ตะครอง

Ziziphus cambodiana Pierre

ชื่ออื่น ๆ
มะดันดง, มะหมากมา, หมากมา (เหนือ); หนามค้อม, หนามตะคอง (อุบลราชธานี); หมากกะทันช้าง (กลาง); อังกรวง,
ไม้ต้นขนาดเล็ก เปลือกสีดำ กิ่งค่อนข้างเกลี้ยง มีหนามโค้ง ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่หรือรูปรี ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ ดอกสีเขียวอมขาว ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงค่อนข้างกลม เมล็ดรูปทรงรี มันวาว มี ๑ เมล็ด

ตะครองเป็นไม้ต้น สูง ๒-๕ ม. เปลือกสีดำ กิ่งค่อนข้างเกลี้ยง มีหนามโค้ง ยาวประมาณ ๖ มม.

 ใบเดี่ยว เรียงเวียนรูปไข่หรือรูปรี กว้าง ๒.๕-๕.๕ ซม. ยาว ๔-๘ ซม. ปลายมนกลมหรือกึ่งแหลม โคนรูปลิ่ม เบี้ยว ขอบเรียบหรือหยักซี่ฟันที่ปลายใบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ค่อนข้างเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มตามเส้นใบ เมื่อแห้งด้านบนสีดำ ด้านล่างสีเทา เส้นโคนใบ ๓ เส้น เส้นแขนงใบข้างละ ๗-๑๔ เส้น ก้านใบยาว ๐.๕-๑ ซม.

 ช่อดอกแบบช่อกระจุก ยาว ๔-๗ มม. ออกตามซอกใบ มีขนสั้นนุ่ม ก้านดอกยาวประมาณ ๒ มม. ดอกสีเขียวอมขาว กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ ๑.๕ มม. ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แต่ละแฉกรูปคล้ายสามเหลี่ยม กว้างประมาณ ๑.๕ มม. ยาวประมาณ ๒ มม. ปลายแหลม ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในเกลี้ยงและเป็นสัน กลีบดอก ๕ กลีบ สีเขียวอมขาว รูปหัวใจกลับแกมรูปไข่ ยาวประมาณ ๑.๓ มม. เกสรเพศผู้ ๕ เกสร ยาวประมาณ ๑.๕ มม. อับเรณูทรงรูปไข่ จานฐานดอกเป็นวง หนา มีขน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๓ ช่อง


แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น ๓ แฉก ยอดเกสรเพศเมียเล็กมาก

 ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงค่อนข้างกลม กว้างประมาณ ๑.๘ ซม. ยาวประมาณ ๒ ซม. ผนังผลหนาประมาณ ๔ มม. ผนังผลชั้นในแข็ง มี ๓ ช่อง เมล็ดรูปทรงรี ยาวประมาณ ๑ ซม. หนาประมาณ ๑ มม. มันวาว มี ๑ เมล็ด

 ตะครองมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบตามป่าดิบ ป่าเต็งรัง และชายป่า ที่สูงจากระดับทะเลปานกลาง ๕๐-๔๐๐ ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม เป็น


ผลเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน ในต่างประเทศพบที่ภูมิภาคอินโดจีน.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ตะครอง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ziziphus cambodiana Pierre
ชื่อสกุล
Ziziphus
คำระบุชนิด
cambodiana
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Pierre, Jean Baptiste Louis
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Pierre, Jean Baptiste Louis (1833-1905)
ชื่ออื่น ๆ
มะดันดง, มะหมากมา, หมากมา (เหนือ); หนามค้อม, หนามตะคอง (อุบลราชธานี); หมากกะทันช้าง (กลาง); อังกรวง,
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางสาววลัยพร วิศวชัยวัฒน์