ดาวเรืองพม่า

Cosmos caudatus Kunth

ชื่ออื่น ๆ
คำแนคำแล, คำแล, คำแฮ (เหนือ); พอกอลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); สะลากุ้ง, หญ้าตีตุ๊ด (ชาน-แม่ฮ่องสอน)

ไม้ล้มลุกปีเดียว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปคล้ายสามเหลี่ยม ขอบหยักแบบขนนกข้างละ ๓-๔ หยัก หรือแต่ละ หยักมีหยักอีกข้างละ ๓-๔ หยัก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยในช่อมี ๒ แบบ คือ ดอกย่อยวงนอกเป็นดอกเพศเมีย รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน สีชมพูเข้ม สีออกแดง หรือสีม่วง และดอก ย่อยวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ สีเหลือง ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปกระสวยแกมรูปแถบ มีกลีบเลี้ยงติดทน แบบแพปพัสลักษณะเป็นหนามแข็ง ๒-๓ อัน สีขาว มีเมล็ด ๑ เมล็ด


     ดาวเรืองพม่าเป็นไม้ล้มลุกปีเดียว สูง ๐.๓-๒.๕ ม. แตกแขนงที่ส่วนบน กิ่งเกลี้ยงหรือมีขนประปราย
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปคล้ายสามเหลี่ยม กว้าง ๓-๑๕ ซม. ยาว ๔-๒๐ ซม. ขอบหยักแบบขนนกข้างละ ๓-๔ หยัก หรือแต่ละหยักมีหยักอีกข้างละ ๓-๔ หยัก แต่ละหยักกว้าง ๒-๘ มม. ปลายแหลม มักเป็นติ่งหนามสั้น โคนรูปลิ่ม ขอบของหยักเป็นจักหนามละเอียดและมีขน แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เส้นแขนงใบแบบขนนก ก้าน ใบยาว ๑-๗ ซม.
     ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามซอกใบและ ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว ๑-๓ ซม. เมื่อบานเส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ ๓ ซม. ฐานดอกร่วมมีเกล็ดรูปแถบ เนื้อคล้ายกระดาษ สูง ๐.๗-๑.๓ ซม. วงใบประดับกึ่งรูป ระฆัง กว้างประมาณ ๕ มม. สูงประมาณ ๑ ซม. ใบประดับ เรียง ๒ ชั้น ชั้นนอกสีเขียว รูปใบหอกแกมรูปแถบ ยาว ๐.๗-๑ ซม. ปลายเรียวแหลม กางออก เนื้อแห้ง ขอบมีขน ละเอียด ชั้นในสีคล้ายกลีบดอกย่อยวงนอก ดอกย่อยใน ช่อมี ๒ แบบ คือ ดอกย่อยวงนอกเป็นดอกเพศเมีย มีประมาณ ๘ ดอก รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๑.๕- ๒.๕ มม. ยาว ๑-๑.๓ มม. เนื้อบางคล้ายเยื่อ ตั้งตรง เกลี้ยง กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นรยางค์ กลีบดอกสีชมพูเข้ม สีออกแดง หรือสีม่วง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแผ่เป็นรูปไข่ กลับ กว้างประมาณ ๐.๕ ซม. ยาว ๑-๑.๕ ซม. ปลายจัก เป็น ๓ แฉก และดอกย่อยวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มี ประมาณ ๓๐ ดอก กลีบดอกสีเหลือง ยาว ๕-๗ มม. โคน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ ๓-๖ มม. ปลายจัก เป็น ๕ แฉก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๑.๕ มม. เกสร เพศผู้ ๕ เกสร ก้านชูอับเรณูแยกกัน อับเรณูรูปแถบ โคน เชื่อมติดกันและหุ้มก้านยอดเกสรเพศเมีย รังไข่อยู่ใต้ วงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมีย ปลายแยกเป็น ๒ แฉก
     ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปกระสวยแกมรูป แถบ ยาว ๑-๓.๕ ซม. เกลี้ยงหรือมีขนสั้นประปราย โดย เฉพาะตรงจะงอยยาวที่กลางผล มีกลีบเลี้ยงติดทนแบบ แพปพัสลักษณะเป็นหนามแข็ง ๒-๓ อัน กางออก ยาว ๓-๕ มม. สีขาว มีเมล็ด ๑ เมล็ด
     ดาวเรืองพม่าเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่น กำเนิดในแถบอเมริกากลาง ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาค ตามที่โล่งลาดชัน ตามที่ทำการเกษตร ที่สูงจากระดับทะเล ๕๐-๑,๐๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเกือบตลอดปี.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาวเรืองพม่า
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cosmos caudatus Kunth
ชื่อสกุล
Cosmos
คำระบุชนิด
caudatus
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Kunth
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Kunth ช่วงเวลาคือ (1788-1850)
ชื่ออื่น ๆ
คำแนคำแล, คำแล, คำแฮ (เหนือ); พอกอลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); สะลากุ้ง, หญ้าตีตุ๊ด (ชาน-แม่ฮ่องสอน)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.