กระทืบยอบชนิดนี้มีลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับชนิด B. petersianum มาก ต่างกันตรงที่ชนิดนี้มีลำต้นสูงถึง ๓๕ ซม.
ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แกนกลางยาว ๕-๑๐ ซม. มีใบย่อย ๗-๑๒ คู่ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ก้านช่อดอก อาจยาวได้ถึง ๑๔ ซม. ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยงสั้นกว่ากลีบดอกเล็กน้อย และยาวกว่าผล ๑-๒ เท่า กลีบดอกสีเหลืองมีเส้นสีม่วงตามยาวตรงปลายกลีบ
กระทืบยอบชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค ขึ้นในที่ร่มค่อนข้างขึ้น ตามริมน้ำ บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ ๕๐๐ ม.
ในฟิลิปปินส์ใช้น้ำต้มจากรากกินแก้โรคหนองในและโรคนิ่วในถุงน้ำดี น้ำต้มจากทั้งต้นแก้โรคเบาหวาน (Veldkamp, 1971) ในประเทศไทยใช้ทั้งต้นต้มน้ำกินแก้ไข้ดับพิษร้อน ต้นและใบตำพอกฝี (สมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ สํานักวัดพระเชตุพนฯ, ๒๕๐๗)
ทั้ง ๓ ชนิด เมื่อถูกกระทบใบจะหุบลง