เดือย

Coix lacryma-jobi L. var. lacryma-jobi

ชื่ออื่น ๆ
มะเดย (เหนือ)

ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบกว้าง ดอกแยกเพศร่วมต้นร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อ แยกแขนง ออกเป็นกระจุกตามซอกกาบใบ แต่ละช่อมีช่อแขนงแบบช่อกระจะคล้ายช่อเชิงลด ๒ ช่อ ประกอบ ด้วยช่อแขนงเพศผู้และช่อแขนงเพศเมียอย่างละ ๑ ช่อ มีวงใบประดับที่เปลี่ยนรูปเป็นกระเปาะทรงรูปไข่ ติดทน จนกระทั่งเป็นผล ช่อแขนงเพศผู้มีก้านยาวโผล่พ้นรูเปิดที่ปลายกระเปาะ ช่อแขนงเพศเมียไร้ก้านอยู่ภายใน กระเปาะ ผลแบบผลแห้งเมล็ดติด รูปทรงกลม อยู่ภายในกระเปาะ เมล็ดรูปคล้ายผล มี ๑ เมล็ด


     เดือยเป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง ๑- ๒.๕ ม.
     ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบกว้าง กว้าง ๒-๖.๕ ซม. ยาว ๑๔-๖๐ ซม. ปลายแหลม โคนเป็นกาบหุ้ม ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนมีขนสาก ด้านล่างเกลี้ยง เส้นกลางใบ นูนทางด้านล่าง เส้นใบเรียงขนานจากโคนสู่ปลายใบ กาบใบเกลี้ยง ลิ้นใบเป็นเยื่อบาง ยาวประมาณ ๑ มม. ปลายเป็นขนสั้น
     ดอกแยกเพศร่วมต้นร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อ แยกแขนง ออกเป็นกระจุกตามซอกกาบใบ ก้านช่อดอก ค่อนข้างแบน ยาว ๔-๑๐ ซม. แต่ละช่อมีช่อแขนงแบบ ช่อกระจะคล้ายช่อเชิงลด ๒ ช่อ ประกอบด้วยช่อแขนง เพศผู้และช่อแขนงเพศเมียอย่างละ ๑ ช่อ มีวงใบประดับ ที่เปลี่ยนรูปเป็นกระเปาะโอบหุ้ม กระเปาะทรงรูปไข่ กว้าง ๕-๙ มม. ยาว ๐.๗-๑.๒ ซม. แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ติด ทนจนกระทั่งเป็นผล ช่อแขนงเพศผู้ยาว ๑.๕-๖.๕ ซม. มีก้านช่อแขนงยาวโผล่พ้นรูเปิดที่ปลายกระเปาะ ช่อแขนง เพศเมียไร้ก้านอยู่ภายในกระเปาะ ช่อดอกย่อยเพศผู้ออก เป็นคู่มีช่อดอกย่อยไร้ก้านและช่อดอกย่อยมีก้านอย่างละ ๑ ช่อ หรือออกเป็นกลุ่มละสาม มีช่อดอกย่อยไร้ก้าน ๒ ช่อและช่อดอกย่อยมีก้าน ๑ ช่อ ช่อดอกย่อยรูปรี กว้าง ๒.๕-๔ มม. ยาว ๗-๙ มม. กาบช่อดอกย่อยล่างรูปรี กว้าง ๒.๕-๔ มม. ยาว ๗-๙ มม. บางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ปลายแหลม ขอบเป็นสัน บนสันมีปีกแคบ มีเส้นกาบ ๑๒- ๑๕ เส้น ช่อดอกย่อยบนโค้งรูปเรือ กว้าง ๒-๓ มม. ยาว ๗-๘ มม. บางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง มีสัน ๑ สัน บนสันมี ขนสาก ปลายเรียวแหลม มีเส้นกาบ ๙ เส้น มีดอกย่อย ๒ ดอก เป็นดอกย่อยเพศผู้ทั้ง ๒ ดอก กาบล่างของดอก ย่อยล่างรูปรีแคบ กว้าง ๑.๕-๒.๕ มม. ยาว ๖-๗ มม. บาง คล้ายเยื่อ เกลี้ยง ปลายแหลม มีเส้นกาบ ๓-๕ เส้น กาบ บนของดอกย่อยล่างรูปรีแคบ กว้าง ๑.๘-๒.