ดาบฤๅษี

Tephrosia coccinea Wall.

ชื่ออื่น ๆ
ฤๅษีแสด (ทั่วไป)

ไม้ล้มลุกถึงไม้พุ่มกึ่งล้มลุกหลายปี กิ่งอ่อนมีขนคล้ายไหมสีเงินหนาแน่น เมื่อแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อยมี ๕-๑๓ ใบ เรียงตรงข้าม รูปใบหอกกลับแกมรูปขอบ ขนานหรือรูปใบหอกกลับแกมรูปแถบ ด้านล่างมีขนสีขาวหรือสีเงินคล้ายไหมหนาแน่น หูใบรูปใบหอก ช่อดอก แบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ดอกรูปดอกถั่ว สีนวลถึงสีส้มหรือสีชมพูถึงสีแดง ผลแบบผลแห้ง แตกสองแนว รูปขอบขนานหรือรูปแถบ กลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดรูปคล้ายไต มี ๓-๙ เมล็ด


     ดาบฤๅษีเป็นไม้ล้มลุกถึงไม้พุ่มกึ่งล้มลุกหลายปี สูงได้ถึง ๑ ม. มักมีเนื้อไม้บริเวณโคนต้น กิ่งอ่อนมีขน คล้ายไหมสีเงินหนาแน่น เมื่อแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง
     ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ เรียง เวียน ก้านใบมีตั้งแต่สั้นมากจนยาวได้ถึง ๕ มม. แกน กลางยาว ๑-๗.๕ ซม. ใบย่อยมี ๕-๑๓ ใบ เรียงตรงข้าม รูปใบหอกกลับแกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ แกมรูปแถบ กว้าง ๐.๘-๒.๕ ซม. ยาว ๑-๘.๕ ซม. ปลายมนกลม หรือตัดถึงเว้าบุ๋ม พบน้อยที่แหลม บางครั้งมี ติ่งแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสีขาวหรือสีเงินคล้ายไหม หนาแน่น เส้นกลางใบเป็นสันนูนทางด้านล่าง เส้นแขนง ใบละเอียด มีจำนวนมาก ก้านใบย่อยยาวประมาณ ๒ มม. มีขนคล้ายไหมหนาแน่น หูใบรูปใบหอก กว้างประมาณ ๐.๕ มม. ยาวประมาณ ๓ มม. ด้านนอกมีขนคล้ า ยไหม หนาแน่น ด้านในเกลี้ยง

 

 

 

 


     ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบหรือ ปลายกิ่ง ยาว ๔-๒๕ ซม. แกนช่อดอกมีขนหนาแน่น ใบประดับย่อยรูปใบหอกแกมรูปแถบ กว้างประมาณ ๐.๕ มม. ยาว ๒-๓ มม. ด้านนอกมีขนหนาแน่น ด้านในเกลี้ยง ก้านดอกยาว ๒-๕ มม. มีขนหนาแน่น ดอกรูปดอกถั่ว สีนวลถึงสีส้มหรือสีชมพูถึงสีแดง ยาว ๑-๑.๘ ซม. กลีบ เลี้ยงยาวประมาณ ๔ มม. โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความ ยาวทั้งหมด ด้านนอกมีขนหนาแน่น ด้านในเกลี้ยง ดอก กลีบกลางรูปโล่ถึงรูปไข่กลับ กว้างประมาณ ๑ ซม. ยาว ๑-๑.๘ ซม. ปลายเว้าตื้น โคนรูปลิ่ม ด้านนอกมีขนประปราย ด้านในเกลี้ยง ก้านกลีบยาวประมาณ ๒ มม. กลีบคู่ข้าง รูปไข่กลับแกมรูปช้อน ปลายมนกลม โคนรูปลิ่ม ก้านกลีบ ยาวประมาณ ๓ มม. เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน กลีบคู่ล่าง เชื่อมติดกันเป็นกาบลักษณะคล้ายเรือ ปลายโค้งขึ้น เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร แยกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกมี ๙ เกสร โคนก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็น แผ่นโคนหุ้มเกือบรอบรังไข่ ปลายแยกเป็น ๙ แฉก ยาว ประมาณ ๑.๓ ซม. อีก ๑ เกสรแยกเป็นอิสระ อับเรณูยาว ประมาณ ๑ มม. ติดที่ฐาน ก้านรังไข่สั้น รังไข่อยู่เหนือ วงกลีบ รูปแถบแกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๑ ซม. มี ๑ ช่อง มีออวุล ๓-๑๒ เม็ด ก้าน ยอดเกสรเพศเมียยาว ๗-๙ มม. บางครั้งปลายโค้งงอ ยอดเกสรเพศเมียเป็นปุ่มกลมขนาดเล็ก
     ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว รูปขอบขนานหรือ รูปแถบ กว้าง ๕-๗ มม. ยาว ๓.๕-๗ ซม. พบบ้างที่ยาว ได้ถึง ๘ ซม. ปลายเป็นติ่งเรียวแหลม กลีบเลี้ยงติดทน เปลือกผลแข็ง แตกแล้วบิดเป็นเกลียว ด้านนอกมีขนสั้น กระจายทั่วไป ด้านในเกลี้ยง เมล็ดรูปคล้ายไต กว้าง ประมาณ ๓ มม. ยาวประมาณ ๔ มม. เกลี้ยง มี ๓-๙ เมล็ด

 


     ดาบฤๅษีมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นตามที่โล่งในป่าเบญจพรรณ ป่าเบญจพรรณผสมป่าเต็งรัง ป่าเต็งรัง และเขาหินปูน ที่สูงจากระดับทะเล ๑๐๐-๑,๐๐๐ ม. ออกดอกเดือน กรกฎาคมถึงธันวาคม เป็นผลเดือนกรกฎาคมถึงมกราคม ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เมียนมา ลาว และเวียดนาม
     ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาบฤๅษี
ชื่อวิทยาศาสตร์
Tephrosia coccinea Wall.
ชื่อสกุล
Tephrosia
คำระบุชนิด
coccinea
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Wall.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Wall. ช่วงเวลาคือ (1786-1854)
ชื่ออื่น ๆ
ฤๅษีแสด (ทั่วไป)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นายพาโชค พูดจา
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.