แดงซีลอน

Ruellia brevifolia (Pohl) C. Ezcurra

ไม้ล้มลุก ลำต้นตรง เหนือข้อป่องพอง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ก้านใบแต่ละคู่ เชื่อมกันเป็นสัน ช่อดอกแบบช่อกระจุก โปร่ง ออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวตั้งขึ้น ดอกสีแดงสด โคนดอก สีจางกว่า ผลแบบผลแห้งแตก มีเมล็ด ๖-๘ เมล็ด ก้านเมล็ดเห็นชัด


     แดงซีลอนเป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง ๑ ม. ลำต้นตรง เป็นสี่เหลี่ยม ตอนปลาย ๆ มีขนประปราย เหนือข้อป่องพอง
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปขอบขนาน แกมรูปไข่ กว้าง ๕-๑๓.๕ ซม. ยาว ๑๒-๒๗ ซม. ปลายเรียว แหลม โคนรูปลิ่มถึงโคนคอด ขอบหยักเว้าตื้น แผ่นใบบาง คล้ายกระดาษ เกลี้ยง มีผลึกหินปูนรูปแถบแคบกระจาย ทั่วไป เส้นแขนงใบข้างละ ๖-๘ เส้น เส้นใบย่อยแบบ ร่างแห เส้นกลางใบ เส้นแขนงใบ และเส้นใบย่อยเห็น ชัดทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบยาว ๑-๑.๕ ซม. แต่ละคู่เชื่อมกัน เป็นสัน
     ช่อดอกแบบช่อกระจุก โปร่ง ออกตามซอกใบ ยาว ๗-๑๕ ซม. ก้านช่อดอกยาว ๒-๑๐ ซม. ก้านตั้ง มีขน สั้นนุ่มประปราย ก้านดอกเรียว ยาว ๐.๓-๑.๒ ซม. ใบประดับแคบ ไม่มีใบประดับย่อย ดอกสีแดงสด โคนดอก สีจางกว่า กลีบเลี้ยงยาว ๐.๗-๑ ซม. โคนเชื่อมติดกัน เล็กน้อย ปลายแยกเป็นแฉกแคบ ๕ แฉก ขนาดไม่เท่ากัน มีขนสั้นนุ่มบาง กลีบดอกยาว ๓-๓.๕ ซม. โคนเชื่อมติด กันเป็นหลอด ผายออกเหนือโคน โค้ง ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ยาวไม่เท่ากัน แฉกรูปกลม ยาว ๒.๕-๕ มม. ปลาย จักตื้น มีขนสั้นนุ่มประปราย แฉกเรียงบิดเวียนในดอกตูม เมื่อบานตั้งตรง เกสรเพศผู้ ๔ เกสร ติดตรงโคนหลอด กลีบดอกที่ผายออก ยาวใกล้เคียงกับหลอดดอก ก้านชู อับเรณูโคนเชื่อมติดกันเป็นคู่โดยมีเยื่อเชื่อม อับเรณูแยก เป็น ๒ พู รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ครึ่งบนมีขนสั้นนุ่มประปราย มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๖-๘ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมีย คล้ายเส้นด้าย ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น ๒ แฉก ยาวไม่ เท่ากัน
     ผลแบบผลแห้งแตก รูปกระบอง ยาวประมาณ ๒ ซม. มีเมล็ด ๖-๘ เมล็ด ก้านเมล็ดเห็นชัด
     แดงซีลอนเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิด ในบราซิล ขึ้นได้ทั่วไป ในประเทศไทยปลูกเป็นไม้ประดับ.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
แดงซีลอน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ruellia brevifolia (Pohl) C. Ezcurra
ชื่อสกุล
Ruellia
คำระบุชนิด
brevifolia
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Pohl)
- C. Ezcurra
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Pohl ) ช่วงเวลาคือ (1782-1834)
- C. Ezcurra ช่วงเวลาคือ (1954-)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.