สององค์บงมิ่งม้า | อุปการ | |
กายเสวตรโอษฐเท้าปาน | ชาดป้าย | |
ภักตรดำผูกเบาะอาน | ลออเอี่ยม เอกแฮ | |
ยุรยาตรกิริยาย้าย | ย่างแม้นเหมือนหงษ | |
ชมพลางสองต่างทิ้ง | เถาวัล คล้องแฮ | |
ม้าติดทรงสรวลสรร | แซ่ซ้อง | |
พิศพบกล่องผูกพัน | สองแสะ มานา | |
พระบุตรเปิดพบพ้อง | เพ่งอื้นอ่านสาส์น | |
ศุภสาส์นราเมศเจ้า | จอมนรินทร์ | |
ไวยกูลจากกระสินธุ์ | ปราบเสี้ยน | |
มีพระกระมลจิน | ตนานึก ฉงนแฮ | |
โดยศัปทกำปนาทเพี้ยน | ผิดกี้กาลปฐม | |
สงไสยอริราชร้าย | เริงทนง | |
จึ่งปล่อยอปการทรง๑ | เสี่ยงม้า | |
ใครคิดทรยศองค์ | อาจร่วม อาศน์แฮ | |
จะพิฆาฏชาติช้า | ชั่วสิ้นวงษ์สูญ | |
อ่านจบสาส์นเสรจแล้ว | ตรัสพลัน | |
หากว่ามาฃอกัน | จักให้ | |
มาทแม้นจักโรมรัน | เรารบ มันพ่อ | |
การขบถทดโท่ไท้ | บ่แจ้งจิตรฉงน | |
ตรัสพลางพระเผ่นขึ้น | อัศดร | |
กวัดแกว่งพระแสงศร | สาตรคว้าง | |
องค์อนุชแล่นตามจร | พระเชษ ฐาแฮ | |
งามลออเอี่ยมอ้าง | เอกแม้นอัมรินทร์ | |
กำแห่งวายบุตรสุ้ม๒ | ตามสกด รอยเฮย | |
เพ่งพบสองทรงยศ | หน่อเหน้า | |
หนึ่งชีและหนึ่งบท | จรวิ่ง ตามแฮ | |
โฉมเฉิดเฉกผ่านเกล้า | พิศณุไท้ผธมสินธ์ | |
ฤๅสองอรนารถนี้ | ลองฤทธิ์ | |
จึงอาจร่วมอาศนสถิตย | ที่ท้าว | |
มันคือปจัจามิตร | จักจับ ถวายนา | |
ตริเสรจแผลงเดชห้าว | จู่จ้วงจับประจัน | |
หน่อนรินทร์ผินภักตรพ้อง | ขุนสวา | |
ฉุนโกรธชักสาตรา | ฟาดต้อง | |
กระบินทร์ซวดซวนถลา | สลบนิ่ง นอนแฮ | |
พลางยุบลบอกน้อง | กระบี่นี้ทนงหาญ | |
ชรอยนายใช้ดอดด้อม | ดูพา ชีเฮย | |
จึ่งบ่อกลัวชีวา | ปลดเปลื้อง | |
มาทใครจักตามมา | เราต่อ กรพ่อ | |
ตรัสสรรพขับม้าเยื้อง | ย่างห้อรเห็จหัน | |
ลูกลมคืนกลับได้ | สมประดี คิดแฮ | |
ฉิกุมารมีฤทธี | แต่จ้อย | |
ตีกูแทบชีวี วายวอด | เจียวนา | |
อินทรชิตเดชยังน้อย | กว่านี้ไหนไหน | |
คิดพลางคลายเพศแกล้ง | กลบกาย เปนเฮย | |
ลิงเล็กสีเทาผาย | ตุ่มเต้า | |
หักผลพฤกษาถวาย | พระพี่ น้องนอ | |
พระบ่สงไสยเค้า | ตรัสเอื้อนโอษฐแถลง | |
หณุมานทำชอบชั้น | เชิงประจบ | |
เหนประมาทโดดตลบ | ไล่คว้า | |
พระบุตรฟาดถูกซบ | หมอบนิ่ง นอนแฮ | |
บัดเพศกลับคงหน้า | อนุชกริ้วกระหน่ำตี | |
เชษฐว่าอ้ายนี่ | อหังการ | |
พิฆาฏให้วายปราณ | เถิดน้อง | |
กนิฐตอบคำฃาน | อย่าฆ่า เลยนอ | |
มันปล่อยไปสู่พ้อง | พบเจ้านายมัน | |
ฟังกนิฐคิดชอบแล้ว | ถอนลัด ดาแฮ | |
ผูกกระบี่ไพล่หลังมัด | แอ่นแต้ | |
ยางไม้จรดลายหัดถ์ | เปนเรื่อง สาปฮา | |
ใครใช่เจ้าของแก้ | อย่าได้ดังประสงค์ | |
วายุบุตรคืนชีพดิ้น | ฤๅหลด๓ | |
