กรวยป่า

Casearia grewiifolia Vent. var. grewiifolia

ชื่ออื่น ๆ
ก้วย, ผีเสื้อหลวง, สีเสื้อหลวง (เหนือ); ขุนเหยิง, บุนเหยิง (สกลนคร), คอแลน (นครราชสีมา); ตวย (เพชรบู
ไม้ต้น ผลัดใบ กิ่งอ่อนและผิวใบด้านล่างมีขนนุ่ม ใบเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ดอกสีขาวหรือเหลืองอมเขียว ออกเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปไข่ ผลสุกสีเหลือง เมล็ดเป็นเหลี่ยม มีเนื้อหุ้มสีแสด

กรวยป่าเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง ๕-๑๕ ม. ต้นที่มีอายุมากโคนต้นมีพอน เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อนกิ่งอ่อนมีขน

 ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกม รูปไข่ กว้าง ๓-๖ ซม. ยาว ๘-๑๓ ซม. ปลายแหลมโคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ มีต่อมเป็นขีดสั้น ๆ โปร่งแสง กระจัดกระจายทั่วแผ่นใบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว ๐.๖-๑.๒ ซม. มีขน หูใบเล็ก รูปสามเหลี่ยมร่วงง่าย

 ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอมเขียว มีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็ก ๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ก้านดอกยาว ๔-๖ มม. กลีบเลี้ยงเล็ก มีขน ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ ๘-๑๐ อัน ก้านชูอับเรณูยาวไม่เท่ากัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

 ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปไข่ กว้าง ๑.๕-๒ ซม. ยาว ๒.๕-๕ ซม. ผิวเรียบ ผนังหนา ผลสุกสีเหลือง เมล็ดเป็นเหลี่ยม มีจำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด

 กรวยป่ามีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าทุ่งทั่วไป จนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑,๒๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย จนถึงหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย

 กรวยป่ามีอีกพันธุ์หนึ่งคือ C. grewifolia Vent. var. gelonioides (Blume) Sleumer ส่วนต่าง ๆ ไม่มีขน

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
กรวยป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์
Casearia grewiifolia Vent. var. grewiifolia
ชื่อสกุล
Casearia
คำระบุชนิด
grewiifolia
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Ventenat, Étienne Pierre
ชื่อชนิดย่อย (ถ้ามี)
var. grewiifolia
ชื่อผู้ตั้งชนิดย่อย (ถ้ามี)
- -
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1757-1808)
ชื่ออื่น ๆ
ก้วย, ผีเสื้อหลวง, สีเสื้อหลวง (เหนือ); ขุนเหยิง, บุนเหยิง (สกลนคร), คอแลน (นครราชสีมา); ตวย (เพชรบู
ผู้เขียนคำอธิบาย
ศ. ดร.ธวัชชัย สันติสุข