ดอกกระดิ่ง

Didymocarpus aureoglandulosus C. B. Clarke

ไม้ล้มลุกหลายปีและเป็นพืชอิงอาศัย พบบ้างที่เจริญตามหิน อวบน้ำ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ หรือรูปรีถึงรูปขอบขนาน ช่อดอกแบบช่อกระจุกซ้อน ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีขาวอมชมพู ผลแบบ ผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกแคบ มีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก


     ดอกกระดิ่งเป็นไม้ล้มลุกหลายปีและเป็นพืช อิงอาศัย พบบ้างที่เจริญตามหิน ลำต้นสูงได้ถึง ๓๓ ซม. อวบน้ำ สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวอมชมพูม่วง มีเหง้าตั้งตรง ยาว ๑-๒ ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๗ มม. ทำหน้าที่ สะสมอาหาร มีขนยาวคล้ายไหมสีค่อนข้างเหลืองหนา แน่น ขนต่อมแบบก้นปิด และขนต่อมหลายเซลล์สีน้ำตาล อมแดง
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก มี ๒-๕ คู่ รูปไข่ หรือรูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง ๔-๑๔ ซม. ยาว ๙-๒๓ ซม. ปลายจักแหลม โคนรูปลิ่ม ตัด หรือรูปหัวใจ บางครั้งเบี้ยว ขอบจักฟันเลื่อยซ้อนตื้น แผ่นใบค่อนข้างเปราะและฉ่ำน้ำ เมื่อแห้งค่อนข้างบางคล้ายกระดาษ เส้นแขนงใบข้างละ ๖-๘ เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแห ด้านบนสีเขียวเข้ม มีขน ยาวคล้ายไหมสีเงินอมเทาและขนหลายเซลล์ ด้านล่างมี ขนยาวคล้ายไหมและขนหลายเซลล์ค่อนข้างสาก โดย เฉพาะตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบ ส่วนที่เหลือมีขน เซลล์เดียวสั้น ๆ สีน้ำตาลอมแดงและขนแบบก้นปิดค่อนข้าง หนาแน่น ก้านใบรูปทรงกระบอก ยาว ๑.๓-๒ ซม. มีขน ยาวคล้ายไหมและขนต่อมสีน้ำตาลแดงเหมือนแผ่นใบ ค่อนข้างหนาแน่น
     ช่อดอกแบบช่อกระจุกซ้อน ออกตามซอกใบใกล้ ปลายกิ่ง ก้านช่อยาว ๑๐-๑๖ ซม. มักตั้งขึ้น ก้านดอกยาว ๐.๕-๑.๘ ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ มม. สีเขียว ถึงสีน้ำตาลอ่อน ก้านมีขนต่อมหลายเซลล์หนาแน่น ใบประดับรูปใบหอกแคบ กว้าง ๑-๑.๕ มม. ยาว ๓-๕ มม. ปลายแหลม สีเขียวอ่อน มีขนต่อมหลายเซลล์ค่อนข้าง หนาแน่น ดอกยาวประมาณ ๓ ซม. ห้อยลง กลีบเลี้ยง ค่อนข้างบาง โคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย มีขนต่อมหลาย เซลล์ห่าง ๆ สีขาวอมเขียวอ่อน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปใบหอกแกมรูปรีแคบ กว้างประมาณ ๒ มม. ยาว ๐.๙- ๑.๒ ซม. ปลายแหลม ขอบเรียบ คุ่มโค้งลงด้านข้าง ครึ่ง ล่างสีเขียวอ่อนอมขาว ครึ่งบนสีเขียวเข้มกว่า ทุกส่วนมีขน ต่อมสั้นมากค่อนข้างหนาแน่น กลีบดอกสีขาวอมชมพู โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปคล้ายแตร ยาวประมาณ ๒.๕ ซม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก มี ๒ ซีก ซีกบน ๒ แฉก รูปขอบขนาน กว้างประมาณ ๓ มม. ยาวประมาณ ๖ มม. ซีกล่าง ๓ แฉก แฉกข้าง ๒ แฉกรูปคล้ายสามเหลี่ยม เบี้ยว กว้างและยาวประมาณ ๖ มม. ปลายมน แฉกกลาง รูปลิ้นหรือรูปไข่ กว้างและยาวประมาณ ๖.๕ มม. เกสร เพศผู้ ๕ เกสร ที่สมบูรณ์ ๒ เกสร ติดอยู่ในหลอดกลีบดอก ประมาณกลางหลอด ก้านชูอับเรณูรูปแถบแคบหรือคล้าย เส้นด้าย ยาว ๓-๕ มม. โคนเกลี้ยง ปลายมีขนห่าง อับเรณู สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน รูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๒ มม. ปลายค่อนข้างแหลม รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ทรงรูปไข่ กว้าง กว้าง ๕-๖ มม. ยาวประมาณ ๖ มม. สีขาว โคน สีเขียวอ่อน มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้าน ยอดเกสรเพศเมียรูปทรงกระบอกแคบค่อนข้างสั้น เกลี้ยง สีขาว ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม สีขาวหรือสีแดง
     ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกแคบ ยาว ประมาณ ๒ ซม. สีเขียวอ่อน เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เข้ม มีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก

 

 


     ดอกกระดิ่งเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย มีเขต การกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือ พบตามป่าดิบเขาที่มี ความชื้นสูงและมีแสงส่องถึง ที่สูงจากระดับทะเล ๑,๒๐๐- ๑,๙๐๐ ม. ดอกบานช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน เป็นผลเดือนกันยายนถึงธันวาคม.

 

 

 

 

 

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดอกกระดิ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Didymocarpus aureoglandulosus C. B. Clarke
ชื่อสกุล
Didymocarpus
คำระบุชนิด
aureoglandulosus
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- C. B. Clarke
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- C. B. Clarke ช่วงเวลาคือ (1832-1906)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.