ก้านทอง

Swintonia schwenckii (Teijsm. & Binn.) Teijsm. & Binn.

ชื่ออื่น ๆ
ก้านตอง (สตูล); กายูมือเบ็ง, กายูมือแยง (มลายู-ใต้); ขันทอง (กระบี่); เปรียง (ปัตตานี)
ไม้ต้น มีพอนสูง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ใบเรียงเวียนรูปรีแคบ มีต่อมหนาแน่นมองเห็นไม่ชัด ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบและปลายยอด ดอกสีขาว ก้านดอกสั้น ผลรูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือรูปรี มีปีกรูปขอบขนานแคบ

ก้านทองเป็นไม้ต้น สูง ๓๐-๔๐ ม. มีพอนสูงประมาณ ๓ ม. กว้างประมาณ ๕ ม. หนาประมาณ ๑๕ ซม. เปลือกสีน้ำตาลปนเทา เรียบหรือเป็นร่องลึก

 ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง รูปรีแคบ กว้าง ๓-๔.๕ ซม. ยาว ๗-๑๒ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือสอบ ขอบเรียบแผ่นใบบางหรือค่อนข้างหนา มีต่อมหนาแน่นมองเห็นไม่ชัดเส้นแขนงใบข้างละ ๑๔-๒๑ เส้น เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแหบางครั้งพบเป็นเส้นขั้นบันไดแต่เห็นไม่ค่อยชัด ก้านใบยาว ๓.๕-๖ ซม.

 ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบและปลายยอด ยาว ๘-๑๔ ซม. มีขนประปรายแต่จะเกลี้ยงในเวลาต่อมาดอกสีขาว ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่กลับ ยาวประมาณ ๗ มม. กลีบดอก ๕ กลีบ รูปรีหรือรูปใบหอกแกมรี กว้างประมาณ ๑ มม. ยาว ๒-๓ มม. โคนสอบ มีขนหนาแน่นทั้งด้านนอกและด้านในเกสรเพศผู้ ๕ อัน ยาวประมาณ ๑ มม. อยู่บนจานฐานดอกอับเรณูเล็กมาก รูปขอบขนาน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ค่อนข้างกลม มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ ๑ มม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มกลม

 ผลรูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือรูปรี กว้างประมาณ ๑ ซม. ยาว ๑.๗-๒ ซม. มีปีกรูปขอบขนานแคบ กว้างประมาณ ๑ ซม. ยาว ๕.๕-๗ ซม.

 ก้านทองมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคใต้ขึ้นตามป่าดิบชื้น บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ ๗๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่พม่า กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ก้านทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Swintonia schwenckii (Teijsm. & Binn.) Teijsm. & Binn.
ชื่อสกุล
Swintonia
คำระบุชนิด
schwenckii
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Teijsmann, Johannes Elias
- Binnendijk, Simon
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Teijsmann, Johannes Elias (1809-1882)
- Binnendijk, Simon (1821-1883)
ชื่ออื่น ๆ
ก้านตอง (สตูล); กายูมือเบ็ง, กายูมือแยง (มลายู-ใต้); ขันทอง (กระบี่); เปรียง (ปัตตานี)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต