คำอภิธานศัพท์

กฤษณุรักษ
พระกฤษณะผู้ทรงคุ้มครอง คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
พระกฤษณุรักษรู้ทีองค์ อนุชแฮ” (ห้องที่ ๕).
กัทลิวัน
ป่ากล้วย ในความว่า
“สุครีพเหาะไปยังกัทลิ วันแฮ” (ห้องที่ ๒๗).
กุกกุฏ
ไก่ ในความว่า
กุกกุฏโกกิลการเวกเร้า” (ห้องที่ ๘).
โกปินำ
ผ้าปิดของลับ มีสายรัดใต้สะโพก ในความว่า
“รังรัดโกปินำมุ่นเกล้า” (ห้องที่ ๕๒).
โกษีย์
พระอินทร์ ในความว่า
โกษีย์ส่งแว่นเวียนเสร็จดับ เพลิงนา” (ห้องที่ ๘).
คิชฌ
แร้ง ในความว่า
“เหนคิชฌขาวเฃตรเบื้องบูรพ์ทิศ” (ห้องที่ ๔๐).
จอมไตรตรึงษ
เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือ พระอินทร์ ในความว่า
“ปางองค์อัมเรศรเจ้าจอมไตร ตรึงษเฮย” (ห้องที่ ๕).
จอมบุรินทร์จาฤก
เจ้าเมืองจารึก คือ วิรุญจำบัง ในความว่า
จอมบุรินทร์จาฤกรู้โกรธา ยิ่งแฮ” (ห้องที่ ๙๓).
จอมไศล
พระอิศวร ผู้สถิตอยู่ที่เขาไกรลาส ในความว่า
“เงยภักตร์พอพบเจ้าจอมไศล” (ห้องที่ ๑๑).
จักรกฤษ
พระกฤษณะผู้ทรงจักร คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
จักรกฤษแผลงตอบไปเกิดน้ำ” (ห้องที่ ๒๒).
จักรพาฬ
ศรจักรพาลพัง, ชื่อศรของพญาขร อนุชาของทศกัณฐ์ ในความว่า
“ราพพิโรธขะเม่นซ้ำปล่อยด้วยจักรพาฬ” (ห้องที่ ๒๒).
จักรรัตน์
ผู้ทรงจักรแก้ว คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
จักรรัตน์ตรัสตอบแม้นมลายชีพ จริงนอ” (ห้องที่ ๖๑).
จังเกียง
พลวานรในกองทัพพระราม ในความว่า
“เกริกเกริ่นจังเกียงกล้าแซ่ฆ้องเสียงขาน” (ห้อง ๕๓).
จันทวาทิตย์
ศรของพระราม แผลงเป็นเมรุแก้วในตอนปลงศพพาลี ในความว่า
“ทรงลั่นจันทวาทิตย์โลกย์สท้าน
เปนเมรุรัตน์ชวลิดเลอภาคย์” (ห้องที่ ๒๗).
จำบก
ดอกจำปา ในความว่า
จำบกมหาหงเกดแก้ว” (ห้องที่ ๓).
จิตรการ
น่าจะหมายถึง จิตตการ, ผู้สังเกตการณ์ ในความว่า
“นายจิตรการทราบคล้อยเคลื่อนเฝ้าทูลรบิล” (ห้องที่ ๙๓).
เจ้าจักรภุช
ผู้ทรงจักร คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
“ปางบรมนเรศรเจ้าจักรภุช” (ห้องที่ ๑๑๘).
เจ้าหิมวานต์
เทวดาแห่งเขาหิมาลัย ในความว่า
“ปางจอมเทเวศรเจ้าหิมวานต์” (ห้องที่ ๑๐).
ฉัททันต์
ชื่อช้างในตระกูลพรหมพงศ์ กายสีขาว งาสีขาวเงินยวง หาง เท้า และสันหลังสีแดง เป็นช้างทรงสำหรับพระจักรพรรดิ ในความว่า
“พลคชจัดคชเชื้อฉัททันต์” (ห้องที่ ๖).
เฉนียน
เฉนียน, ฝั่งน้ำ ในความว่า
“ห้ากระษัตริยเสดจข้ามเฉนียนชล” (ห้องที่ ๑๙).
ชัลลุก
ชัลลุกา, ปลิง ในความว่า
“ธารกรชัลลุกเข้าเกาะคาง ลิงแฮ” (ห้องที่ ๓๓).
ดัดผธม
ตื่นนอน ในความว่า
ดัดผธมสนานวารีสุ คนธ์นอ” (ห้องที่ ๑๓).
เตละ
น้ำมัน ในความว่า
เตละคือวงษาเผ่าพ้อง” (ห้องที่ ๔๐).
เตียวเพช
มุขมนตรีวานรชาวเมืองขีดขินและเมืองชมพู ผู้มาเป็นพลวานรในกองทัพพระราม ในความว่า
เตียวเพชตระเวนคิดคอยจับ มารแฮ” (ห้องที่ ๕๓).
ถวายหัถถ์
ถวายกร, ไหว้ ในความว่า
“นางรบำรำร่ายร้องถวายหัถถ์” (ห้องที่ ๑๑๔).
ทนาย
พนักงาน ในความว่า
“กรมทนายเลือกต้อนรับตั้งโต๊ะเรียง” (ห้องที่ ๒).
ทรงครุธ
ผู้ทรงครุฑเป็นพาหนะ คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
ทรงครุธหยุดคิดรู้แยบคาย สิ้นแฮ” (ห้องที่ ๑๐๖).
ทรงสังข์
ผู้ถือสังข์ คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
ทรงสังข์รับสั่งแล้วอวยกนิษฐ ก่อนแฮ” (ห้องที่ ๕).
เทพประชุน
เทพอรชุน เมื่อสู้รบกับอสูรเทพบุตรชื่อรามสูร ถูกรามสูรจับฟาดกับ เขาพระสุเมรุจนสิ้นชีพ ในความว่า
เทพประชุนเรายังจับเขวี้ยง” (ห้องที่ ๙).
แทตย
ยักษ์ ในความว่า
“กองทัพล้วนแทตยเว้นจอมพลา กรเฮย” (ห้องที่ ๑๐๕).
ไท้ผทมสินธุ์
พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
“ไนยเนตรนางเลงต้องเนตรไท้ผทมสินธุ์” (ห้องที่ ๔).
ธนูโมฬี
ธนูที่ท้าวชนกได้รับจากพระอิศวร พระองค์ทรงใช้ในพิธีเลือกคู่ให้นางสีดาผู้ใดสามารถยกธนูนี้ได้ก็จะได้อภิเษกกับนาง ในความว่า
“ท้าวใดเคยคู่สร้างบุตรี กูนา
ยกธนูโมฬีเชิดช้อน” (ห้องที่ ๒).
ธรรมการ
พนักงานฝ่ายพิธีธรรม ในความว่า
ธรรมการเกณฑ์ให้ออกอารัญ
เผดียงคณะนักธรรม์ทุกด้าว” (ห้องที่ ๒).
นับเหุต
นหุต = จำนวนนับเท่ากับเลขหนึ่งมีศูนย์ตามหลัง ๒๘ ตัว ในความว่า
“เหลือคะเนคะณะนับเหุต แสนเฮย” (ห้อง ๔๗).
นักสิทธิ์
ฤษี ในความว่า
นักสิทธิ์สนเท่ห์ตั้งกระทู้ขู่ถาม” (ห้องที่ ๑๐๔).
นาคบาศ
ศรที่พระพรหมประทานให้อินทรชิต แผลงเป็นฝูงนาค ในความว่า
“แผลงนาคบาศฤทธิ์รอนรวดผ้าย
เปนนาคเกลื่อนกลาดสลอนรวบรัด ริปูแฮ” (ห้องที่ ๗๒).
นางจรัล
เสาที่ปักรายเป็นแถวไว้ระยะแต่ละต้นห่างกันพอควร สำหรับแสดงเขต ในความว่า
“หอรบนางจรัลครื้นครึกป้อมปืนราย” (ห้องที่ ๘).
นายชมอง
พนักงานตีฆ้องหน้าขบวนแห่นักโทษประจาน ในความว่า
นายชมองตีฆ้องกระแตนำ หน้าเอย” (ห้องที่ ๑๓๖).
บทวลัญช์
รอยเท้า ในความว่า
บทวลัญช์มานุษยท้าวแทตยยล เหนฮา” (ห้องที่ ๑๗๒).
บังอวด
หน้าต่าง ในความว่า
“มุขลดสี่เหลี่ยมบานบังอวด อุไรแฮ” (ห้องที่ ๔).
บุตรครรโภทร
ลูกในไส้ ในความว่า
“เสมอบุตรครรโภทรท่านไท้” (ห้องที่ ๒).
บุตรท่านท้าวอัฐกร
ลูกท้าวจักรวรรดิ คือ บรรลัยจักร ท้าวจักรวรรดิ พญายักษ์สี่หน้าแปดมือเป็นเจ้าเมืองมลิวัน ในความว่า
“บัดบงบุตรท่านท้าวอัฐกร” (ห้องที่ ๑๔๓).
บุตรมัฆวาน
ลูกพระอินทร์ คือ กากาศหรือพาลี พระอินทร์ลงมาร่วมอภิรมย์กับนางกาลอัจนา ชายาของฤษีโคดม นางให้กำเนิดบุตร คือ กากาศ ซึ่งต่อมากลายเป็นวานรตามคำสาปของฤษีโคดม มีชื่อว่า พาลี ในความว่า
บุตรมัฆวานกับตนร่วมไส้” (ห้องที่ ๕๗).
บุตรมารุต
ลูกพระพาย คือ หนุมาน พระอิศวรแบ่งกำลังของพระองค์พร้อมกับเทพอาวุธ ให้พระพายนำมาซัดเข้าปากนางสวาหะ กำเนิดเป็นวานรหนุมาน ซึ่งพระพายรับเป็นบิดา ในความว่า
บุตรมารุตโจมผจญกลางเศิก อสูรแฮ” (ห้องที่ ๒๘).
บุตร์รวี
ลูกพระอาทิตย์ คือ สุครีพ พระอาทิตย์ลงมาร่วมอภิรมย์กับนางกาลอัจนา ชายาของฤษีโคดม นางให้กำเนิดบุตรคือ สุครีพ ซึ่งต่อมากลายเป็นวานร ตามคำสาปของฤษีโคดม ในความว่า
บุตร์รวีประนดน้อมเอางาน” (ห้องที่ ๒๘).
บุตรสหัศไนย
พาลี, ดูที่ บุตรมัฆวาน ในความว่า
บุตรสหัศไนยนั้นข้าจักแจ้งใจจริง” (ห้องที่ ๕๗).
บุตรอินทร์
พาลี, ดูที่ บุตรมัฆวาน ในความว่า
“เกรงแต่ชมภูนี้เพื่อนท้าวบุตรอินทร์” (ห้องที่ ๒๘).
บุตรอินทรชิต
ลูกอินทรชิต คือ กันยุเวก แม่คือนางสุวรรณกันยุมา ในความว่า
บุตรอินทรชิตสองโสรมมนัศสบ ช่องฮา” (ห้องที่ ๑๓๔).
เบญจะครรโภทก
เต้าน้ำ เป็นเครื่องราชูปโภค ใช้สำหรับทรงรับน้ำอภิเษกหรือใช้บรรจุน้ำพระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์ ในความว่า
เบญจะครรโภทกทั้งกลิ่นรศ สุคนธ์เอย” (ห้องที่ ๘).
