ดอนญ่าแดง

Mussaenda erythrophylla Schumach. et Thonn.

ชื่ออื่น ๆ
คุณหญิงอรุณแดง, ดอนย่าแดง (กลาง)

ไม้พุ่ม กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมและมีขนสีน้ำตาลอมแดง มักออกเป็นคู่ตรงข้าม กิ่งแก่ค่อนข้างมน ใบเดี่ยว เรียงตรง ข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ หูใบระหว่างก้านใบคล้ายกาบเชื่อมโคนก้าน ปลายแยกเป็น ๒ แฉก เรียวแหลม ช่อดอก แบบช่อแยกแขนง ช่อย่อยแบบช่อกระจุก ออกที่ยอดหรือตามปลายกิ่ง ในแต่ละช่อย่อยมีเพียง ๑ ดอกที่มีแฉก กลีบเลี้ยง ๑ แฉกเปลี่ยนไปคล้ายกลีบขนาดใหญ่หรือคล้ายใบ รูปไข่ หรือรูปรีแกมรูปไข่ สีแดง มีเส้นกลีบเด่นชัด ดอกด้านนอกสีแดง ด้านในสีขาวหรือสีนวล ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปคล้ายทรงกระบอก ปลายผล มีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก


     ดอนญ่าแดงเป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง ๔ ม. กิ่งอ่อนเป็น เหลี่ยมและมีขนสีน้ำตาลอมแดง มักออกเป็นคู่ตรงข้าม กิ่งแก่ค่อนข้างมน
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ กว้าง ๖-๘ ซม. ยาว ๘-๑๓ ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนกลมหรือรูปหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น แผ่นใบ ค่อนข้างหนา ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่าและ มีนวล มีขนสีน้ำตาลอมแดงทั้ง ๒ ด้าน เส้นแขนงใบ ข้างละ ๘-๑๑ เส้น ปลายโค้งจดเส้นถัดไปใกล้ขอบใบ เห็นชัดทางด้านล่าง เส้นใบย่อยเห็นไม่ชัด ก้านใบยาว ๑- ๕ ซม. มีขนสีน้ำตาลอมแดง หูใบระหว่างก้านใบคล้ายกาบ เชื่อมโคนก้าน ยาว ๑-๑.๕ ซม. ปลายแยกเป็น ๒ แฉก เรียวแหลม
     ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อย่อยแบบช่อกระจุก มีขนสีแดง ออกที่ยอดหรือตามปลายกิ่ง ก้านช่อยาว ๓-๕ ซม. สีแดง ช่อย่อยมี ๓-๕ ดอก ใบประดับและใบประดับ ย่อยสีแดง เรียวคล้ายเส้นด้าย ร่วงง่าย ก้านดอกสั้น กลีบ เลี้ยงสีแดง มีขนสีแดง ในแต่ละช่อย่อยดอกส่วนมากมี กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายหลอดแยก เป็น ๕ แฉก รูปแถบ กว้าง ๑-๓ มม. ยาว ๑-๑.๘ ซม. มีเพียง ๑ ดอกที่มีแฉกกลีบเลี้ยงลักษณะเหมือนกัน ๔ แฉก และมีอีก ๑ แฉกที่เปลี่ยนไปคล้ายกลีบขนาดใหญ่หรือ คล้ายใบ รูปไข่ หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง ๓-๗.๕ ซม. ยาว ๕-๑๐ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนกลม ขอบเรียบ ด้านบนสีแดง ด้านล่างสีจางกว่า มีเส้นกลีบเด่นชัด มีขน มีก้านเรียว ยาว ๐.๕-๑.๕ ซม. กลีบดอกด้านนอกสีแดง มีขนสีแดง ด้านในสีขาวหรือสีนวล โคนเชื่อมติดกันเป็น หลอดแคบ ยาว ๒-๓.๕ ซม. หลอดกลีบดอกส่วนบนผาย กว้าง รอบปากหลอดกลีบดอกมีขนยาวสีเหลืองหรือสีแดง ปลายหลอดแยกเป็น ๕ แฉก รูปไข่ กว้าง ๓-๕ มม. ยาว ๔-๘ มม. ปลายแฉกแหลม ในดอกตูมขอบแฉกเรียงชิด พับจีบ เกสรเพศผู้ ๕ เกสร ติดที่คอหลอดกลีบดอก ก้าน ชูอับเรณูสั้นมาก อับเรณูรูปแถบ ยาว ๕-๖ มม. รังไข่อยู่ใต้ วงกลีบ มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้านยอด เกสรเพศเมียมี ๒ แบบ คือ แบบก้านเรียว ยาว ๑-๑.๕ ซม. และแบบก้านสั้นโผล่ไม่พ้นหลอดกลีบดอก ยอดเกสร เพศเมียแยกเป็น ๒ แฉก
     ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปคล้าย ทรงกระบอก ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก
     ดอนญ่าแดงเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่น กำเนิดในเขตร้อนชื้นของแอฟริกาตะวันตก นำเข้ามาปลูก ในประเทศไทยเป็นไม้ประดับได้ทั่วทุกภาค ออกดอกเกือบ ตลอดปี ในต่างประเทศพบปลูกทั่วไปในเขตร้อนชื้น.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดอนญ่าแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Mussaenda erythrophylla Schumach. et Thonn.
ชื่อสกุล
Mussaenda
คำระบุชนิด
erythrophylla
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Schumach.
- Thonn.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Schumach. ช่วงเวลาคือ (1757-1830)
- Thonn. ช่วงเวลาคือ (1775-1848)
ชื่ออื่น ๆ
คุณหญิงอรุณแดง, ดอนย่าแดง (กลาง)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางจารีย์ บันสิทธิ์
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.