แดงสะแง

Schoutenia ovata Korth.

ชื่ออื่น ๆ
กาสิน (ตะวันออกเฉียงเหนือ); แดงแขแหย, แดงดง, แดงสะแหง (เหนือ); แดงแสม (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์); แดงเหนียว (กลาง); แบงทะแง (ปราจีนบุรี); แมงทะแง, สะแง (ตะวันออก)

ไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่หรือรูปขอบขนาน เป็นคราบสีขาว ทางด้านล่าง เมื่อแก่ด้านบนมักเปลี่ยนเป็นสีแดง โคนใบเบี้ยว ช่อดอกแบบช่อกระจุกหรือช่อกระจุกเชิงประกอบ ออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว ผลแบบผลแห้งไม่แตก รูปทรงค่อนข้างกลม มีขนค่อนข้างหนาแน่น มีกลีบเลี้ยงติดทนขยายใหญ่และแผ่ออกในแนวระนาบคล้ายรูปดาว ๕ แฉก เมล็ดสีดำ รูปทรงเกือบกลม


     แดงสะแงเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาด กลาง สูงได้ถึง ๑๕ ม.
     ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่หรือรูปขอบ ขนาน กว้าง ๒.๕-๔.๕ ซม. ยาว ๔-๑๓ ซม. ปลายแหลม ถึงเรียวแหลม โคนมนและเบี้ยว ขอบเป็นคลื่นหรือเกือบ เรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนาและเป็นคราบสีขาวทางด้านล่าง เมื่อแก่ด้านบนมักเปลี่ยนเป็นสีแดง เส้นโคนใบ ๓ เส้น ปลายเส้นคู่ข้างไปสุดที่ขอบใบประมาณกึ่งกลางใบ เส้น แขนงใบข้างละ ๓-๔ เส้น ปลายโค้งอ่อนและมักเชื่อมกับ เส้นถัดขึ้นไปใกล้ขอบใบ นูนทางด้านล่างและมักเป็นร่อง ทางด้านบน เส้นใบย่อยคล้ายขั้นบันได เห็นได้ทางด้าน ล่าง ก้านใบยาว ๐.๔-๑ ซม. มีขนสั้นค่อนข้างหนาแน่น หูใบรูปใบหอก ยาวไม่เกิน ๑ ซม. มี ๑ คู่ ร่วงง่าย
     ช่อดอกแบบช่อกระจุกหรือช่อกระจุกเชิง ประกอบ ออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ช่อยาว ๒-๕ ซม. ดอกตูมรูปค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ มม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ แยกเป็นอิสระหรือโคนเชื่อม ติดกันเล็กน้อย รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง ๔-๗ มม. ยาว ๐.๗-๑ ซม. ด้านนอกมีขนประปราย ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก ๕ กลีบ สีขาว รูปใบหอกถึงรูปแถบหรือรูป ช้อน กว้าง ๑-๓ มม. ยาว ๐.๖-๑ ซม. ร่วงง่าย เกสรเพศผู้ จำ.นวนมาก ก้านชูอับเรณูเรียว ยาว ๔-๗ มม. อับเรณู ติดที่ฐาน ยาวประมาณ ๑ มม. แตกด้านข้างตามยาว รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ มม. มีขนหนาแน่น มี ๒-๕ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๒ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ ๒ มม. ยอด เกสรเพศเมียแยกเป็น ๓-๕ แฉก
     ผลแบบผลแห้งไม่แตก รูปทรงค่อนข้างกลม เส้น ผ่านศูนย์กลาง ๕-๗ มม. มีขนค่อนข้างหนาแน่น กลีบ เลี้ยงติดทนขยายใหญ่และแผ่ออกในแนวระนาบคล้าย รูปดาว ๕ แฉก แต่ละแฉกกว้างประมาณ ๕ มม. ยาว ประมาณ ๑ ซม. ก้านผลยาว ๐.๕-๑ ซม. มีขน เมล็ดสีดำ. รูปทรงเกือบกลม

 

 

 


     แดงสะแงมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง พบตามป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้ง ที่สูงจากระดับทะเล ๑๐๐-๒๐๐ ม. ส่วนมากออกดอกและ เป็นผลเดือนกันยายนถึงธันวาคม ในต่างประเทศพบที่ ภูมิภาคอินโดจีน
     ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ทำ.สิ่งปลูกสร้างและเครื่อง เรือนทั่วไป.

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
แดงสะแง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Schoutenia ovata Korth.
ชื่อสกุล
Schoutenia
คำระบุชนิด
ovata
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Korth.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Korth. ช่วงเวลาคือ (1807-1892)
ชื่ออื่น ๆ
กาสิน (ตะวันออกเฉียงเหนือ); แดงแขแหย, แดงดง, แดงสะแหง (เหนือ); แดงแสม (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์); แดงเหนียว (กลาง); แบงทะแง (ปราจีนบุรี); แมงทะแง, สะแง (ตะวันออก)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.จำ.ลอง เพ็งคล้าย
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.