เบญจะนที
น้ำวิเศษใช้เป็นกระสายยาแก้ฤทธิ์หอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ อยู่ที่เมืองอยุทธยา ในความว่า
“อิกเบญจะนทีมาเปนกระ สายแฮ” (ห้องที่ ๖๑).
ประวิช
แหวน ในความว่า
“ชิงประวิชลักษมีคว่างคว้าง” (ห้องที่ ๒๔).
ปัญจะสินธุ
น้ำวิเศษใช้เป็นกระสายยาแก้ฤทธิ์หอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ อยู่ที่เมืองอยุทธยา ในความว่า
“แต่ปัญจะสินธุมีอยุทธ ยาแฮ” (ห้องที่ ๖๑).
ปัญจนะที
น้ำวิเศษใช้เป็นกระสายยาแก้ฤทธิ์หอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ อยู่ที่เมืองอยุทธยา ในความว่า
“พลางหยิบขวดรัตนน้ำปัญจนะ ทีนอ” (ห้องที่ ๖๑).
ปาสาณ
ก้อนหิน ในความว่า
“ปางใดได้รับทิ้งปาสาณ ถมเฮย” (ห้องที่ ๔๖).
ผนิด
ปิด ในความว่า
“จงขับพวกพหลขนผาผนิด” (ห้องที่ ๑๓).
ผลู
ทาง ในความว่า
“แถวผลูดูพิฦกล้วนธงฉัตร” (ห้องที่ ๔).
พงษแผน
ผู้มีเชื้อสายพรหม คือ ทศกัณฐ์ พระอัยกาของทศกัณฐ์ คือ ท้าวมหาอัชดา พรหม เมื่อท้าวสหบดีพรหมสร้างกรุงลงกา ได้มอบให้ท้าวมหาอัชดาพรหม ครอง และเปลี่ยนนามให้เป็นท้าวจตุรพักตร์ ท้าวจตุรพักตร์มีโอรสเป็นยักษ์ ชื่อ ท้าวลัสเตียน ซึ่งเป็นบิดาของทศกัณฐ์ ในความว่า
พงษแผนแขนหนึ่งอุ้มอรสี ดาเอย” (ห้องที่ ๒๔).
พรหมมาศ
พรหมาสตร์ ศรวิเศษที่พระอิศวรประทานให้อินทรชิต ในความว่า
“กรจับพรหมมาศแกล้วสถิตยเบื้องสอสาร” (ห้องที่ ๗๕).
พรหมมาศ
และศรวิเศษที่พระฤษีชุบให้พระราม ในความว่า
“รามจับพรหมมาศศรประสิทธิสั่ง ให้แฮ” (ห้องที่ ๗๘).
พระครรไลหงษ
ผู้ทรงหงส์เป็นพาหนะ คือ พระพรหม ในความว่า
“รฦกคุณพระครรไลหงษนมัส การแฮ” (ห้องที่ ๙๐).
พระจอมเมรุมาศ
เจ้าแห่งเขาพระสุเมรุ คือ พระอินทร์ ในความว่า
พระจอมเมรุมาศทั้งนางสุชา ดาเอย” (ห้องที่ ๘).
พระจักรา
ผู้ทรงจักร คือพระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
“พิศเพ่งพระจักราคลาศแคล้ว” (ห้องที่ ๔).
พระจักรี
ผู้ทรงจักร คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
“นี่จึงพระจักรีเผด็จสวาศ กูเอย” (ห้องที่ ๒๒).
พระทรงจักร
พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
“นางสดับพระทรงจักรด่าแจ้ว” (ห้องที่ ๒๒).
พระพงษกมเลศ
ผู้มีเชื้อสายพรหม หมายถึง ทศกัณฐ์, ดูที่ พงษแผน ในความว่า
พระพงษกมเลศให้กูกัน แดนแฮ” (ห้องที่ ๓๒).
พระพงษพิศณุ
ผู้อยู่ในวงศ์ของพระนารายณ์ คือ พระราม ในความว่า
พระพงษพิศณุเทพยไท้ภุชพล” (ห้องที่ ๒๐).
พระศุลี
ผู้ทรงตรีศูล คือ พระอิศวร ในความว่า
พระศุลีมีจิตร์เอื้อเอนดู” (ห้องที่ ๑๗๑).
พระอาศนอุรุค
ผู้ประทับบนพญานาค คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
พระอาศนอุรุคห้าวหาญฤทธิ” (ห้อง ๔๒).
พฤฒิบาศ
พราหมณ์พวกหนึ่งมีหน้าที่ทำพิธีเกี่ยวกับช้างและปัดเสนียดจัญไร ในความว่า
“กรมพราหมณพฤฒิบาศทั้งหุรดา จาริยเอย” (ห้องที่ ๒).
พลายวาต
ศรของพระราม แผลงเป็นลมพายุ บางทีเป็นฝน ในความว่า
พลายวาตพระแผลงมล้างแหลกสิ้นฤทธิขวาน” (ห้องที่ ๙).
พันภักตร
ผู้มีพันหน้า คือ สหัสสเดชะ พญารากษส เจ้าเมืองปางตาล เป็นมิตรของทศกัณฐ์ ในความว่า
“ภูมีพันภักตรท้าวทัศนา” (ห้องที่ ๘๔).
พาลจันท
ศรของพระราม แผลงไปแล้วเกิดแสงสว่าง บางทีเป็นพายุฝน ในความว่า
“พลางลั่นพาลจันทแผ้วผ่องแจ้งเหนอสูร” (ห้องที่ ๙).
พิศณุกรรม์
เทวดานายช่างของพระอินทร์ ในความว่า
“จึ่งสั่งพิศณุกรรม์เรวเร่ง ไปเฮย” (ห้องที่ ๑๒๒).
ภักตร์พรหม
พรหมภักตร์ คือ ยอดปราสาทเป็นรูปพรหมสี่หน้า ในความว่า
ภักตร์พรหมผ่องระยับเรืองโรจน์ กาญจน์นา” (ห้องที่ ๘).
ภักตรสี่แปดโสตร
พระพรหม ในความว่า
ภักตรสี่แปดโสตรหาเหตุทราบ แล้วเฮย” (ห้องที่ ๒๑).
มลักขิกา
มักขิกา, แมลงวัน ในความว่า
“อ่านเวทกลับกลายตูเปนมลัก ขิกาแฮ” (ห้องที่ ๒๙).
มหุรดิ
ครู่, ขณะ ในความว่า
“โหรตรวจมหุรดิวาระแล้ว” (ห้องที่ ๒).
มาตลี
มาตุลี, สารถีพระอินทร์ ในความว่า
มาตลีลาคล้อยรถขึ้นคืนสวรรค์” (ห้องที่ ๑๑๕).
มาฬก
พลับพลา, โรงพิธี ในความว่า
“จิตรการเร่งปลูกมาฬกพิ ธีนอ” (ห้องที่ ๕๒).
ม้าอุปการ
ม้าที่ปล่อยในพิธีอัศวเมธ ในวรรณคดี พิธีอัศวเมธเป็นการประกาศพระบรม เดชานุภาพของพระราชา พระราชาจะทรงปล่อยม้าอุปการพร้อมกับกองทัพ ไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ ถ้าที่ใดไม่อ่อนน้อมกองทัพก็จะเข้าโจมตี เมื่อครบ ๑ ปี แล้วกองทัพจะยกกลับ พระราชาจะจัดพิธีฆ่าม้าอุปการนี้เพื่
“สององค์บงมิ่งม้าอุปการ” (ห้องที่ ๑๖๒).
มุฑิล
มลทิน ในความว่า
“หมดมุฑิลสอดแคล้วสุดสิ้นสงไสย” (ห้องที่ ๑๑๑).
เมฆพัท
หอกเมฆพัทเป็นอาวุธวิเศษที่พระอิศวรประทานให้สุริยาภพโอรสท้าว จักรวรรดิ สุริยาภพใช้หอกเมฆพัทสังหารพระสัตรุศ ในความว่า
“จับหอกเมฆพัททรงสถิตย์รถ รัตนเอย” (ห้องที่ ๑๓๙).
รำยวน
พู่ดอกไม้ ในความว่า
รำยวนภู่มาไลยเลวงกลิ่น ตลบนา” (ห้องที่ ๒).
ลักษมี
พระลักษมีชายาพระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง นางสีดา ในความว่า
ลักษมีศรีสวัสดิ์แก้วกัลยา ณีแฮ” (ห้องที่ ๔).
ลูกลม
หนุมาน, ดูที่ บุตรมารุต ในความว่า
ลูกลมโลดรำบานบุกรุก ราพนา” (ห้องที่ ๒๘).
เลว
ที่เป็นไพร่พล เป็นบริวาร ในความว่า
“ลิงเลวหวาดวุ่นว้าขวัญหาย” (ห้องที่ ๑๒).
วัชรินทร
เทพแห่งสายฟ้า คือ พระอินทร์ ในความว่า
วัชรินทรเทพยทั้งอมร มากนา” (ห้องที่ ๕).
วายุบุตร
ลูกพระพาย คือ หนุมาน, ดูที่ บุตรมารุต ในความว่า
วายุบุตรทยานเข้าเข่นเขี้ยวขู่ถาม” (ห้องที่ ๒๘).
วารีช
ปลา ในความว่า
วารีชรับสั่งแล้วจรดล” (ห้องที่ ๔๗).
วิศณุ
พระวิษณุหรือพระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
“กษัตริย์สี่เสดจใกล้วิศณุแล้วโศกศัลย์” (ห้องที่ ๑๙).
วิศุกรรม
เทวดานายช่างของพระอินทร์ ในความว่า
วิศุกรรมรับสั่งแล้วรเห็จคลา” (ห้องที่ ๑๒๒).
ไวยะกูล
ไวกูณฐ์, ชื่อที่ประทับของพระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง การอวตารของพระนารายณ์ ในความว่า
“เราไวยะกูลมาสมเหตุ แล้วแฮ” (ห้องที่ ๒๓).
ศิลป์โมฬิศ
ดู ธนูโมฬี ในความว่า
“เสี่ยงศิลป์โมฬิศตั้งพิธี การแฮ” (ห้องที่ ๕).
สมมติ
การครองราชย์โดยถือว่ากษัตริย์เป็นสมมติเทพ ในความว่า
“หวังจักเศกสมมติมอยด้าว” (ห้องที่ ๑๔).
สมุท
จำนวนนับเท่ากับเลขหนึ่งที่มีศูนย์ ๑๔ ตัว ในความว่า
“กองหลวงพลสิบห้าสมุทอัด แอเอย” (ห้องที่ ๖๐).
สวา
ลิง ในความว่า
“มวญสวาวิ่งกระเจิงกระเจิ่น จรแฮ” (ห้องที่ ๑๒).
สังกรณีตรีชวา
ต้นยาวิเศษชื่อสังกรณี และต้นยาวิเศษชื่อตรีชวา อยู่ที่เขาสรรพยา ใช้แก้ฤทธิ์ หอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ ในความว่า
“แล้วจรัญบรรพตพร้องสัพยา เกบเฮย
สังกรณีตรีชวาที่แท้” (ห้องที่ ๖๑).
สังขกร
ผู้ทรงสังข์ คือ พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระรามในความว่า
สังขกรกับลักษณน้องเสด็จสรง” (ห้องที่ ๘๗).
สิทธา
ฤษี ในความว่า
สิทธาบรู้เท่าเสียที ลิงนา” (ห้องที่ ๑๐๔).
สิบแปดมกุฎ
เสนาวานร ๑๘ ตนที่อวตารจากเทวดาต่าง ๆ มาเป็นกำลังพลในกองทัพพระราม ในความว่า
สิบแปดมกุฎเหี้ยมเหิมฤทธิ์” (ห้องที่ ๕๓).
สุจหนี่
เครื่องปูลาดทำด้วยผ้าเยียรบับไหมทองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับ ทอดถวายพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศ์ เป็นที่ประทับหรือทรงยืน ในความว่า
สุจหนี่ลับแลทองฉากกั้น” (ห้องที่ ๘).
สุจิตรา
ชายาพระอินทร์ ในความว่า
สุจิตรานาฎนำลักษมีสู่ แท่นเอย” (ห้องที่ ๘).
สุชาดา
ชายาพระอินทร์ ในความว่า
“พระจอมเมรุมาศทั้งนางสุชา ดาเอย” (ห้องที่ ๘).
สุริยบุตร
ลูกพระอาทิตย์ คือ สุครีพ, ดูที่ บุตรรวี ในความว่า
สุริยบุตรกลับโกรธพ้อพระราม ไฉนเฮย” (ห้องที่ ๒๖).
สุริโยรส
ลูกพระอาทิตย์ คือ สุครีพ, ดูที่ บุตรรวี ในความว่า
สุริโยรสรีบเร้าจัดพหล” (ห้องที่ ๒๙).
เสี่ยว
ขวิด ในความว่า
“แกล้งเสี่ยวหักพฤกษาสนั่นก้อง” (ห้องที่ ๑๐).
เสือป่าแมวเซา
กองสอดแนม ในความว่า
เสือป่าแมวเซาด้อมดอดสุ้มเสรจสรรพ์” (ห้องที่ ๑๓๘).
หรดี
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในความว่า
“จรจากคันธมาตน์แคล้วบ่ายหน้าหรดี” (ห้องที่ ๓๐).
หริ
พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
“พระลักษณ์เหนหริเพี้ยนจริตผิด” (ห้องที่ ๔).
หริรักษ
พระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง พระราม ในความว่า
หริรักษรึงจิตรว้าวุ่นด้วยดวงสมร” (ห้องที่ ๔).
หลานลม
มัจฉานุผู้เป็นลูกของหนุมาน (ลูกลม), ดูที่ ลูกลม ในความว่า
หลานลมว่องไวคือจักรผัด ผันแฮ” (ห้องที่ ๕๔).
หลานอิน
องคตผู้เป็นลูกของพาลี, ดูที่ พาลี ในความว่า
หลานอินเหยียบยุคุนธรถีบโยก โยนเฮย” (ห้องที่ ๔๒).
หุรดาจาริย
พราหมณ์พวกหนึ่งมีหน้าที่สวดสดุดีและอัญเชิญเทพต่าง ๆ ให้มาร่วมในพิธีบูชาบวงสรวง ในความว่า
“กรมพราหมณพฤฒิบาศทั้งหุรดา จาริยเอย” (ห้องที่ ๒).
อรรคนิศร
ดู อัคนีวาต ในความว่า
“รามลั่นอรรคนิศรสาตรซ้ำ” (ห้องที่ ๒๗).
อัคนีวาต
ศรของพระรามแผลงเป็นจักรแก้ว บางทีเป็นไฟ ในความว่า
“ทรงจับอัคนีวาตหน่วงน้าว” (ห้องที่ ๙).
อัศยา
หมี, น่าจะแผลงมาจากเค้าบาลีว่า อจฺฉ ในความว่า
“เปนรูปอัศยาองอาจซั้น” (ห้องที่ ๗๑).
อัศวาต
อาศวาส ลมหายใจเข้า ในความว่า
“วิเวกแว่วอัศวาตเร้าพิลาปล้มสลบลง” (ห้องที่ ๒๕).
อายาจ
การเชื้อเชิญ ในความว่า
“ทรงรับอายาจแล้วพลันลา พรตแฮ” (ห้องที่ ๑).