ไม้ล้มลุก เหง้าสั้น ลำต้นตั้ง มักไม่แตกแขนง มีขนสีน้ำตาลแดงหรือเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก พบน้อยที่เรียงคล้ายเป็นวง ๓ ใบ ใบล่างมีขนาดใหญ่กว่าใบคู่บน รูปค่อนข้างกลม รูปไข่ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปรี หูใบระหว่างก้านใบรูปสามเหลี่ยมหรือรูปใบหอกแกมรูปแถบ ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ ยอด ดอกเล็กสีขาวหรือสีนวล ผลแบบผลแห้งไม่แตก คล้ายทรงรูปไข่หรือลูกข่าง ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็กมาก สีดำ รูปทรงรีค่อนข้างมน
ดาวน้อยเป็นไม้ล้มลุก สูง ๔-๑๕ ซม. เหง้าสั้น ลำต้นตั้ง มักไม่แตกแขนง มีขนสีน้ำตาลแดงหรือเกลี้ยง
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก พบน้อยที่เรียง คล้ายเป็นวง ๓ ใบ ใบล่างมีขนาดใหญ่กว่าใบคู่บน รูปค่อน ข้างกลม รูปไข่ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง ๑.๕-๖.๕ ซม. ยาว ๒-๑๑ ซม. ใบคู่บนรูปไข่ รูปไข่ แกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง ๐.๘-๓ ซม. ยาว ๑-๔.๕ ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนตัดหรือเว้ารูปหัวใจ บางครั้งอาจเบี้ยว ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น แผ่นใบ ค่อนข้างบาง ด้านบนสีเขียว เกลี้ยง ด้านล่างสีจางกว่า ค่อนข้างเกลี้ยงหรือมีขน เส้นแขนงใบข้างละ ๔-๘ เส้น เส้นใบเห็นชัดทางด้านล่าง ก้านใบล่างยาว ๐.๕-๕ ซม. ก้านใบคู่บนยาว ๐.๒-๑ ซม. มีขนหรือเกลี้ยง หูใบระหว่าง ก้านใบรูปสามเหลี่ยมหรือรูปใบหอกแกมรูปแถบ ยาว ๐.๒-๑ มม. ปลายแหลม
ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ยอด ยาว ๐.๘-๓ ซม. แต่ละช่อมี ๓-๗ ดอก พบน้อยมากที่มีได้ถึง ๒๕ ดอก ใบประดับรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ยาวประมาณ ๑.๕ มม. ใบประดับย่อยเล็กมาก ดอกสีขาวหรือสีนวล ก้านดอกยาว ๑-๓.๕ มม. หรือไร้ก้าน กลีบเลี้ยงโคนเชื่อม ติดกันเป็นหลอดสั้น ยาว ๑-๒ มม. ปลายแยกเป็น ๔-๕ แฉก รูปสามเหลี่ยม รูปไข่ หรือรูปใบหอก ขนาดไม่เท่า กัน กว้าง ๑-๑.๕ มม. ยาว ๑.๕-๓.๕ มม. มีขน กลีบดอก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว ๐.๕-๑.๔ ซม. ด้านนอกมี ขน ด้านในเกลี้ยง ปากหลอดผายออกเล็กน้อย ปลายแยก เป็น ๔-๕ แฉก รูปรี รูปใบหอก หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง ๑-๒.๗ มม. ยาว ๒-๕ มม. ปลายแหลม ขอบกลีบจด กันในดอกตูม เกสรเพศผู้ ๔ เกสร อาจพบ ๕ เกสรติดที่ โคนหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้น ยาวประมาณ ๑ มม. เกลี้ยง อับเรณูรูปแถบ ยาวประมาณ ๑.๕ มม. รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มีขน มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวน มาก ก้านยอดเกสรเพศเมียเรียวเล็ก ปลายแยก ๒ แฉก ยอดเกสรเพศเมียแบน มีขน ก้านยอดเกสรเพศเมียรวม ยอดเกสรเพศเมียยาวได้ถึง ๒ มม.
ผลแบบผลแห้งไม่แตก คล้ายทรงรูปไข่หรือลูกข่าง กว้าง ๒.๕-๕ มม. ยาว ๓-๘ มม. อาจมีสัน ๕-๗ สัน มักเห็นไม่ชัด ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดขนาดเล็กมาก สีดำ รูปทรงรีค่อนข้างมน
ดาวน้อยมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ พบตาม ร่องหิน หน้าผา บริเวณที่ร่มและชื้นของเขาหินปูน ที่สูง จากระดับทะเล ๕๕๐-๑,๘๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผล เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ในต่างประเทศพบทางเหนือ ของอินเดีย เมียนมา และจีน.