กระพี้นางนวล

Dalbergia cana Graham ex Kurz

ชื่ออื่น ๆ
กระพี้จั่น, กระพี้เหลือง (พิษณุโลก); กระพี้พูน (อุตรดิตถ์); กระพี้เหลือบ (เพชรบูรณ์); กระลิงปิงป่า (
ไม้ต้น ผลัดใบ กิ่งอ่อน ผิวใบด้านล่างและก้านช่อมีขนใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อยรูปรี หรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ดอกรูปดอกถั่วสีชมพูอมม่วง ฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักแก่ไม่แตก

กระพี้นางนวลเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง ๑๐-๒๐ ม. กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง

 ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ยาว ๑๔-๑๘ ซม. ก้านใบประกอบยาว ๔-๕ ซม. หูใบรูปใบหอก ร่วงง่าย มีใบย่อย ๑๓-๑๗ ใบ เรียงสลับ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๑.๓-๒.๕ ซม. ยาว ๓-๘ ซม. ปลายมนหรือมีติ่งสั้น ๆ โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ มีขนสั้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงด้านล่างมีขนตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบ

 ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว ๑๐-๑๕ ซม. มีขนประปราย ดอกรูปดอกถั่ว สีชมพูอมม่วง มีจำนวนมาก ก้านดอกยาวประมาณ ๓ มม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ ติดกันคล้ายรูประฆัง ยาวประมาณ ๔ มม. กลีบดอก ๕ กลีบ กลีบกลาง กว้างประมาณ ๓ มม. ยาวประมาณ ๗ มม. เกสรเพศผู้ ๑๐ อัน ก้านชูอับเรณูแยกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มละ ๕ อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขนประปราย มี ๑ ช่อง มีออวุล ๒ เม็ด

 ฝักแบน รูปขอบขนานแกมรี กว้าง ๒-๒.๕ ซม. ยาว ๗-๘ ซม. ปลายแหลมหรือมน มีลายร่างแหชัดเจน มีขนประปราย ก้านฝักยาวประมาณ ๕ มม. ฝักแก่ไม่แตก มี ๑-๒ เมล็ด สีน้ำตาลแดงคล้ำ รูปไต แบน กว้างประมาณ ๑.๑ ซม. ยาวประมาณ ๘ มม.

 กระพี้นางนวลมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นในป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะ ตามเชิงเขาจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๕๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่ลาว.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กระพี้นางนวล
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dalbergia cana Graham ex Kurz
ชื่อสกุล
Dalbergia
คำระบุชนิด
cana
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Graham, Robert C.
- Kurz, Wilhelm Sulpiz
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Graham, Robert C. (1786-1845)
- Kurz, Wilhelm Sulpiz (1834-1878)
ชื่ออื่น ๆ
กระพี้จั่น, กระพี้เหลือง (พิษณุโลก); กระพี้พูน (อุตรดิตถ์); กระพี้เหลือบ (เพชรบูรณ์); กระลิงปิงป่า (
ผู้เขียนคำอธิบาย
ศ. ดร.ธวัชชัย สันติสุข