เคียนทราย

Shorea gratissima (Wall, ex Kurz) Dyer

ชื่ออื่น ๆ
ดิน, ซวย, ตะเคียนหิน (นครศรีธรรมราช); เคียนสามพอน, ตะเคียนตานอ่อน, ยอม, เรียวนกทุง (ตรัง); จอมแหลน (
ไม้ต้น มีพูพอน ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก เส้นกลางใบด้านล่างเป็นสันคมหูใบรูปใบหอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อย่อยแบบช่อกระจะ ดอกสีขาวแกมสีเหลือง ผลแบบผลเปลือกแข็งรูปทรงรีเกือบกลม มีเกล็ดเป็นขุยประปราย ปลายมีติ่งแหลม กลีบเลี้ยงติดทนขยายเป็นปีกยาว ๓ ปีก ปีกสั้น ๒ ปีก เมล็ดรูปคล้ายผล มี ๑ เมล็ด

เคียนทรายเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง ๓๐ ม. ลำต้นเปลาตรง ที่โคนมีพูพอน เปลือกนอกสีนํ้าตาลปนเทาแตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ดห้อยลง บางครั้งตกชันเปลือกในสีนํ้าตาลอ่อน

 ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง ๒.๕-๔.๕ ซม. ยาว ๕-๑๐ ซม. ปลายแหลมยาวปลายสุดเว้าบุ๋ม โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงเส้นกลางใบเป็นร่องทางด้านบน ด้านล่างเป็นสันคมเส้นแขนงใบข้างละ ๑๒-๑๖ เส้น ขนานกัน ปลายเส้นจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบยาว ๑-๒ ซม. หูใบรูปใบหอก ยาวประมาณ ๑ ซม. ร่วงง่าย

 ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว ๕-๑๐ ซม. มีขนสั้นนุ่ม ช่อย่อยแบบช่อกระจะ ก้านดอกยาวประมาณ ๐.๒ ซม. ดอกตูมรูปรี ยาวประมาณ ๐.๕ ซม. ดอกสีขาวแกมสีเหลือง กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ รูปสามเหลี่ยมแคบ มีขนาดเล็ก กว้างประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๗ มม. ด้านนอกมีขนละเอียด กลีบนอก ๓ กลีบ ปลายแหลม มีขนาดใหญ่กว่ากลีบในเด็กน้อย กลีบใน ๒ กลีบ ปลายแหลมยาว กลีบดอก ๕ กลีบ บิดเวียน รูปไข่แกมรูปใบหอก


กว้าง ๒-๓ มม. ยาวประมาณ ๗ มม. เกสรเพศผู้ ๒๕ เกสร โคนก้านชูอับเรณูแผ่กว้าง อับเรณูรูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๑ มม. ครึ่งบนมีขนยาว ปลายมีรยางค์รูปเส้นด้าย ยาว ๒-๓ มม. รังไข่อยู่เหนือวงกลีบรูปรี เกลี้ยง มี ๓ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๒ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ ๒ เท่าของรังไข่ ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น ๓ แฉก

 ผลแบบผลเปลือกแข็ง รูปทรงรีเกือบกลม ยาวประมาณ ๑.๕ ซม. มีเกล็ดเป็นขุยประปราย ปลายมีติ่งแหลม กลีบเลี้ยงติดทนขยายเป็นปีก ๕ ปีก โคนปีกหนา ปีกยาว ๓ ปีก รูปใบพาย ยาว ๔-๖ ซม. ปีกสั้น ๒ ปีก รูปใบหอก ยาว ๒-๓ ซม. เมล็ดรูปคล้ายผล มี ๑ เมล็ด

 เคียนทรายมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคใต้พบในป่าดิบชื้น ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับนํ้าทะเลถึงประมาณ ๓๕๐ ม. ออกดอกเดือนมีนาคมเป็นผลเดือนมิถุนายน ในต่างประเทศพบที่พม่าตอนล่าง คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และบอร์เนียว.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
เคียนทราย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Shorea gratissima (Wall, ex Kurz) Dyer
ชื่อสกุล
Shorea
คำระบุชนิด
gratissima
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Wallich, Nathaniel
- Kurz, Wilhelm Sulpiz
- Dyer, William Turner Thiselton (Thistleton)
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Wallich, Nathaniel (1786-1854)
- Kurz, Wilhelm Sulpiz (1834-1878)
- Dyer, William Turner Thiselton (Thistleton) (1843-1928)
ชื่ออื่น ๆ
ดิน, ซวย, ตะเคียนหิน (นครศรีธรรมราช); เคียนสามพอน, ตะเคียนตานอ่อน, ยอม, เรียวนกทุง (ตรัง); จอมแหลน (
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ราชันย์ ภู่มา