แดงดารา

Gymnocladus burmanicus C. E. Parkinson

ไม้ต้นผลัดใบ เปลือกแตกเป็นสะเก็ด สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียน ใบประกอบชั้น ที่ ๑ เรียงสลับ มีช่อแขนงใบ ๕-๙ ช่อ ใบประกอบชั้นที่ ๒ มีใบย่อย ๗-๑๓ ใบ เรียงสลับ รูปใบหอก ใบอ่อน ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีม่วงอ่อนและมีนวล มีขนสั้นนุ่มประปราย ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง และกิ่งด้านข้างที่แตกใหม่ มีทั้งช่อดอกเพศผู้และช่อดอกสมบูรณ์เพศ ดอกสีม่วง ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว รูปขอบขนาน สีแดงถึงสีน้ำตาล เป็นมันวาว เมล็ดรูปทรงกระบอกสั้นหรือรูปกรวย มี ๓-๔ เมล็ด มีเยื่อหุ้มเมล็ด สีเหลืองเฉพาะบริเวณขั้วเมล็ด


     แดงดาราเป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง ๖-๑๐ ม. เปลือก แตกเป็นสะเก็ด สีเทาอมน้ำตาล กิ่งอ่อนมีสีแดงอมม่วง และมีนวล มีขนสั้นนุ่มประปราย กิ่งแก่สีน้ำตาล เกลี้ยง มีช่องอากาศ
     ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียน ใบ ประกอบชั้นที่ ๑ เรียงสลับ มีช่อแขนงใบ ๕-๙ ช่อ แต่ละ ช่อยาว ๑๒-๓๐ ซม. ใบประกอบชั้นที่ ๒ มีใบย่อย ๗-๑๓ ใบ เรียงสลับ รูปใบหอก กว้าง ๐.๗-๒ ซม. ยาว ๒.๘-๖ ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว ขอบเรียบ ใบอ่อนด้านบนสี แดงอมม่วง ด้านล่างสีม่วงอ่อนและมีนวล แผ่นใบบาง คล้ายกระดาษ มีขนสั้นนุ่มประปรายทั้ง ๒ ด้าน เส้นกลาง ใบเป็นร่องทางด้านบน ด้านล่างเป็นสันนูน เส้นแขนงใบ ข้างละ ๑๓-๑๗ เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแห ก้านใบยาว ๕-๑๐ ซม. แกนกลางใบประกอบยาว ๑๙.๕-๒๔ ซม. แกนกลางใบประกอบย่อยยาว ๙.๕-๑๗.๕ ซม. ก้านใบ ย่อยยาว ๑-๒ มม. ก้านใบและก้านใบย่อยบริเวณโคน ป่องพองคล้ายนวม ก้านใบและแกนกลางใบเป็นร่องทาง ด้านบน
     ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่งและกิ่งด้าน ข้างที่แตกใหม่ มีทั้งช่อดอกเพศผู้และช่อดอกสมบูรณ์เพศ ช่อดอกเพศผู้สั้น ดอกเพศผู้มี ๒๐-๓๕ ดอก มากกว่า ดอกสมบูรณ์เพศ เรียงเวียน บางครั้งออกเป็นช่อกระจุก สั้น มี ๒-๔ ดอก ก้านดอกยาวประมาณ ๑ มม. ฐานดอก รูปถ้วยแคบเรียวไปถึงโคน ยาว ๘-๙ มม. ด้านนอกมีขน สั้นนุ่ม ด้านในสีเขียวอ่อนและมีขนแนบ กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ รูปแถบ กว้างประมาณ ๑ มม. ยาว ๕-๗ มม. ปลายแหลม ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม มีสันนูนเล็กน้อยตรงกลาง มีสีม่วง ถึงสีเขียวอ่อน โคนมีต่อม ๑ ต่อม กลีบดอก ๕ กลีบ รูปไข่ กลับ กว้างประมาณ ๓ มม. ยาว ๖-๘ มม. ปลายมนกลม ถึงแหลม มีสีม่วงตามยาวตรงกลาง เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร เรียงเป็น ๒ วง วงละ ๕ เกสร วงแรกมีก้านชูอับเรณูยาว ประมาณ ๓ มม. โค้งเข้าด้านในจดกันตรงกลาง อีกวงมี ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ ๒ มม. โค้งเข้าแต่ไม่จดกัน เกสรเพศเมียเป็นหมัน ช่อดอกสมบูรณ์เพศออกที่ปลาย ยอดหรือบนยอดที่แตกใหม่ ยาวประมาณ ๓.๕ ซม. ก้าน ดอกยาวประมาณ ๑ ซม. ดอกในช่อมี ๔-๖ ดอก เรียงตรง ข้ามสลับตั้งฉาก เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๘-๒ ซม. ดอก คล้ายดอกเพศผู้ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปเคียว สีเขียว อ่อน มี ๑ ช่อง มีออวุล ๓-๖ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมีย สีซีดกว่า ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม
     ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว รูปขอบขนาน กว้าง ๓.๕-๔.๕ ซม. ยาว ๙-๑๐ ซม. ด้านนอกเกลี้ยง สีแดงถึง สีน้ำตาล เป็นมันวาว ปลายมีติ่งหนาม ฝักแก่มีเปลือกแข็ง ผิวมีรอยแตกเป็นแนวยาวตามขวาง ๔-๕ แนว มีกลิ่น คล้ายกล้วยสุก ผนังผลชั้นในเกลี้ยง สีน้ำตาลอมม่วง เมล็ดรูปทรงกระบอกสั้นหรือรูปกรวย กว้าง ๒.๕-๓.๗ ซม. ยาว ๗.๒-๙ ซม. มี ๓-๔ เมล็ด มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีเหลือง เฉพาะบริเวณขั้วเมล็ด

 


     แดงดารามีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบขึ้นตามป่าที่ เปิดโล่ง หน้าผาเขาหินปูน ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึง ประมาณ ๙๐๐ ม. ออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม เป็นผลเดือนมีนาคมถึงตุลาคม ในต่างประเทศพบที่ เมียนมา.

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
แดงดารา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gymnocladus burmanicus C. E. Parkinson
ชื่อสกุล
Gymnocladus
คำระบุชนิด
burmanicus
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- C. E. Parkinson
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- C. E. Parkinson ช่วงเวลาคือ (1890–1945)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นายเสกสรร ไกรทองสุข
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.