๕ มม. ยาว ๖-๗ มม. บางคล้ายเยื่อ เกลี้ยง ปลายแหลม ขอบพับเป็น สัน มีเส้นกาบ ๓ เส้น กาบล่างของดอกย่อยบนรูปรีแคบ กว้าง ๑-๒ มม. ยาว ๖-๗ มม. บางคล้ายเยื่อ เกลี้ยง ปลาย แหลมมีเส้นกาบ ๓-๕ เส้น กาบบนของดอกย่อยบนรูปรี แคบ กว้าง ๑-๑.๒ มม. ยาว ๔.๕-๖ มม. ปลายแหลม บาง คล้ายเยื่อ เกลี้ยง ไม่มีเส้นกาบ กลีบเกล็ด ๒ กลีบ ยาว ๐.๘-๑ มม. เกสรเพศผู้ ๓ เกสร ก้านชูอับเรณูรูปเส้นด้าย อับเรณูสีเหลือง ยาว ๓-๔.๕ มม. ช่อดอกย่อยเพศเมียมี ๑ กลุ่ม ออกเป็นกลุ่มละ ๓ ช่อ ช่อดอกย่อยมีก้าน ๒ ช่อ ลด รูปเหลือเฉพาะก้านช่อดอกย่อย ยาว ๗-๙ มม. และช่อ ดอกย่อยไร้ก้าน ๑ ช่อ รูปไข่ กว้าง ๕-๖ มม. ยาวประมาณ ๑ ซม. กาบช่อดอกย่อยล่างรูปไข่ กว้าง ๕-๖ มม. ยาว ประมาณ ๑ ซม. บางคล้ายเยื่อ เกลี้ยง ปลายเรียวแหลม หนาคล้ายแผ่นหนัง มีเส้นกาบ ๑๓ เส้น กาบช่อดอกย่อย บนรูปไข่ กว้าง ๓-๔ มม. ยาว ๘-๙ มม. หนาคล้ายแผ่น หนัง เกลี้ยง มีสัน ๑ สัน บนสันมีปีก ปลายเรียวแหลม ขอบบางคล้ายเยื่อ มีเส้นกาบ ๑-๓ เส้น มีดอกย่อย ๒ ดอก ดอกย่อยล่างไม่มีเพศ กาบล่างรูปไข่ กว้าง ๓-๔ มม. ยาว ๖-๗ มม. บางคล้ายเยื่อ เกลี้ยง ปลายเรียวแหลม หนาคล้ายแผ่นหนัง มีเส้นกาบ ๕ เส้น ไม่มีกาบบน ดอก ย่อยบนเพศเมีย กาบล่างรูปไข่ กว้าง ๓-๔ มม. ยาว ๖-๗ มม. บางคล้ายเยื่อ เกลี้ยง ปลายเรียวแหลม หนาคล้าย แผ่นหนัง มีเส้นกาบ ๓-๕ เส้น กาบบนรูปไข่ กว้าง ๒-๓ มม. ยาว ๔-๖ มม. บางคล้ายเยื่อ เกลี้ยง ปลายเรียวแหลม หนาคล้ายแผ่นหนัง มีเส้นกาบ ๓ เส้น ไม่มีกลีบเกล็ด รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ทรงรูปไข่ กว้างประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๒ มม. มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอด เกสรเพศเมียเรียว มี ๑ ก้าน ยาวประมาณ ๖ มม. ยอด เกสรเพศเมียแยกเป็น ๒ แฉก มีขนยาวนุ่มคล้ายพู่ ยื่น โผล่พ้นรูเปิดที่ปลายกระเปาะ
     ผลแบบผลแห้งเมล็ดติด รูปทรงกลม อยู่ภายใน กระเปาะ เมล็ดรูปคล้ายผล มี ๑ เมล็ด
     เดือยในประเทศไทยมี ๔ พันธุ์ (variety) คือ
     ๑. var. lacryma-jobi มีเขตการกระจายพันธุ์ ในประเทศไทยเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ พบตามที่ ชื้นแฉะใกล้แหล่งน้ำ ที่สูงจากระดับทะเล ๑๐๐-๑,๕๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนกรกฎาคมถึงกุมภาพันธ์ ใน ต่างประเทศพบที่เขตร้อนทั่วโลก กระเปาะหุ้มผลใช้ทำ เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ
