แดงหินดอกเล็ก

Syzygium hemisphericum (Wight) Alston

ชื่ออื่น ๆ
แดงหินเล็ก (ทั่วไป)

ไม้ต้นไม่ผลัดใบ เปลือกนอกสีน้ำตาลเทาถึงสีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนรูปทรงกระบอก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบ ขนานแกมรูปใบหอก รูปไข่ หรือรูปรี ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน กลีบดอกแต่ละกลีบมีต่อม ๒๐-๕๐ ต่อม ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงกลมหรือทรงรูปไข่กว้าง สุกสี ดำ มีเมล็ดน้อย


     แดงหินดอกเล็กเป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง ๒๐ ม. เรือนยอดรูปทรงค่อนข้างกลม แน่นทึบ เปลือก นอกสีน้ำตาลเทาถึงสีน้ำตาลแดง เปลือกในสีน้ำตาล กิ่ง อ่อนรูปทรงกระบอก เกลี้ยง กิ่งแก่แตกล่อนเป็นสะเก็ด ขนาดเล็ก
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง ๓.๒-๕.๘ ซม. ยาว ๗.๒-๑๕ ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลมสั้น ๆ โคนรูปลิ่มหรือสอบเป็น ครีบ ขอบเรียบหรือหยักมนตื้น ด้านล่างมีนวล มีจุดต่อม สีดำกระจายทั่วแผ่นใบและก้านใบ แผ่นใบเหนียวคล้าย แผ่นหนัง เส้นกลางใบเป็นร่องทางด้านบน นูนเด่นทาง ด้านล่าง เส้นแขนงใบข้างละ ๘-๑๕ เส้น ไม่มีเส้นขอบใน เส้นใบย่อยแบบร่างแหสานกันเป็นกระจุกคล้ายต่อม กระจายห่าง ๆ ทั่วแผ่นใบ ก้านใบยาว ๐.๖-๑.๓ ซม. เกลี้ยง ไม่มีหูใบ
     ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง บางครั้งแตก แขนงจากโคนช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ยาวได้ถึง ๖ ซม. ก้าน ช่อดอกยาวได้ถึง ๑ ซม. แกนกลางและแขนงช่อดอกรูป ทรงกระบอก ผิวเป็นสะเก็ดล่อนเล็กน้อย ใบประดับรูป สามเหลี่ยม กว้างประมาณ ๑.๑ มม. ยาวประมาณ ๑.๒ มม. ดอกสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน ดอกด้านข้างมีก้านดอกยาว ๑.๕-๓ มม. ก้านดอกมีจุดต่อมสีดำกระจาย ดอกที่อยู่ตรง กลางไร้ก้านหรือมีก้านสั้น ๆ ฐานดอกรูปกรวย ยาว ๔.๗- ๖ มม. มีสันตามยาวตื้น ๆ ก้านดอกเทียมยาว ๑-๒ มม. กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ รูปสามเหลี่ยมหรือรูปครึ่งวงกลม ยาว ๐.๘-๑ มม. ขอบกลีบบางใส กลีบดอก ๔ กลีบ รูปเกือบ กลม ยาว ๒.๕-๕ มม. บางคล้ายเยื่อ แต่ละกลีบมีต่อม ๒๐-๕๐ ต่อม เกสรเพศผู้จำนวนมาก เกสรที่อยู่รอบนอก ยาว ๐.๔-๑ ซม. ก้านชูอับเรณูรูปเส้นด้าย อับเรณูรูปไข่ ยาวประมาณ ๐.๔-๐.๕ มม. ติดด้านหลัง รังไข่อยู่ใต้ วงกลีบ มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๘-๑๔ เม็ด ก้านยอด เกสรเพศเมียยาว ๐.๓-๑.๒ ซม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม ขนาดเล็ก
     ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงกลม หรือทรงรูปไข่กว้าง ยาว ๘-๙ มม. สีเขียว มีจุดต่อมสีดำ ประปราย สุกสีดำ มีเมล็ดน้อย
     แดงหินดอกเล็กมีเขตการกระจายพันธุ์ใน ประเทศไทยทางภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ แล้ง ที่สูงจากระดับทะเล ๓๐๐-๖๐๐ ม. ออกดอก เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน เป็นผลเดือนเมษายนถึง มิถุนายน ในต่างประเทศพบที่ศรีลังกา.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
แดงหินดอกเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Syzygium hemisphericum (Wight) Alston
ชื่อสกุล
Syzygium
คำระบุชนิด
hemisphericum
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Wight)
- Alston
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Wight) ช่วงเวลาคือ (1796-1872)
- Alston ช่วงเวลาคือ (1902-1958)
ชื่ออื่น ๆ
แดงหินเล็ก (ทั่วไป)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นายสุคิด เรืองเรื่อ
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.