ดาวเงินไทยทอง

Argostemma thaithongiae Sridith

ไม้ล้มลุกหลายปี มีเหง้าอวบน้ำ ในฤดูแล้งส่วนอื่น ๆ เหี่ยวตายไป เหลือเฉพาะเหง้า ลำต้นตั้งตรง อวบน้ำ ไม่แยก สาขา เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มี ๒-๓ คู่ รูปรี เกลี้ยงหรือมีขนประปรายเฉพาะด้านบน ปล้องระหว่าง คู่ใบสั้นมาก เห็นใบรวมเป็นกระจุก หูใบระหว่างก้านใบรูปรีหรือรูปไข่ ช่อดอกแบบช่อกระจุกเชิงประกอบ ออกที่ ปลายยอด ดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ผลแบบผลแห้งแตก มีฝาปิดด้าน บน เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก


     ดาวเงินไทยทองเป็นไม้ล้มลุกหลายปี มีเหง้า อวบน้ำ ในฤดูแล้งส่วนอื่น ๆ เหี่ยวตายไป เหลือเฉพาะ เหง้า ลำต้นตั้งตรง อวบน้ำ ไม่แยกสาขา สูง ๙-๑๙ ซม. เรียบ เกลี้ยง
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มี ๒-๓ คู่ ปล้องระหว่าง คู่ใบสั้นมาก เห็นใบรวมเป็นกระจุก ใบรูปรี กว้าง ๑.๒-๓.๕ ซม. ยาว ๒.๒-๙.๘ ซม. ปลายแหลม โคนแหลม ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายเยื่อ ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ด้านล่างเกลี้ยง ด้านบนมีสีเข้มกว่าด้านล่าง เส้นแขนงใบ มีหลายคู่ จำนวนคู่แปรผันตามความยาวใบ นูนเป็นสัน ทางด้านล่าง ก้านใบยาว ๑-๔ มม. เกลี้ยง หูใบระหว่าง ก้ า นใบรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง ๑-๒.๕ มม. ยาว ๑-๔ มม. เกลี้ยง ปลายแหลมหรือแยกเป็น ๒ แฉก
     ช่อดอกแบบช่อกระจุกเชิงประกอบ ออกที่ปลาย ยอด ก้านช่อดอกยาว ๐.๕-๒.๕ ซม. เกลี้ยง ใบประดับ เชื่อมติดกันที่โคน ปลายแยกเป็น ๔ แฉก หรือแยกเป็น อิสระ ๔ อัน รูปใบหอกถึงแคบเป็นเส้น กว้างและยาว ๐.๕-๑ มม. สีเขียวอ่อน เกลี้ยง ก้านดอกยาว ๐.๖-๑.๖ ซม. เกลี้ยง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนถึงสีขาว โคนเชื่อมติดกัน เป็นหลอดสั้นมาก ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แต่ละแฉกรูป สามเหลี่ยม กว้างและยาว ๐.๕-๑ มม. ชี้ตรงหรือกางออก เส้นกลีบเลี้ยงชัด เกลี้ยง และมีผลึกรูปเข็มเป็นขีดสั้น ๆ ประปราย กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง กว้ า ง ๕-๗ มม. ยาว ๓-๔ มม. เกลี้ยง ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แต่ละแฉกรูปไข่ กว้าง ๐.๕-๑.๕ มม. ยาว ๐.๕- ๒.๕ มม. กางออก มีเส้นกลีบดอกชัด เกสรเพศผู้ ๕ เกสร ติดใกล้โคนหลอดกลีบดอก เรียงสลับกับแฉกกลีบดอก อับเรณูติดค่อนมาที่ฐาน แตกเป็นรูเกือบปลายสุดของ อับเรณู รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ รูปทรงกลม มี ๒ ช่อง แต่ละ ช่องมีออวุลจำนวนมาก ติดรอบแกนร่วม ก้านยอดเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ ๔ มม. ยอดเกสร เพศเมียเป็นตุ่ม

 


     ผลแบบผลแห้งแตก มีฝาปิดด้านบน เปิดออก เมื่อมีละอองน้ำมากระทบ เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก
     ดาวเงินไทยทองเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ มีเขตการกระจายพันธุ์ใน ประเทศไทยทางภาคเหนือ พบขึ้นบนเขาหินปูนที่ค่อนข้าง ชื้น ที่สูงจากระดับทะเล ๖๐๐-๒,๐๐๐ ม. ออกดอก เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม เป็นผลเดือนกันยายน
     คำระบุชนิดของพืชชนิดนี้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ รศ. ดร.อบฉันท์ ไทยทอง แห่งภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาวเงินไทยทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Argostemma thaithongiae Sridith
ชื่อสกุล
Argostemma
คำระบุชนิด
thaithongiae
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Sridith
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Sridith ไม่ทราบช่วงเวลา
ผู้เขียนคำอธิบาย
รศ. ดร.กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.