ด้าง

Hoya kerrii Craib

ชื่ออื่น ๆ
เครือหนอนตาย (หนองคาย); ต้าง (อุบลราชธานี); เทียนขโมย, หัวใจทศกัณฐ์ (กลาง)

ไม้เถาอิงอาศัย ทุกส่วนมียางสีขาวคล้ายน้ำนม ลำต้นและกิ่งค่อนข้างอวบและแข็ง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กลับหรือรูปหัวใจ ปลายเว้าลึกคล้ายรูปหัวใจ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นใบเห็นไม่ชัดทั้ง ๒ ด้าน ช่อดอก คล้ายช่อซี่ร่ม ห้อยลง ออกทางด้านข้างของก้านใบ แต่ละช่อมี ๑๐-๒๐ ดอก ดอกสีขาวหรือสีขาวนวล รูปวงล้อ รยางค์เส้าเกสรสีม่วงแดง


     ด้างเป็นไม้เถาอิงอาศัย ทุกส่วนมียางสีขาวคล้าย น้ำนม ลำต้นและกิ่งค่อนข้างอวบและแข็ง ผิวค่อนข้าง เรียบ เมื่อแก่สีเขียวถึงสีเทาแกมสีน้ำตาล

 


     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับหรือรูปหัวใจ กว้าง ๕-๙.๕ ซม. ยาว ๔-๑๒ ซม. ปลายเว้าลึกคล้าย รูปหัวใจ โคนแหลมหรือมน ขอบเรียบและม้วนลง แผ่น ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสี เขียวอ่อน เส้นแขนงใบข้างละ ๕-๗ เส้น ปลายโค้งจดกัน เป็นแนวเส้นขอบใน เส้นใบเห็นไม่ชัดทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบ อวบหนา เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ มม. ยาว ๐.๕- ๑.๕ ซม.
     ช่อดอกคล้ายช่อซี่ร่ม ห้อยลง ออกทางด้านข้าง ของก้านใบ แต่ละช่อมี ๑๐-๒๐ ดอก ก้านช่อค่อนข้างอวบ หนา ยาว ๒-๔ ซม. ดอกออกที่ปลายแกนช่อเดิมได้หลาย ครั้ง ก้านดอกยาว ๒-๓ ซม. มีขนสั้น กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ รูป ไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง ๑.๔-๑.๖ มม. ยาว ๒-๒.๕ มม. ปลายแหลมหรือมน ด้านนอกและขอบมีขนสั้น กลีบดอก สีขาวหรือสีขาวนวล เมื่อบานเต็มที่มีรูปวงล้อ เส้นผ่าน ศูนย์กลางดอกประมาณ ๑ ซม. โคนเชื่อมติดกันประมาณ ครึ่งหนึ่งของกลีบ ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปไข่แกมรูป สามเหลี่ยม กว้างประมาณ ๔ มม. ยาวประมาณ ๕ มม. ปลายแหลม ขอบและปลายม้วนลง ด้านในมีขนละเอียด ด้านนอกเกลี้ยง กลางดอกมีรยางค์เส้าเกสร ๕ อัน สีม่วง แดง รูปไข่กลับ กว้าง ๑.๕-๑.๗ มม. ยาว ๒-๒.๒ มม. ปลายด้านนอกมน มักมีหยดน้ำต้อย ปลายด้านในเป็นติ่ง แหลมตั้งขึ้น เกสรเพศผู้ ๕ เกสร เชื่อมติดกันเป็นเส้าเกสร กลุ่มเรณูมี ๒ กลุ่ม สีเหลือง รูปขอบขนาน กว้างประมาณ ๐.๒ มม. ยาวประมาณ ๐.๗ มม. ก้านกลุ่มเรณูสั้น ปุ่มยึด ก้านกลุ่มเรณูสีน้ำตาลดำ รูปไข่กลับ กว้างประมาณ ๐.๒ มม. ยาวประมาณ ๐.๓ มม. รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๒ รังไข่ แยกจากกันเป็นอิสระ แต่ละรังไข่มี ๑ ช่อง มีออวุลจำนวน มาก ก้านยอดเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน ยอดเกสรเพศเมีย เป็นตุ่ม มีห้าเหลี่ยม

 


     ด้างมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ พบตามป่าเต็งรัง ที่สูงจาก ระดับทะเล ๑๐๐-๑,๓๐๐ ม. ออกดอกเดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม ยังไม่มีข้อมูลการติดผลในประเทศไทย ในต่าง ประเทศพบที่ภูมิภาคอินโดจีน.

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ด้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hoya kerrii Craib
ชื่อสกุล
Hoya
คำระบุชนิด
kerrii
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Craib
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Craib ช่วงเวลาคือ (1882-1933)
ชื่ออื่น ๆ
เครือหนอนตาย (หนองคาย); ต้าง (อุบลราชธานี); เทียนขโมย, หัวใจทศกัณฐ์ (กลาง)
ผู้เขียนคำอธิบาย
รศ. ดร.มานิต คิดอยู่
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.