กากหมากตาฤาษี

Balanophora fungosa J.R. & G.Forst. subsp. indica (Arn.) B.Hansen var. indica

ชื่ออื่น ๆ
กกหมากพาสี (เหนือ), ขนุนดิน (กลาง), ดอกกฤษณารากไม้ (ประจวบคีรีขันธ์), บัวผุด (ชุมพร), ว่านดอกดิน (สร
พืชเบียนล้มลุก ลักษณะคล้ายกากหมาก ต่างกันที่กากหมากตาฤาษีมีใบลดรูปเรียงเวียน ดอกเพศผู้เรียงชิดกัน และช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลมหรือรูปไข่กลับ สีชมพูคล้ำถึงสีม่วงคล้ำ

กากหมากตาฤาษีเป็นพืชสกุลเดียวกับกากหมาก มีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกัน ต่างกันที่กากหมากตาฤาษีมักมีกาบสีชมพูคล้ำจนถึงม่วงคล้ำ ใบเรียงเวียน จำนวน ๑๐-๒๐ ใบ กว้างมากที่สุดประมาณ ๒ ซม. ยาวประมาณ ๓ ซม.



ช่อดอกเพศผู้รูปถึงยาวรี ดอกเรียงชิดกัน ไม่เบี้ยว กลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลมหรือรูปไข่กลับรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

 กากหมากตาฤาษีมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค ขึ้นในป่าดิบ บนเขาสูง มักเกาะเบียนพืชในวงศ์ Leguminosae และพืชในวงศ์ Vitaceace (Vitidaceae) ออกดอกระหว่างเดือนกันยายนถึงกุมภาพันธ์ พบออกดอกนอกฤดูกาลบ้าง แต่ไม่บ่อยนัก ในต่างประเทศพบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กากหมากตาฤาษี
ชื่อวิทยาศาสตร์
Balanophora fungosa J.R. & G.Forst. subsp. indica (Arn.) B.Hansen var. indica
ชื่อสกุล
Balanophora
คำระบุชนิด
fungosa
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Forster, Johann Georg Adam
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
subsp. indica
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- (Arn.) B.Hansen
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Forster, Johann Georg Adam (1754-1794)
ชื่ออื่น ๆ
กกหมากพาสี (เหนือ), ขนุนดิน (กลาง), ดอกกฤษณารากไม้ (ประจวบคีรีขันธ์), บัวผุด (ชุมพร), ว่านดอกดิน (สร
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ชวลิต นิยมธรรม