การเวก

Artabotrys siamensis Miq.

ชื่ออื่น ๆ
กระดังงัว, กระดังงาเถา, กระดังงาป่า, นมวัว, หนามควายนอน
-

การเวกเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลักษณะต้น ใบ ดอก และผลคล้ายกระดังงาจีนมาก ต่างกันที่การเวกมีขนทั่วไปตามกิ่ง ก้าน และใบ ใบและดอกเล็กกว่า ใบกว้าง ๓-๖ ซม. ยาว ๖-๑๘ ซม.

 ดอกเดี่ยว ออกบนส่วนโค้งหรือปลายสุดของก้านช่อที่งอเป็นขอ กลิ่นหอม กลีบดอกมีขนมากกว่าและเนื้อกลีบแข็งกว่าดอกกระดังงาจีน

 การเวกมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือและภาคกลาง พบในป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบ ออกดอกตลอดปี ในต่างประเทศพบที่พม่าและอินโดนีเซีย

 นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์โดยการตอนและเพาะเมล็ด ปัจจุบันคนทั่วไปนิยมเรียกต้นกระดังงาจีนว่า การเวก ด้วยเนื่องจากต้นไม้ทั้ง ๒ ต้นนี้มีลักษณะทั่วไปคล้ายกันมาก.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
การเวก
ชื่อวิทยาศาสตร์
Artabotrys siamensis Miq.
ชื่อสกุล
Artabotrys
คำระบุชนิด
siamensis
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Miquel, Friedrich Anton Wilhelm
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1811-1871)
ชื่ออื่น ๆ
กระดังงัว, กระดังงาเถา, กระดังงาป่า, นมวัว, หนามควายนอน
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางจารีย์ บันสิทธิ์