บัดกลับลุอนุช | จักรแล้ว | |
พระถามลูกมารุต | แถลงเรื่อง จบเฮย | |
ทรงสดับเสดจแคล้ว | สู่แก้ขุนกระบินทร์ | |
ลัดาไป่ปลดเปลื้อง | ทรงตัด | |
บขาดบงแช่งชัด | ที่หน้า | |
พระจึงออกโอษฐตรัส | บอกหณุ มานแฮ | |
จงท่านเฝ้าผ่านฟ้า | กฤษณท้าวยังสฐาน | |
จนกระบินทรยินตรัสเศร้า | ใจเสีย | |
อกเผ่าเพียงไฟเลีย | ลวกไหม้ | |
โอ้กูจะคิดเยีย | ใดปลด อายนา | |
มาทมิเฝ้าท่านไท้ | เทวศรอ้นฤๅหาย | |
คิดแล้วลาบาทเบื้อง | บทบงษุ์ | |
เดินดัดลัดพุ่มพง | ป่ากว้าง | |
ลุอยุทธยาตรง | กรากสู่ เฝ้าแฮ | |
ก้มเกษลงแทบฃ้าง | บาทแล้วรำพรรณทูล | |
หริยินผินภักตรพ้อง | หณุมาน | |
ต้องสาปถูกมัดประจาน | จิตรข้อง | |
โกรธตรัสเหม่ใครหาญ | จักวอด วายเฮย | |
บัดยื่นหัตถ์ลูบต้อง | วลิเปลื้องจากสวา | |
หณุมานกรานกราบแล้ว | สนองทูล | |
เบื้องบาทบดินทร์สูรย์ | สุดถ้อย | |
พระตรัสสั่งหณุยูร | ยาตรเร่ง อนุชแฮ | |
ให้จับอ้ายเดกจ้อย | จิตรเอื้อมโอหัง | |
ลูกลมรับพจนขึ้น | เมฆา | |
ถึงทัพอนุชา | ท่านแจ้ง | |
พระให้เร่งโยธา | เดินด่วน ไปเอย | |
พลเพียบเพียงเบียดแป้ง | ป่าล้มรเนนนอน | |
ปางสองน้องพี่ได้ | ยลพล มาแฮ | |
ยืนสกัดกล่าวยุบล | ไต่ถ้อย | |
สองท่านจักไปหน | ใดบอก หน่อยฮา | |
พาพวกมาไม่น้อย | กิจเกื้อการไฉน | |
น้องนรินทรยินพจน์อื้น | ตอบพลัน | |
เฮ้ยเด็กอย่าโมหัน | สู่รู้ | |
เองร่วมอาศนทรงธรรม์ | โทษยิ่ง ใหญ่แฮ | |
เราจักจับสองผู้ | ขบถไท้ไปถวาย | |
ตรัสพลางแผลงสาตรโต้ | ตอบผลาญ สาตรแฮ | |
ต่างอาจต่างอุกราญ | รุกเกรี้ยว | |
ศรพระบุตรสังหาร | ทรวงกษัตริย์ สองแฮ | |
แล้วกลับเปนบ่วงเลี้ยว | ไล่ล้างพลขันธ์ | |
วายุบุตรบัดโดดเข้า | ราวี | |
พระหวดต้องศรศรี | ซบดิ้น | |
สองกระษัตริย์สมประดี | ร่ายเวท เปนแฮ | |
แผลติดยลพลสิ้น | บาดต้องบ่วงกระศัลย์ | |
พระพรตจับสาตรขึ้น | เสี่ยงพลัน | |
นึกเดชทรงสุบรรณ | กอบเกื้อ | |
แผลงปราดเกิดลมผัน | พัดบ่วง หมดแฮ | |
บัดกระทบหน่อเนื้อ | นารถกลิ้งกลางอรัญ | |
ลูกลมโถมจู่จ้วง | โจมจับ | |
รวบพี่น้องหนีลับ | หลีกได้ | |
บัดพาพระบุตรกลับ | ยังน่า รถแฮ | |
ถวายแก่อนุชไท้ | ธเรศเจ้าจอมราม |
คำศัพท์ | คำอธิบาย |
---|---|
ม้าอุปการ | ม้าที่ปล่อยในพิธีอัศวเมธ ในวรรณคดี พิธีอัศวเมธเป็นการประกาศพระบรม เดชานุภาพของพระราชา พระราชาจะทรงปล่อยม้าอุปการพร้อมกับกองทัพ ไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ ถ้าที่ใดไม่อ่อนน้อมกองทัพก็จะเข้าโจมตี เมื่อครบ ๑ ปี แล้วกองทัพจะยกกลับ พระราชาจะจัดพิธีฆ่าม้าอุปการนี้เพื่อบูชายัญ |