ชะงดเขา

Aglaonema nitidum (Jack) Kunth

ชื่ออื่น ๆ
บองทิ้ง (ตราด); บอนลิ้นทิง (ตรัง); รัศมีเงิน, ริ้วเงิน (ทั่วไป); หัดดง (กระบี่); หัวกลัก (ตรัง); โหร
ไม้ล้มลุกหลายปี ใบเดี่ยว เรียงเวียนที่ปลายลำต้น รูปรีแคบ รูปขอบขนานแคบ หรือรูปใบหอกกลับดอกแยกเพศร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ ออกตามซอกกาบใบใกล้ยอด กาบหุ้มช่อดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อเป็นผล ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงรี สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีชมพู สีส้ม และสีแดง มี ๑ เมล็ด


 ชะงดเขาเป็นไม้ล้มลุกหลายปี สูงได้ถึง ๑.๕ ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๕-๕ ซม. ลำต้นตั้งหรือช่วงโคนทอดชูยอด

 ใบเดี่ยว มีหลายใบถึงจำนวนมาก เรียงเวียนที่ปลายลำต้น รูปรีแคบ รูปขอบขนานแคบ หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง ๘-๒๐ ซม. ยาว ๒๐-๕๐ ซม. ปลายเรียวแหลมหรือแหลม โคนรูปลิ่มหรือสอบเรียวขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน สีเขียว บางครั้งมีลายตามแนวเส้นแขนงใบหรือเป็นแต้มสีเขียวอ่อนหรือสีเงินกระจายทั่วแผ่นใบ เส้นกลางใบนูนทางด้านล่าง เส้นแขนงใบเรียงขนานกันก้านใบยาว ๑๑-๒๖ ซม. พบน้อยที่ยาวน้อยกว่าหรือมากกว่า เป็นร่องลึกตามยาว เป็นกาบยาวถึงปลายก้านใบ ขอบบางและแห้ง

 ดอกแยกเพศร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ ออกตามซอกกาบใบใกล้ยอด มี ๒-๕ ช่อ กาบหุ้มช่อดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อเป็นผล ติดทน เหี่ยวคาต้น รูปขอบขนาน ยาว ๓-๘.๕ ซม. เป็นครีบขนาด ๐.๔-๒ ซม. ก้านช่อดอกยาว ๕-๒๑ ซม. ยาวเท่ากับหรือมากกว่าก้านใบที่รองรับช่อดอก ส่วนที่เป็นช่อเชิงลดรูปทรงกระบอก ยาว ๑.๓-๗ ซม. ยาวเท่ากับหรือมากกว่ากาบหุ้มช่อดอกมีก้านยาว ๐.๒-๑ ซม. ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อผล ต้นและใบ ช่วงบนเป็นดอกเพศผู้ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ ซม. ยาว ๑-๖ ซม. มีดอกสีขาวจำนวนมาก เรียงเวียนแน่นรอบแกนช่อดอก ช่วงล่างเป็นดอกเพศเมียยาว ๐.๕-๑ ซม. พบน้อยที่ยาวน้อยกว่า มี ๑๖-๓๗ ดอก ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ ๒-๔ เกสร แยกกันก้านชูอับเรณูแยกกัน แกนอับเรณูหนา พูอับเรณูรูปไข่กลับ สั้น ดอกเพศเมียมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบรูปทรงค่อนข้างกลม มี ๑ ช่อง ออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรเพศเมียสีเหลืองอ่อนรูปคล้ายจาน ตรงกลางเว้า

 ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงรีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ ซม. ยาวประมาณ ๒ ซม. สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีชมพู สีส้มและสีแดง มี ๑ เมล็ด

 ชะงดเขามีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคตะวันตกเฉียงใต้และภาคใต้ ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึงประมาณ ๑,๐๐๐ ม. พบตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ริมลำธารในป่าดิบเขา และป่าพรุ ออกดอกและเป็นผลเกือบตลอดปี ในต่างประเทศพบที่คาบสมุทรมาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะบอร์เนียว

 ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ชะงดเขา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Aglaonema nitidum (Jack) Kunth
ชื่อสกุล
Aglaonema
คำระบุชนิด
nitidum
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Jack, William
- Kunth, Karl(Carl) Sigismund
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Jack, William (1795-1822)
- Kunth, Karl(Carl) Sigismund (1788-1850)
ชื่ออื่น ๆ
บองทิ้ง (ตราด); บอนลิ้นทิง (ตรัง); รัศมีเงิน, ริ้วเงิน (ทั่วไป); หัดดง (กระบี่); หัวกลัก (ตรัง); โหร
ผู้เขียนคำอธิบาย
ผศ. ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย