ชะมด

Hibiscus surattensis L.

ชื่ออื่น ๆ
กระทงหมาบ้า (ประจวบคีรีขันธ์); เก็งเค็งป่า, พายป่า (เหนือ); มะดาดดอย (ไทยใหญ่); ส้มกบ (ราชบุรี, กาญจ
ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ลำต้น ก้านใบ และก้านดอกมีหนามโค้งลงและมีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ สีเหลือง กลางดอกสีแดงคล้ำ ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกลมหรือทรงรูปไข่ เมล็ดรูปไต สีน้ำตาลดำ

ชะมดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ยาวได้ถึง ๒ ม. มีรากตามข้อ ลำต้น ก้านใบ และก้านดอกมีหนามโค้งลงและมีขน

 ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปฝ่ามือ กว้างยาว ๔-๑๐ ซม. ขอบหยักเว้าเป็นแฉกแบบนิ้วมือ ๓-๕ แฉก แต่ละแฉกรูปใบหอกแกมรูปแถบ ปลายแหลม โคนใบตัดหรือเป็นรูปหัวใจ ขอบหยักซี่ฟันหรือจักฟันเลื่อยเส้นโคนใบ ๕-๗ เส้น มีขนรูปดาวและขนธรรมดา


ขึ้นปะปนกันทั้ง ๒ ด้าน เส้นใบด้านล่างมีหนาม ก้านใบยาว ๓-๙ ซม. หูใบรูปไข่ ยาว ๐.๕-๑.๕ ซม. โคนรูปติ่งหู ขอบมีขนครุย

 ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ก้านดอกยาว ๔-๙ ซม. มักมีข้อต่อเป็นข้องอใกล้ปลายก้าน เหนือข้องอมีขนแข็งโค้งลง วงริ้วประดับแยกเป็นแฉกรูปช้อน ๑๐ แฉก กางออก มีรยางค์รูปแถบตั้งอยู่ใกล้ปลายแฉกยาว ๐.๗-๑.๓ ซม. มีขน กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง แข็ง ปลายแยกเป็นแฉกแหลม ๕ แฉก ด้านนอกมีหนาม ด้านในมีขนอุย กลีบดอก ๕ กลีบ รูปไข่กลับ สีเหลือง กลางดอกสีแดงคล้ำ กว้าง ๒.๕-๓.๕ ซม. ยาว ๓-๕ ซม. ปลายมน เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นเส้าเกสรรูปหลอด หุ้มเกสรเพศเมีย ก้านชูอับเรณูส่วนที่แยกเป็นอิสระสั้น อยู่โดยรอบตลอดความยาวของเส้าเกสร อับเรณูรูปรีกว้างหรือเกือบกลม ขนาดเล็กรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๕ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมียเรียวยาว โผล่พ้นปากหลอดเกสรเพศผู้ ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มเล็ก

 ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกลมหรือทรงรูปไข่เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๓-๑.๗ ซม. มีจะงอยสั้นๆ ที่ปลายมีขนแข็ง เมล็ดรูปไต สีน้ำตาลดำ มีขนเป็นกระจุกบาง ๆ

 ชะมดมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค ขึ้นตามป่าละเมาะ ป่าไผ่ ป่าเบญจพรรณ


และตามที่รกร้าง บนพื้นที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึงประมาณ ๑,๒๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเกือบตลอดปี ดอกบานเฉพาะช่วงเช้า ในต่างประเทศพบในเอเชียเขตร้อน

 ประโยชน์ ใบมีรสเปรี้ยวใช้เป็นผัก และใช้เป็นยาเช่นเดียวกับราก.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ชะมด
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hibiscus surattensis L.
ชื่อสกุล
Hibiscus
คำระบุชนิด
surattensis
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Linnaeus, Carl
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1707-1778)
ชื่ออื่น ๆ
กระทงหมาบ้า (ประจวบคีรีขันธ์); เก็งเค็งป่า, พายป่า (เหนือ); มะดาดดอย (ไทยใหญ่); ส้มกบ (ราชบุรี, กาญจ
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางลีนา ผู้พัฒนพงศ์