เขี้ยวกระแต

Psilanthus bengalensis (K. Heyne ex Roem. & Schult.) J. F. Leroy

ไม้พุ่ม ใบเรียงตรงข้าม รูปไข่ หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกออกเดี่ยวตามง่ามใบและปลายกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง

เขี้ยวกระแตเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๒ ม.

 ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง ๒.๕-๓.๕ ซม. ยาว ๕-๗ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน เส้นแขนงใบข้างละ ๓-๕ เส้น ก้านใบยาว ๑-๒ มม. ใบที่อยู่ปลายกิ่งมักจะใหญ่กว่าใบที่อยู่ทางโคนกิ่ง หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ

 ดอกออกเดี่ยวตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบ และปลายกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยงรูปถ้วย สั้นมาก ปลายจักถี่ ดอกรูปดอกเข็ม กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดยาว ๑.๒-๑.๕ ซม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปไข่ ปลายแหลม ยาวประมาณ ๑ ซม. เกสรเพศผู้ ๕ อัน อับเรณูติดที่ปากหลอดกลีบดอก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ ๑.๕ ซม.

 ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง

 เขี้ยวกระแตเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกหอมและบานพร้อม ๆ กัน ออกดอกในฤดูร้อน.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
เขี้ยวกระแต
ชื่อวิทยาศาสตร์
Psilanthus bengalensis (K. Heyne ex Roem. & Schult.) J. F. Leroy
ชื่อสกุล
Psilanthus
คำระบุชนิด
bengalensis
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Roemer, Johann Jakob
- Schultes, Josef (Joseph) Augus
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Roemer, Johann Jakob (1763-1819)
- Schultes, Josef (Joseph) Augus (1773-1831)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ผศ.จิรายุพิน จันทรประสงค์