เดือยไก่

Madhuca thorelii (Pierre ex Dubard) H. J. Lam

ชื่ออื่น ๆ
เดือยไก่ (ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ); ปาเกี้ยม (เขมร-สุรินทร์); สะกำ (ส่วย-สุรินทร์)

ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก เปลือกนอกสีเทาดำ แตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว กิ่งแก่เกลี้ยง มีช่องอากาศประปราย ทุกส่วนมียางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปช้อน ดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงคู่ในรูปรี ลักษณะคล้ายเยื่อบางใส ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด ทรงรูปไข่แกมรูป ขอบขนานหรือทรงรูปไข่กว้าง ผลอ่อนสีเขียว มีนวล สุกสีส้ม มีกลีบเลี้ยงติดทนและมักมีก้านยอดเกสรเพศเมีย ติดทน เมล็ดแบนด้านข้าง รูปขอบขนาน ด้านในมีเส้นรอยแผลเมล็ด ผิวเรียบ สีดำเป็นมันวาว


     เดือยไก่เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง ๑๐ ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ค่อนข้างโปร่ง ลำต้นเปลา ตรงหรือคดงอ เปลือกนอกสีเทาดำ แตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว เปลือกในสีขาวนวลอมชมพู กิ่งอ่อนอวบ มีขนสั้น นุ่มสีเทาอ่อนหรือค่อนข้างเกลี้ยง กิ่งแก่เกลี้ยง มีช่อง อากาศประปราย ทุกส่วนมียางสีขาว
     ใบเดี่ยว เรียงเวียน กระจายตามกิ่งหรือเป็น กระจุกที่ปลายกิ่ง รูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปช้อน กว้าง ๑.๘- ๕ ซม. ยาว ๓.๕-๑๐ ซม. ปลายแหลม มน หรือเว้าบุ๋ม โคนรูปลิ่มกว้าง เป็นครีบเล็กน้อย ขอบเรียบและเป็นคลื่น เล็กน้อย แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เหนียว หรือบางคล้ายกระดาษ มีขนประปรายหรือค่อนข้างเกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน มี จุดต่อมกระจายทั่วไป เส้นกลางใบนูนทั้ง ๒ ด้าน เส้น แขนงใบข้างละ ๘-๑๒ เส้น โค้งจดกันก่อนถึงขอบใบ เส้น ใบย่อยแบบร่างแห ก้านใบยาว ๐.๕-๑ ซม. เกลี้ยง แบน ด้านบนเป็นร่องแคบ ๆ และตรงกลางเป็นสันนูน หูใบรูป ใบหอก กว้างประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๒ มม. ร่วง ง่าย ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยง

 

 

 

 


     ดอกเดี่ยวออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กระจุกละ ๒-๑๕ ดอก ก้านดอกยาว ๐.๖-๑.๑ ซม. เป็นสันเหลี่ยม เล็กน้อย มีขนแบบขนแกะสีน้ำตาลแดงประปราย กลีบ เลี้ยง ๔ กลีบ สีเขียว เรียงเป็น ๒ วง ด้านนอกมีขนแบบ ขนแกะ ด้านในเกลี้ยง กลีบเลี้ยงคู่นอกรูปไข่กว้าง กว้าง ๒.๒-๓ มม. ยาว ๓-๔.๕ มม. กลีบเลี้ยงคู่ในรูปรี มีสันเล็ก น้อย กว้าง ๑.๕-๓.๒ มม. ยาว ๒.๕-๔.๗ มม. ลักษณะ คล้ายเยื่อบางใส ค่อนข้างเกลี้ยง ขอบจักชายครุย ดอกสี ขาวนวล โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว ๒.๑-๒.๓ มม. ปลายแยกเป็น ๘ แฉก รูปขอบขนานหรือรูปไข่ กว้าง ๐.๘-๒ มม. ยาว ๓.๒-๔ มม. ด้านนอกเกลี้ยง ด้านใน ระหว่างเกสรเพศผู้มีขนแบบขนแกะ เกสรเพศผู้ ๑๓-๑๖ เกสร ยาว ๔.๗-๕ มม. ก้านชูอับเรณูแยกเป็นอิสระ รูป เส้นด้าย ยาว ๓.๕-๔.๕ มม. ติดที่โคนหลอดกลีบดอกด้าน ใน มีขนแบบขนแกะสีเหลืองอ่อนประปราย อับเรณูติด หันออก รูปขอบขนานกว้าง ยาว ๐.๖-๑.๘ มม. เกลี้ยง ปลายแกนอับเรณูรูปกลมหรือมน ยาว ๐.๒-๐.๓ มม. บาง ครั้งเว้าบุ๋ม รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขนหยาบแข็งสีน้ำตาล แดง มี ๖-๗ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสร เพศเมียรูปเส้นด้าย ยาว ๖.๘-๙ มม. เกลี้ยง โผล่พ้นวง กลีบ ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม
     ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด ทรงรูปไข่ แกมรูปขอบขนาน หรือทรงรูปไข่กว้าง ก้านผลยาว ประมาณ ๑.๒ ซม. ผลอ่อนสีเขียว มีนวล สุกสีส้ม มีกลีบ เลี้ยงติดทนและมักมีก้านยอดเกสรเพศเมียติดทน เมล็ด แบนด้านข้าง รูปขอบขนาน ด้านในมีเส้นรอยแผลเมล็ด ผิวเรียบ สีดำเป็นมันวาว
     เดือยไก่มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบตามที่เปิดโล่งในป่า เต็งรัง ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ที่สูงจาก ระดับทะเล ๑๐๐-๗๐๐ ม. ออกดอกเดือนกันยายนถึง ธันวาคม เป็นผลเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ในต่าง ประเทศพบที่กัมพูชาและลาว
     ประโยชน์ ผลสุกรสหวาน รับประทานได้.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
เดือยไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์
Madhuca thorelii (Pierre ex Dubard) H. J. Lam
ชื่อสกุล
Madhuca
คำระบุชนิด
thorelii
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Pierre ex Dubard)
- H. J. Lam
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Pierre) ช่วงเวลาคือ (1833-1905)
- Dubard ช่วงเวลาคือ (1873-1914)
- H. J. Lam ช่วงเวลาคือ (1892-1977)
ชื่ออื่น ๆ
เดือยไก่ (ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ); ปาเกี้ยม (เขมร-สุรินทร์); สะกำ (ส่วย-สุรินทร์)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นายสุคิด เรืองเรื่อ
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.