ดาวเรืองน้อย

Tagetes patula L.

ชื่ออื่น ๆ
คำปูจู้น้อย (เหนือ); โพชีโทงซะ, โพทองชา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ยี่สุ่น (กรุงเทพฯ)

ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้าม ใบบนเรียงเวียน รูปรี มีใบย่อย ๗-๑๓ ใบ รูปรีแคบหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอด เรียงคล้ายช่อเชิง หลั่นหลวม ๆ ดอกสีส้มหรือสีเหลืองถึงสีน้ำตาลแดง ที่โคนมีสีส้มหรือสีแดงอมน้ำตาลแต้มเห็นเด่นชัด หรือทั้ง กลีบสีแดงอมน้ำตาล ดอกย่อยในช่อมี ๒ แบบ คือ ดอกย่อยวงนอกเป็นดอกเพศเมีย รูปลิ้น ดอกย่อยวงในเป็น ดอกสมบูรณ์เพศ รูปหลอด ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปขอบขนานแคบ สีค่อนข้างดำ มีขนสากแนบตามสัน ที่ปลายมีแพปพัสเป็นเกล็ดบางใสประมาณ ๕ เกล็ด


     ดาวเรืองน้อยเป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง ๗๐ ซม. มักแตกกิ่งก้านสาขามาก
     ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้าม ใบ บนเรียงเวียน รูปรี กว้าง ๒-๓ ซม. ยาว ๓-๘ ซม. มีใบย่อย ๗-๑๓ ใบ รูปรีแคบหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๒-๕ มม. ยาว ๑-๒ ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนสอบเรียว ขอบจักฟันเลื่อย ใบบนจักเป็นหนามแหลม มีต่อมกลมตามขอบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน ด้านล่างมีต่อมน้ำมัน ก้านใบยาวได้ถึง ๒ ซม. เส้น กลางใบและเส้นแขนงใบไม่เด่นชัด
     ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอด เรียงคล้ายช่อเชิงหลั่นหลวม ๆ ก้านช่อค่อนข้างเล็ก ปลาย ก้านช่อขยายใหญ่ กว้าง ๒.๕-๕ มม. ช่อกระจุกเมื่อบาน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๕ ซม. ฐานดอกรวมแบน วง ใบประดับรูประฆัง กว้าง ๐.๕-๑.๒ ซม. สูง ๐.๖-๑.๗ ซม. มีร่องตามยาว ๕-๗ ร่อง ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม แหลม มีต่อม ๓-๔ ต่อมตามขอบ ดอกย่อยในช่อมี ๒ แบบ คือ ดอกย่อยวงนอกเป็นดอกเพศเมีย รูปลิ้น มีประมาณ ๘ ดอกต่อ ๑ กระจุก กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นเกล็ดบางใส กลีบ ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ ๑ ซม. ปลาย เชื่อมติดกันแผ่เป็นแผ่น รูปค่อนข้างกลม กว้างประมาณ ๑ ซม. ยาว ๑-๑.๓ ซม. สีส้มหรือสีเหลืองถึงสีน้ำตาลแดง ที่โคนมีสีส้มหรือมีสีแดงอมน้ำตาลแต้มเห็นเด่นชัด หรือทั้ง กลีบสีแดงอมน้ำตาล ดอกย่อยวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ รูปหลอด มีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นเกล็ดบางใส กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ ๑ ซม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ยาว ๓-๔.๕ มม. เกสรเพศผู้ ๕ เกสร ก้านชูอับเรณูแยกจากกัน อับเรณูรูปขอบขนานแกม รูปรีติดกันทางด้านข้าง รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรเพศ เมียแยกเป็น ๒ แฉก
     ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปขอบขนานแคบ ยาวประมาณ ๗ มม. สีค่อนข้างดำ มีขนสากแนบตามสัน ที่ปลายมีแพปพัสเป็นเกล็ดบางใสประมาณ ๕ เกล็ด รูปลิ่ม แคบ มีเกล็ดที่เป็นรยางค์แข็ง ๒ เกล็ด ยาวประมาณ ๘ มม. นอกนั้นเล็กกว่า ยาว ๓-๔ มม.
     ดาวเรืองน้อยเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่น กำเนิดในเม็กซิโก นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับใประเทศไทย ปัจจุบันมีการปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อนและกึ่ง เขตร้อน ออกดอกและเป็นผลตลอดปี.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาวเรืองน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์
Tagetes patula L.
ชื่อสกุล
Tagetes
คำระบุชนิด
patula
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- L.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- L.ช่วงเวลาคือ (1707-1778)
ชื่ออื่น ๆ
คำปูจู้น้อย (เหนือ); โพชีโทงซะ, โพทองชา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ยี่สุ่น (กรุงเทพฯ)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.