ดาวไทย

Sciaphila thaidanica K. Larsen

พืชกินซาก ลำต้นเปราะบาง สีม่วง ไร้คลอโรฟิลล์ แตกกิ่งใกล้โคนลำต้นเป็นกระจุก ใบเดี่ยว เรียงเวียน สีม่วง ลด รูปเป็นเกล็ดคุ่ม ดอกแยกเพศร่วมต้นร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวถึงสีม่วงอ่อน เรียง หันด้านเดียว ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่อยู่ด้านบน ผลแบบผลแห้งแตกแนวเดียว รูปทรงค่อนข้างกลม มีเมล็ด ๑ เมล็ด


     ดาวไทยเป็นพืชกินซาก ลำต้นเปราะบาง สูง ประมาณ ๕ ซม. สีม่วง ไร้คลอโรฟิลล์ แตกกิ่งใกล้โคน ต้นเป็นกระจุก แตกรากแขนงจากโคน มีรากใหญ่กว่า ลำต้น มีขนรากหนาแน่น
     ใบเดี่ยว เรียงเวียน สีม่วง ลดรูปเป็นเกล็ดคุ่ม ยาวประมาณ ๓ มม. ปลายมน ขอบเรียบ
     ดอกแยกเพศร่วมต้นร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อ กระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ช่อยาว ๑-๑.๕ ซม. ก้านช่อดอก ยาว ๑-๒ มม. โค้ง ใบประดับขนาดเล็กมาก ดอกสีขาวถึง สีม่วงอ่อน เรียงหันด้านเดียว ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่อยู่ด้าน บน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๔-๕ มม. กลีบรวม ๖ กลีบ บางใส กางออกคล้ายดาว รูปใบหอกแกมรูปไข่แคบ กว้าง ประมาณ ๐.๗ มม. ยาวประมาณ ๒.๕ มม. ปลายแหลม เกสรเพศผู้ ๓ เกสร ก้านชูอับเรณูสั้นมาก มีปุ่มเล็ก จำนวนมากล้อมรอบโคนก้านชูอับเรณู ปลายอับเรณูมีแกนอับเรณูยื่นเป็นติ่งแหลม ดอกเพศเมียมี ๒-๓ ดอก อยู่ด้านล่างของช่อ ดอกกว้างกว่าดอกเพศผู้ เกสรเพศเมีย ๔๐-๕๐ เกสร คล้ายตุ่มขนาดเล็กอัดแน่น รังไข่อยู่เหนือ วงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมีย ติดด้านข้างของรังไข่ รังไข่และก้านยอดเกสรเพศเมียมีปุ่ม เล็กทั่วไป ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มเล็ก

 

 

 


     ผลแบบผลแห้งแตกแนวเดียว รูปทรงค่อนข้างกลม ขนาดประมาณ ๑ มม. มีเมล็ด ๑ เมล็ด
     ดาวไทยเป็นพืชหายากและเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียว ของไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือ พบตาม ป่าดิบเขาใกล้ลำธารที่มีอินทรียวัตถุสูง ที่สูงจากระดับทะเล ประมาณ ๑,๐๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนพฤศจิกายน.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาวไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sciaphila thaidanica K. Larsen
ชื่อสกุล
Sciaphila
คำระบุชนิด
thaidanica
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- K. Larsen
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- K. Larsen ช่วงเวลาคือ (1926-2012)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.