ดอกหรีดเชียงดาว

Gentiana leptoclada Balf. f. et Forrest subsp. australis (Craib) Toyok.

ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหลี่ยม เกลี้ยง ตั้งตรงหรือทอดนอน แตกกิ่งไม่สมมาตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ถึงรูป ไข่กว้าง ดอกเดี่ยว ออกที่ปลายยอดหรือปลายกิ่ง ดอกสีม่วงอมฟ้า กลีบดอกส่วนที่พับจีบปลายเป็นชายครุย ผลแบบผลแห้งแตก รูปขอบขนาน เมล็ดขนาดเล็ก สีน้ำตาล รูปสามเหลี่ยม มีจำนวนมากและมีปีกแคบ


     ดอกหรีดเชียงดาวเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหลี่ยม เกลี้ยง ตั้งตรงหรือทอดนอน แตกกิ่งไม่สมมาตร ยาว มากกว่า ๓๐ ซม.
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง กว้าง ประมาณ ๑ ซม. ยาวประมาณ ๑.๓ ซม. ปลายแหลม โคน ตัดและมักหุ้มรอบข้อในใบที่อยู่ตอนปลายยอด ขอบใบ โค้งลงและหยักซี่ฟันถี่ ใบตามกิ่งแขนงมักมีขนาดเล็กกว่า ใบตามลำต้นมาก มีเส้นกลางใบเพียงเส้นเดียว เส้นแขนง ใบเห็นไม่ชัด
     ดอกเดี่ยว ออกที่ปลายยอดหรือปลายกิ่ง ยาวประมาณ ๓ ซม. กลีบเลี้ยงเป็นเยื่อบาง โคนเชื่อมติดกัน ยาว ๔-๗ มม. มีครีบแคบเป็นชายครุย ๕ ครีบตลอด ความยาว ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แต่ละแฉกรูปรีแกม รูปใบหอก ขนาดเท่ากัน ยาว ๒-๕ มม. ปลายแฉกเรียว แหลมคล้ายเข็ม กลีบดอกสีม่วงอมฟ้า โคนเชื่อมติดกัน เป็นหลอด ยาว ๑-๒.๕ ซม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แต่ละแฉกรูปสามเหลี่ยม ยาว ๔-๕ มม. ปลายเรียวแหลม กลีบดอกส่วนที่พับจีบปลายเป็นชายครุย เกสรเพศผู้ ๕ เกสรขนาดเท่ากัน เรียงสลับกับแฉกกลีบดอก ก้าน ชูอับเรณูยาว ๕-๗.๕ มม. อับเรณูยาว ๑-๒ มม. มีก้าน รังไข่ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมียรูปแถบ ยาวประมาณ ๗ มม. ยอด เกสรเพศเมียแยกเป็น ๒ แฉก รูปแถบ
     ผลแบบผลแห้งแตก รูปขอบขนาน ยาว ๑.๕- ๒ ซม. ไม่มีครีบ มีก้านยาวประมาณ ๘ มม. เมล็ดขนาด เล็ก สีน้ำตาล รูปสามเหลี่ยม มีจำนวนมากและมีปีกแคบ
     ดอกหรีดเชียงดาวเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือ พบตามซอกหินปูน และทุ่งหญ้าบริเวณสันเขาที่เปิดโล่ง ที่สูงจากระดับทะเล ๑,๖๕๐-๒,๒๒๕ ม. ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ เป็นผลเดือนธันวาคมถึงมีนาคม.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดอกหรีดเชียงดาว
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gentiana leptoclada Balf. f. et Forrest subsp. australis (Craib) Toyok.
ชื่อสกุล
Gentiana
คำระบุชนิด
leptoclada
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Balf. f. et Forrest
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
subsp. australis
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- (Craib)
- Toyok.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Balf. f. ช่วงเวลาคือ (1853-1922)
- Forrest ช่วงเวลาคือ (1873-1932)
- Craib ช่วงเวลาคือ (1882-1933)
- Toyok ช่วงเวลาคือ (1932-)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ปิยเกษตร สุขสถาน
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.