กระดูกกบ

Hymenopyramis brachiata Wall. ex Schauer

ชื่ออื่น ๆ
กงกาง (พิษณุโลก, เชียงราย); กงกางเครือ, กระดูกแตก, กระพัดแม่ม่าย (กลาง); กงเกง, ขงเข็ง, ขาเปีย, จะก๊
ไม้เลื้อย โคนต้นมีหนามแข็ง กิ่งและช่อดอกตั้งฉากกับลำต้น ใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีถึงรูปไข่ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาว ผลแบบผลแห้ง แข็ง ค่อนข้างกลม อยู่ภายในกลีบเลี้ยงที่ขยายใหญ่และเชื่อมติดกันเป็นถุง

กระดูกกบเป็นไม้เลื้อย โคนต้นมีหนามแข็ง กิ่งและช่อดอก ตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม มีขนสั้น ๆ สีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น

 ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีถึงรูปไข่ กว้าง ๒.๕-๘ ซม. ยาว ๕-๑๒ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบแผ่นใบบาง ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบด้านล่างมีขนสั้น ๆ สีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น เส้นแขนงใบข้างละ ๖-๘ เส้น ก้านใบยาว ๑-๒ ซม.

 ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ยาว ๑๕-๓๕ ซม. ช่อดอกย่อยตั้งฉากกับแกนช่อดอก ดอกเล็ก สีขาว กลีบเลี้ยงสั้นมาก โคนติดกันเป็นรูปถ้วยขนาดเล็ก มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกขนาดเล็กมาก โคนติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเล็กน้อยเป็น ๔ แฉก เกสรเพศผู้ ๔ อัน ยาวกว่ากลีบดอกประมาณ ๒ เท่า รังไข่เล็ก อยู่เหนือวงกลีบมีขน มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียเรียวเล็ก ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น ๒ แฉก

 ผลแบบผลแห้ง ค่อนข้างกลม แข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๔ มม. มีกลีบเลี้ยงที่ขยายใหญ่เชื่อมติดกันเป็นถุงสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ ๑.๘ ซม. ยาวประมาณ ๒ ซม. หุ้มอยู่

 กระดูกกับมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงกันยายน ผลแก่เดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา พม่า และภูมิภาคอินโดจีน

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กระดูกกบ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hymenopyramis brachiata Wall. ex Schauer
ชื่อสกุล
Hymenopyramis
คำระบุชนิด
brachiata
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Wallich, Nathaniel
- Schauer, Johannes Conrad
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Wallich, Nathaniel (1786-1854)
- Schauer, Johannes Conrad (1813-1848)
ชื่ออื่น ๆ
กงกาง (พิษณุโลก, เชียงราย); กงกางเครือ, กระดูกแตก, กระพัดแม่ม่าย (กลาง); กงเกง, ขงเข็ง, ขาเปีย, จะก๊
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ชวลิต นิยมธรรม