     ๒. var. ma-yuen (Rom. Caill.) Stapf มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเดือยพันธุ์ var. lacryma-jobi ต่างกันที่ลักษณะกระเปาะหุ้มผลทรงรูปไข่หรือทรงรูปไข่ กว้าง กว้าง ๐.๕-๑.๒ ซม. ยาว ๐.๘-๑.๖ ซม. ค่อนข้าง เปราะ แตกง่าย ผิวมีรอยย่นตามยาว มีเขตการกระจาย พันธุ์ในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาค ตะวันออก และภาคกลาง พบตามแหล่งปลูกในไร่ที่ราบ ที่ลาดเชิงเขา หรือบนภูเขา ที่สูงจากระดับทะเล ๑๐๐- ๑,๕๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนกันยายนถึง กุมภาพันธ์ ในต่างประเทศพบที่อินเดียและเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ เมล็ดรับประทานได้
     ๓. var. monilifer Watt เรียก เดือยหิน มี ลักษณะทั่วไปคล้ายกับพันธุ์ var. lacryma-jobi ต่างกัน ที่ลักษณะกระเปาะหุ้มผลรูปทรงค่อนข้างกลมแป้นหรือ กึ่งรูปทรงกลม ด้านหนึ่งค่อนข้างแบน อีกด้านหนึ่งโค้ง กลมมน กว้าง ๖-๙ มม. ยาว ๕-๘ มม. แข็ง ผิวเรียบเป็น มัน มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง พบตามพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ ที่เปิดโล่ง พื้นที่รกร้าง หรือ แหล่งปลูกพืชไร่บนภูเขา ที่สูงจากระดับทะเล ๑๐๐- ๑,๕๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนกันยายนถึง กุมภาพันธ์ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เมียนมา และ มาเลเซีย กระเปาะหุ้มผลใช้ทำเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ
     ๔. var. stenocarpa Oliv. เรียก มะเดือย ขี้หนอน มีชื่อเรียกอื่น ๆ คือ เบอะ, ผงมือที้ (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน) ลักษณะทั่วไปคล้ายกับเดือย ต่างกันที่ ลักษณะกระเปาะหุ้มผลรูปทรงกระบอก กว้าง ๑.๕-๓ มม. ยาว ๑-๑.๘ ซม. แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน มีเขตการกระจาย พันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ พบตามพื้นที่รกร้าง หรือในแหล่งปลูกพืชไร่บนภูเขา ที่สูงจากระดับทะเล ๔๕๐-๑,๔๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนกันยายนถึง กุมภาพันธ์ ในต่างประเทศพบที่อินเดียและเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ กระเปาะหุ้มผลใช้ทำเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
เดือย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Coix lacryma-jobi L. var. lacryma-jobi
ชื่อสกุล
Coix
คำระบุชนิด
lacryma-jobi
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- L.
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
var. lacryma-jobi
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- L.ช่วงเวลาคือ (1707-1778)
ชื่ออื่น ๆ
มะเดย (เหนือ)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางสาวปวีณา เวสภักตร์ และ ผศ. ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.