ดอกได

Pseuderanthemum parishii (T. Anderson) Lindau

ไม้ล้มลุก ลำต้นค่อนข้างตรง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปใบหอก รูปไข่ หรือรูปรี ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด มีขนต่อมทั่วไป ดอกสีขาว สีม่วง หรือสีชมพู ผลแบบผลแห้งแตก รูปกระบอง โคนคอดเป็นก้าน คอดระหว่างเมล็ด เมล็ดทรงรูปไข่ แบน ผิวมีสันและร่องเป็นแนวยาวคล้ายลูกฟูก มี ๒-๔ เมล็ด


     ดอกไดเป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง ๑ ม. ลำต้นค่อน ข้างตรง
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปใบหอก รูป ไข่ หรือรูปรี กว้าง ๑.๕-๓.๕ ซม. ยาว ๖-๑๒ ซม. ปลายเรียว แหลม โคนสอบเรียว ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง มีผลึกหินปูนกระจายทั่วไป เส้นแขนงใบข้างละ ๙-๑๐ เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแห เส้นกลางใบ เส้นแขนง ใบ และเส้นใบย่อยเห็นชัดเจนทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบสั้น
     ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด ยาว ๕-๑๒.๕ ซม. ช่อค่อนข้างตั้ง มีขนต่อมทั่วไป ก้านดอกสั้น ยาว ๒-๓ มม. ใบประดับรูปใบหอกแคบ ยาว ๒-๓ มม. ใบประดับย่อยแคบ ดอกออกตรงข้าม ดอกสีขาว สีม่วง หรือสีชมพู กลีบเลี้ยงยาว ๕-๖ มม. โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปใบหอกแคบ ขนาดเท่ากัน มี ขนสั้นนุ่มประปราย กลีบดอกยาว ๓-๔ ซม. โคนเชื่อมติด กันเป็นหลอดเรียวเล็ก ปากหลอดผายออกเล็กน้อย ปลาย แยกเป็น ๕ แฉก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๑.๒ ซม. ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้ ๔ เกสร ติดที่คอหลอดกลีบ ดอก เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ ๒ เกสร ก้านชูอับเรณูสั้น อับ เรณูมี ๒ พู ขนานกัน มีขนาดเท่ากัน แตกตามยาว เกสร เพศผู้เป็นหมัน ๒ เกสร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ เกลี้ยงหรือ เกือบเกลี้ยง มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๒ เม็ด ก้านยอด เกสรเพศเมียคล้ายเส้นด้าย ยอดเกสรเพศเมียเป็น ๒ แฉก
     ผลแบบผลแห้งแตก รูปกระบอง โคนคอดเป็น ก้าน ยาวประมาณ ๑ ซม. คอดระหว่างเมล็ด เมล็ดทรง รูปไข่ แบน ผิวมีสันและร่องเป็นแนวยาวคล้ายลูกฟูก มี ๒-๔ เมล็ด มีก้านเมล็ดชัด
     ดอกไดมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบตามที่ร่มในป่าเบญจพรรณ ตามพื้นทราย ที่สูงจากระดับทะเล ๓๐๐-๑,๐๐๐ ม. ออก ดอกและเป็นผลเดือนตุลาคมถึงมกราคม ในต่างประเทศ พบที่เมียนมาและเวียดนาม.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดอกได
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pseuderanthemum parishii (T. Anderson) Lindau
ชื่อสกุล
Pseuderanthemum
คำระบุชนิด
parishii
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (T. Anderson)
- Lindau
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (T. Anderson) ช่วงเวลาคือ (1832-1870)
- Lindau ช่วงเวลาคือ (1866-1923)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.