไลยกำ | สรดไห้ | |
อวยพรเสรจพระดำ | เนินจาก ไศลเฮย | |
ถึงกุฎอิสิทธิ์หนึ่งไท้๕ | เสด็จเข้าวันทา | |
เหนดาบศอยู่ด้วย | นางชฎิล | |
แคลงจิตรถามนามมุนินท์ | เผ่าพ้อง | |
นักพรตตอบตามระบิล | สุทัศชื่อ กษัตริย์พ่อ | |
กลับซักพระพี่น้อง | อีกทั้งอนงค์ไฉน | |
พระฟังถามจึ่งแจ้ง | เสรจความ หลังนา | |
นักสิทธิชวนอยู่ตาม | รักท้าว | |
เธอตอบว่าใกล้คาม | เฃตรอยุทธ ยาพ่อ | |
ขอกราบลาไปด้าว | ถิ่นให้ไกลนคร | |
ดาบศสุดขัดได้ | อวยพร | |
จงปัจจามิตรหยอน | พ่ายแพ้ | |
นางชฎิลกับบังอร | อรรคเรศ เสน่ห์แฮ | |
สรวมสวัสดิทุกขเว้นแท้ | เสรจแล้วเธอลา | |
สามกระษัตริย์จากพ้น | อาศรม สุทัศแฮ | |
ลุฝั่งชลพักชม | ร่มไม้ | |
จักข้ามนึกปรารมภ์ | เรือขัด สนนา | |
รุกขเทพยนิมิตรเรือให้ | เสดจข้ามคงคา |
คำศัพท์ | คำอธิบาย |
---|---|
เฉนียน | เฉนียน, ฝั่งน้ำ |
วิศณุ | พระวิษณุหรือพระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม |