กระดูกอึ่ง

Dendrolobium lanceolatum (Dunn) Schindl.

ชื่ออื่น ๆ
กระดูกเขียด (นครพนม); กระดูกอึ่งใหญ่ (นครราชสีมา); แกลบหนู, แกลบหูหนู, แปลงหูหนู (ปราจีนบุรี); ยิ่งใ
คล้ายกระดูกอึ่งชนิดแรก แต่ฝักรูปรี แบน ไม่เป็นข้อ

กระดูกอึ่งชนิดนี้เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๓ ม. แตกกิ่งมาก กิ่งค่อนข้างกลม มีขนสั้นสีน้ำตาลประปรายถึงหนาแน่น

 ใบประกอบแบบขนนกมีสามใบย่อย เรียงสลับ ก้านใบประกอบยาว ๑-๒.๕ ซม. มีขนสีเทาถึงน้ำตาลอ่อน หูใบบางโปร่งแสง กว้าง ๑-๒ มม. ยาว ๐.๕-๑ ซม. ปลายเรียวแหลมมีขนสั้น ใบย่อยรูปรี รูปไข่ รูปไข่กลับ ถึงรูปขอบขนาน ขนาดไล่เลี่ยกันแต่ใบกลางใหญ่กว่าเล็กน้อย กว้าง ๐.๕-๒ ซม. ยาว ๑.๕-๕ ซม. ปลายมน โคนสอบมน แผ่นใบบาง ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ด้านล่างมีขนสั้นสีเทาถึงน้ำตาลอ่อนเส้นแขนงใบข้างละ ๕-๘ เส้น ก้านใบย่อยกลางยาว ๐.๕-๑.๕ ซม. ก้านใบย่อยคู่ข้างสั้นมาก

 ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามง่ามใบ ดอกรูปดอกถั่ว สีขาวถึงเหลืองอ่อน กลีบเลี้ยงยาว ๔.๕-๗ ซม. โคนติดกันเป็น


หลอดสั้น ๆ ปลายแยกจากกันเป็น ๔ แฉก แฉกล่างสุดยาวกว่า ๓ แฉกที่เหลือ มีขนสีเทาถึงน้ำตาลอ่อน กลีบดอก ๕ กลีบ กลีบกลางรูปรี กว้าง ๕-๗ มม. ยาว ๖-๙ มม. ปลายมนโคนสอบ เกสรเพศผู้ ๑๐ อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นแผ่น รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑ เม็ด

 ฝักแบน เบี้ยวถึงเกือบกลม กว้างประมาณ ๘ มม. ยาว ๐.๘-๑ ซม. มี ๑ เมล็ด ขนาดเล็ก รูปไต

 กระดูกอึ่งชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามที่โล่งในป่าเบญจพรรณที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐-๔๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ในต่างประเทศพบที่จีนตอนใต้และภูมิภาคอินโดจีน

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กระดูกอึ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dendrolobium lanceolatum (Dunn) Schindl.
ชื่อสกุล
Dendrolobium
คำระบุชนิด
lanceolatum
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Dunn, Stephen Troyte
- Schindler, Anton Karl
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Dunn, Stephen Troyte (1868-1938)
- Schindler, Anton Karl (1879-1964)
ชื่ออื่น ๆ
กระดูกเขียด (นครพนม); กระดูกอึ่งใหญ่ (นครราชสีมา); แกลบหนู, แกลบหูหนู, แปลงหูหนู (ปราจีนบุรี); ยิ่งใ
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ชวลิต นิยมธรรม