กะพอมมะพร้าว

Vernonia arborea Buch.-Ham. var. arborea

ชื่ออื่น ๆ
กะพวม, งวงช้าง (ใต้); ขี้อ้น (ยะลา); จวง, อ้ายเหนียวหมา (นครศรีธรรมราช); ตอนเลาะ (กระบี่); นวดแป้ง (
ไม้ต้น ผลัดใบ กิ่งอ่อนมีขนสีเหลือง ใบด้านล่างมีขน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่นหลายช่อมีใบประดับตามโคนช่อย่อย ดอกเป็นหลอดสีขาวหรือม่วงผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน มีสันตามยาว ๑๐ สัน

กะพวงมะพร้าวเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง ๗-๑๕ ม. เปลือกสีขาว กิ่งอ่อนมีขนสีเหลือง

 ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรี กว้าง ๕-๗.๕ ซม. ยาว ๑๐-๑๕ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบรูปลิ่ม ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนหรือมีขนตามเส้นใบ เส้นแขนงใบข้างละ ๘-๑๓ เส้น ก้านใบยาว ๑-๒ ซม.

 ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่น มีหลายช่ออยู่รวมกัน แต่ละช่อมีวงใบประดับ ๕-๖ ชั้น รูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีขนที่ปลาย กว้าง ๔-๖ มม. ยาวประมาณ ๕ มม. มี ๕-๖ ดอก กลีบเลี้ยงลดรูปเป็นเส้นยาว ๕-๗ มม. ที่ปลายเส้นมีขนยาวประมาณ ๑ มม. ๒-๓ เส้น กลีบดอกสีขาวหรือม่วง โคนติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ ๕ มม. ปลายจัก ๕ จัก เกสรเพศผู้ ๕ อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด

 ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน ยาว ๓-๔ มม. มีสันตามยาว ๑๐ สัน เกลี้ยงหรือมีขนห่าง ๆ ปลายมีขน

 กะพวงมะพร้าวมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือและภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่เทือกเขาหิมาลัยตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา และภูมิภาคมาเลเซีย

 ในมาเลเซียใช้ยาชงจากต้นเป็นยาช่วยย่อย อินโดนีเซียใช้เปลือกเคี้ยวบำบัดโรคริดสีดวงทวารหนักในระยะแรกเริ่ม.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กะพอมมะพร้าว
ชื่อวิทยาศาสตร์
Vernonia arborea Buch.-Ham. var. arborea
ชื่อสกุล
Vernonia
คำระบุชนิด
arborea
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Buchanan-Hamilton, Francis
- Buchanan-Hamilton, Francis
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
var. arborea
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- -
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Buchanan-Hamilton, Francis (1762-1829)
- Buchanan-Hamilton, Francis (1762-1829)
ชื่ออื่น ๆ
กะพวม, งวงช้าง (ใต้); ขี้อ้น (ยะลา); จวง, อ้ายเหนียวหมา (นครศรีธรรมราช); ตอนเลาะ (กระบี่); นวดแป้ง (
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางสาวอำไพ ยงบุญเกิด