แดงเลือดนก

Brackenridgea palustris Bartell.

ชื่ออื่น ๆ
กระดูกเสือ (นราธิวาส); กาจิงกายู (มลายู-นราธิวาส)

ไม้ต้น เปลือกสีน้ำตาลแดง เรียบ เป็นขุย หรือล่อนเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ออกตามปลายกิ่ง ดอกสีขาว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีม่วงอ่อน แกมสีชมพู ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง ออกเป็นกลุ่ม รูปไข่กลับหรือรูปทรงรี สีแดง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำหรือ สีเกือบดำ ติดอยู่บนฐานดอกนูน ป่องพองและมีสีแดง กลีบเลี้ยงสีแดง ติดทนเมื่อเป็นผล มีเมล็ด ๑ เมล็ด


     แดงเลือดนกเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง ๓๐ ม. ลำต้นมี เส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง ๑.๒ ม. เรือนยอดเป็นพุ่ม ทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลแดง เรียบ เป็นขุย หรือล่อนเป็น สะเก็ดเล็ก ๆ เปลือกในสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลแดง
     ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่แกมรูปขอบขนานถึง รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง ๑.๕-๕ ซม. ยาว ๔-๑๒.๕ ซม. ในต้นที่ยังอ่อนอาจพบยาวได้ถึง ๒๐ ซม. ปลายแหลมถึง เรียวแหลม อาจพบปลายมนบ้าง โคนมนกลมถึงแหลม หรือสอบเรียวเล็กน้อย ขอบเรียบ อาจพบขอบหยักซี่ฟันถี่ ในต้นที่ยังอ่อน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนเกลี้ยง เป็นมัน ด้านล่างเกลี้ยง เส้นแขนงใบขนาดเล็ก จำนวนมาก เรียงถี่ ปลายเส้นโค้งเชื่อมติดกันเป็นเส้นขอบใน ๑-๒ เส้น ก้านใบยาว ๐.๓-๑ ซม. หูใบขนาดเล็ก กว้างได้ถึง ๑.๕ มม. ยาวได้ถึง ๘ มม. ขอบเรียบหรือมักเป็นครุย ร่วงง่าย
     ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ออกตามปลายกิ่ง มีดอก ๓ ดอก พบน้อยที่มี ๕ ดอก ก้านช่อดอกยาวได้ถึง ๕ มม. หรือไร้ก้าน ดอกบานพร้อมกัน บางครั้งอาจพบ ช่อดอก ๒ ช่อที่อยู่ในระยะต่างกันเกิดอยู่ด้วยกัน มีแกน กลางช่อยาว ๐.๕-๑ ซม. พบน้อยที่ยาว ๒.๕ ซม. บางครั้ง อาจแตกแขนงที่โคน ก้านดอกยาว ๐.๘-๑.๕ ซม. เมื่อร่วง จะมีรอยแผลเด่นชัด ใบประดับรูปลิ้น กว้างได้ถึง ๒.๕ มม. ยาวได้ถึง ๓.๕ มม. จำนวนมาก อยู่ที่โคนช่อดอก มักเป็น ครุย ร่วงง่าย ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๑.๕ ซม. มีฐาน ดอกนูนรูปครึ่งวงกลม สูงประมาณ ๐.๕ มม. เส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ ๑ มม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ รูปไข่ถึงรูป ขอบขนาน กว้าง ๑.๕-๓ มม. ยาว ๓.๕-๕.๕ มม. กลีบ ดอก ๕ กลีบ สีขาว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีม่วงอ่อนแกม สีชมพู รูปไข่ถึงรูปไข่กลับแกมรูปใบหอก กว้าง ๑.๕-๓ มม. ยาว ๓.๕-๖ มม. เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร เรียงเป็นวง ก้านชู อับเรณูยาว ๑-๒ มม. อับเรณูรูปขอบขนาน กว้าง ประมาณ ๐.๕ มม. ยาว ๑.๕-๓ มม. แตกตามยาวจาก ปลายสู่โคน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๕ พู แต่ละพูรูปไข่ กลับ กว้างประมาณ ๐.๕ มม. ยาวประมาณ ๐.๗ มม. มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมีย ๑ เกสร ยาว ๒.๕-๔ มม. เป็นสันแคบตามยาว ๕ สัน ติดที่โคน รังไข่ระหว่างพู ยอดเกสรเพศเมียขนาดเล็ก มี ๕ พู
     ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง ออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๑-๒ ผล พบน้อยที่มีกลุ่มละ ๕ ผล ทรงรูปไข่กลับหรือรูป ทรงรี กว้างได้ถึง ๖ มม. ยาวได้ถึง ๘ มม. สีแดง เมื่อแก่ เปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีเกือบดำ ติดอยู่บนฐานดอกนูน ป่อง พองและมีสีแดง สูงได้ถึง ๔ มม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ ๖ มม. กลีบเลี้ยงสีแดง อวบมีเนื้อและขยาย ใหญ่ ติดทน ก้านผลยาวได้ถึง ๒ ซม. ก้านยอดเกสรเพศ เมียติดทน ยาวได้ถึง ๖ มม. มีเมล็ด ๑ เมล็ด
     แดงเลือดนกมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทางภาคใต้ตอนล่าง พบขึ้นในป่าดิบ ป่าพรุ บริเวณที่ ลุ่มน้ำขัง และชายฝั่งแม่น้ำลำธาร ที่สูงจากระดับทะเล ประมาณ ๑,๑๐๐ ม. ออกดอกเดือนมิถุนายนถึงกุมภาพันธ์ เป็นผลเดือนกรกฎาคมถึงมิถุนายน ในต่างประเทศพบที่ คาบสมุทรมาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
แดงเลือดนก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Brackenridgea palustris Bartell.
ชื่อสกุล
Brackenridgea
คำระบุชนิด
palustris
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Bartell.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Bartell. ช่วงเวลาคือ (fl. 1983)
ชื่ออื่น ๆ
กระดูกเสือ (นราธิวาส); กาจิงกายู (มลายู-นราธิวาส)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางปริญญนุช กลิ่นรัตน์
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.