เดื่อปล้องหิน

Ficus semicordata Buch.-Ham. ex Sm.

ชื่ออื่น ๆ
นอด (น่าน); มะค่าขน, มะน้อดกว๊าย (เชียงใหม่); มะเดื่อขน (เชียงราย); แม่นอน (ยะลา); ฮากอบููลู (มลายู-นราธิวาส)

ไม้ต้น ทุกส่วนมียางสีขาวขุ่น ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปรี รูปใบหอก รูปขอบขนาน หรือคล้ายรูปไข่กลับ แผ่นใบเบี้ยว หูใบหุ้มยอดอ่อนรูปใบหอก ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกคล้ายผลรวมในโพรงฐานช่อดอก รูปทรง เกือบกลม ออกเป็นช่อห้อยตามต้น โคนต้น หรือตามไหลที่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน เกลี้ยงหรือมีขนสีขาวหรือ สีเหลืองอ่อน ผลแบบผลรวมในโพรงฐานช่อดอก รูปทรงเกือบกลม สุกสีส้มแกมสีแดงหรือสีน้ำตาลแกมสีแดง ผลย่อยแบบผลแห้งเมล็ดล่อน ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก


     เดื่อปล้องหินเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง ๑๕ ม. แตกกิ่ง ต่ำ พุ่มใบโปร่ง เปลือกเรียบ สีน้ำตาลแกมสีเทา กิ่งอ่อน มีขนสีขาวประปราย หรือมีขนหยาบและแข็งสีขาวหรือ สีน้ำตาล กิ่งแก่เกลี้ยงหรือมีขนหยาบและแข็งสีน้ำตาล ทุกส่วนมียางสีขาวขุ่น
     ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปรี รูปใบหอก รูปขอบขนาน หรือคล้ายรูปไข่กลับ กว้าง ๓-๑๗ ซม. ยาว ๔-๔๕ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนเบี้ยว ด้านแคบรูปลิ่มถึง มนกลม ด้านกว้างรูปติ่งหู ขอบหยักซี่ฟันหรือเรียบ แผ่น ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เบี้ยว ด้านบนมีขนแข็งติดทน ด้าน ล่างมีขนแข็งสีน้ำตาลอ่อนถึงสีขาวประปราย เส้นแขนงใบ ข้างละ ๔-๑๕ เส้น เส้นใบย่อยคล้ายขั้นบันได ก้านใบ ยาว ๐.๕-๒ ซม. มีขนแข็งสีน้ำตาลอ่อนประปราย หูใบหุ้ม ยอดอ่อนรูปใบหอก ยาว ๑-๓.๕ ซม. มีขนสีน้ำตาลอ่อน ประปราย

 

 


     ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกคล้ายผลรวมใน โพรงฐานช่อดอก รูปทรงเกือบกลม เป็นกระเปาะและมี ช่องเปิดที่ปลาย ออกเป็นช่อห้อยตามต้น โคนต้น หรือ ตามไหลที่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน กว้าง ๒-๒.๕ ซม. เกลี้ยง หรือมีขนสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน และมักมีใบเกล็ดขนาด เล็ก ๑-๓ ใบ ติดบนช่อดอก ก้านช่อดอกยาวได้ถึง ๑ ซม. รอบปากช่องเปิดมีใบประดับ ๕ ใบล้อมรอบ ใบประดับ รูปลิ่มขนาดเล็ก ๓ ใบ ติดเป็นวงรอบก้านช่อดอก ดอก ขนาดเล็กจำนวนมากอยู่ภายในโพรงฐานช่อดอก กลีบรวม ๔-๖ กลีบ สีขาวถึงสีชมพูอ่อน ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ ๒ เกสร ดอกเพศเมียมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๑ ช่อง มี ออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียติดด้านข้างของรังไข่ เกลี้ยงหรือมีขนปกคลุมบริเวณใกล้ปลายก้าน ยอดเกสร เพศเมียเป็นรูปปากแตร

 


     ผลแบบผลรวมในโพรงฐานช่อดอก รูปทรงเกือบ กลม กว้าง ๒-๒.๕ ซม. สุกสีส้มแกมสีแดง หรือสีน้ำตาล แกมสีแดง เกลี้ยงหรือมีขนสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ก้าน ผลรวมยาวได้ถึง ๑ ซม. ผลย่อยแบบผลแห้งเมล็ดล่อน ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก
     เดื่อปล้องหินมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทั่วทุกภาค พบในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบเขา หรือตามชายขอบพื้นที่เกษตรกรรมที่สูงจาก ระดับทะเลประมาณ ๑,๖๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผล เกือบตลอดปี ส่วนใหญ่ออกในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว ประมาณเดือนมิถุนายนถึงมกราคม ในต่างประเทศพบที่ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ภูฏาน เมียนมา จีนตอนใต้ ลาว เวียดนาม และคาบสมุทรมาเลเซีย
     ประโยชน์ ผลกินได้.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
เดื่อปล้องหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ficus semicordata Buch.-Ham. ex Sm.
ชื่อสกุล
Ficus
คำระบุชนิด
semicordata
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Buch.-Ham. ex Sm.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Buch.-Ham. ช่วงเวลาคือ (1762-1829)
- Sm. ช่วงเวลาคือ (1759-1828)
ชื่ออื่น ๆ
นอด (น่าน); มะค่าขน, มะน้อดกว๊าย (เชียงใหม่); มะเดื่อขน (เชียงราย); แม่นอน (ยะลา); ฮากอบููลู (มลายู-นราธิวาส)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ภานุมาศ จันทร์สุวรรณ และ ผศ. ดร.จิรายุพิน จันทรประสงค์
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.