ข่อยหยอง

Rinorea virgata (Thwaites) Kuntze

ชื่ออื่น ๆ
กวาด, ผักรูด (ประจวบคีรีขันธ์); ข่อยดิน, เฮาะสะท้อน (เชียงใหม่); ข่อยนั่ง (ลำปาง); ข่อยป่า (ตราด); ค
ไม้พุ่ม ใบเรียงเวียนตอนช่วงปลายกิ่ง และเป็นวงรอบตอนช่วงโคนกิ่ง รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ดอกออกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ออกตามง่ามใบ สีเหลืองอ่อน ผลแบบผลแห้งแตกกลางพู รูปขอบขนาน แก่แล้วแตกเป็น ๓ เสี่ยง

ข่อยหยองเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑ ม. กิ่งกลมยาว มีขนละเอียด

 ใบเดี่ยว เรียงเวียนตอนช่วงปลายกิ่ง และเป็นวงรอบตอนช่วงโคนกิ่ง รูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง ๑-๒.๕ ซม. ยาว ๒.๕-๔ ซม. ปลายและโคนแหลมหรือมน ขอบจักเล็กน้อย

 ดอกออกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกเล็ก ออกตามง่ามใบ สีเหลืองอ่อน ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ เล็กมาก รูปไข่ มีขน กลีบดอก ๕ กลีบ เล็กมาก รูปไข่ ยาวกว่ากลีบเลี้ยง ๒ เท่า เกสรเพศผู้ ๕ อัน ไม่มีก้าน อับเรณูมีรยางค์อยู่ที่ปลาย และยาวกว่าอับเรณู รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ มี ๓ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียยาว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉกสั้น ๓ แฉก

 ผลแบบผลแห้งแตกกลางพู รูปขอบขนาน ยาว ๐.๗-๑ ซม. เมื่อแก่จะแตกเป็น ๓ เสี่ยง แต่ละเสี่ยงมีเมล็ดเล็กมาก ๑ เมล็ด

 ข่อยหยองมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นกระจัดกระจายในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณและป่าผลัดใบ ที่สูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ ๖๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่จีนตอนใต้ ศรีลังกา พม่า ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ข่อยหยอง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rinorea virgata (Thwaites) Kuntze
ชื่อสกุล
Rinorea
คำระบุชนิด
virgata
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Thwaites, George Henry Kendrick
- Kuntze, Carl (Karl) Ernst (Eduard) Otto
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Thwaites, George Henry Kendrick (1812-1882)
- Kuntze, Carl (Karl) Ernst (Eduard) Otto (1843-1907)
ชื่ออื่น ๆ
กวาด, ผักรูด (ประจวบคีรีขันธ์); ข่อยดิน, เฮาะสะท้อน (เชียงใหม่); ข่อยนั่ง (ลำปาง); ข่อยป่า (ตราด); ค
ผู้เขียนคำอธิบาย
นางลีนา ผู้พัฒนพงศ์