ดาดนเรศวร

Begonia afromigrata J. J. de Wilde

ไม้ล้มลุกหลายปีและเป็นพืชอิงอาศัย ขึ้นเป็นกอเกาะอยู่บนต้นไม้ ลำต้นตั้งตรง เมื่ออ่อนมีขนรูปดาวสีสนิมหนา แน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่แกมรูปขอบขนาน แผ่นใบอวบน้ำ เมื่อแห้งบางคล้ายกระดาษ ดอกแยกเพศร่วม ต้นต่างช่อ ช่อดอกแบบช่อกระจุกด้านเดียว ออกตามซอกใบ ดอกสีชมพูอ่อน ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลาย เมล็ด รูปคล้ายกระสวย สีน้ำตาลแดง เมล็ดขนาดเล็ก รูปกระสวย มีจำนวนมาก


     ดาดนเรศวรเป็นไม้ล้มลุกหลายปีและเป็นพืช อิงอาศัย ขึ้นเป็นกอเกาะอยู่บนต้นไม้ ลำต้นสีน้ำตาล รูป ทรงกระบอก ตั้งตรง สูงได้ถึง ๙๐ ซม. เมื่ออ่อนมีขนรูป ดาวสีสนิมหนาแน่น
     ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง ๓-๑๒ ซม. ยาว ๑๑-๒๔ ซม. ปลายแหลม โคนรูปหัวใจ หรือตัด มักเบี้ยว ขอบเรียบ หยักมน หรือหยักซี่ฟัน แผ่นใบ ไม่สมมาตร อวบน้ำ เมื่อแห้งบางคล้ายกระดาษ ด้านบนมี ขนรูปดาวประปราย ด้านล่างมีขนรูปดาวสีสนิมหนาแน่น เส้นแขนงใบข้างละ ๕-๗ เส้น เห็นชัด เส้นใบย่อยแบบ ร่างแห เห็นไม่ค่อยชัด ใบอ่อนมีขนรูปดาวสีสนิมหนาแน่น ก้านใบเรียว ยาว ๐.๕-๑ ซม. หูใบรูปสามเหลี่ยมแคบถึง รูปไข่ กว้าง ๐.๕-๑.๒ ซม. ยาว ๓-๓.๕ ซม. ค่อนข้าง ติดทน

 


     ดอกแยกเพศร่วมต้นต่างช่อ ช่อดอกแบบช่อ กระจุกด้านเดียว ออกตามซอกใบ ช่อตั้ง ยาวได้ถึง ๑๕ ซม. ก้านช่อดอกมีขนรูปดาวหนาแน่น ใบประดับ ๑ คู่ มัก ร่วงง่าย สีเขียวอ่อนแกมสีน้ำตาล รูปไข่ กว้างได้ถึง ๔ มม. ยาวประมาณ ๑ ซม. มีขนรูปดาวหนาแน่น ก้านดอกยาว ประมาณ ๑ ซม. ดอกสีชมพูอ่อน ดอกเพศผู้บานก่อนดอก เพศเมีย ดอกเพศผู้มีกลีบรวม ๔ กลีบ เรียงเป็น ๒ วง กลีบวงนอก ๒ กลีบ รูปไข่กลับ กว้างประมาณ ๑.๒ ซม. ยาวประมาณ ๑.๕ ซม. ปลายมนกลม ด้านนอกมีขนรูป ดาวประปราย กลีบวงใน ๒ กลีบ รูปรีแกมรูปขอบขนานกว้าง ๒-๓ มม. ยาว ๐.๘-๑.๔ ซม. เกสรเพศผู้ ๑๑-๑๔ เกสร เชื่อมติดกันที่โคน ก้านชูอับเรณูสีแดง อับเรณูสี เหลือง รูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๒ มม. ดอกเพศเมียมี กลีบรวม ๓-๔ กลีบ กลีบวงนอก ๒ กลีบ รูปไข่กลับ กว้าง ประมาณ ๑ ซม. ยาวประมาณ ๑.๔ ซม. ด้านนอกมีขนรูป ดาวประปราย กลีบวงใน ๑-๒ กลีบ รูปไข่กลับแคบ กว้าง ประมาณ ๕ มม. ยาวประมาณ ๑ ซม. ด้านนอกเกลี้ยง รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มีขนรูปดาวหนาแน่น มี ๓ ช่อง แต่ละ ช่องมีออวุลขนาดเล็กจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมีย ตั้งตรง มี ๓ ก้าน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น ๒ แฉก รูป คล้ายตัววายและบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย

 

 

 

 

 


     ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปคล้าย กระสวย กว้าง ๔-๕ มม. ยาว ๒-๒.๕ ซม. สีน้ำตาลแดง มีขนรูปดาวสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ดขนาดเล็ก รูปกระสวย มีจำนวนมาก
     ดาดนเรศวรจัดเป็นพรรณไม้หายากของประเทศ ไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับทะเล ประมาณ ๙๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนมิถุนายนถึง ธันวาคม ในต่างประเทศพบที่ลาว.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาดนเรศวร
ชื่อวิทยาศาสตร์
Begonia afromigrata J. J. de Wilde
ชื่อสกุล
Begonia
คำระบุชนิด
afromigrata
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- J. J. de Wilde
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- J. J. de Wilde ช่วงเวลาคือ (1932-)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ผศ. ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.