ด่านราชสีห์

Tephrosia vestita Vogel

ชื่ออื่น ๆ
หลาบเงือก (ยโสธร); ถั่วโหนกยาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่ม กิ่งมีขนสีเหลืองคล้ายไหมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อย ๕-๑๕ ใบ เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ รูปรี หรือรูปไข่แคบถึงรูปรีแคบ แผ่นใบด้านล่างมีขนคล้ายไหม หนาแน่น หูใบรูปใบหอก ช่อดอกคล้ายช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ตามซอกใบ หรือออกตรงข้ามใบ ดอกรูป ดอกถั่ว สีขาวถึงสีขาวนวล ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว รูปแถบ เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมถึงรูปรีตามขวางหรือรูปไต สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลดำ มีจุดสีเทา มี ๖-๑๔ เมล็ด


     ด่านราชสีห์เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่ม สูงได้ถึง ๓ ม. มีเนื้อไม้หรือกึ่งมีเนื้อไม้ กิ่งมีขนสีเหลืองคล้ายไหม หนาแน่น
     ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อย ๕-๑๕ ใบ เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ รูปรี หรือรูป ไข่แคบถึงรูปรีแคบ กว้าง ๐.๕-๒.๓ ซม. ยาว ๑-๖.๕ ซม. ปลายแหลม มน หรือมนกลมถึงเว้าตื้น โคนรูปลิ่มถึงมน ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนคล้ า ยไหมหนาแน่น เส้นกลางใบเป็นสันนูน ทางด้านล่าง เส้นแขนงใบข้างละ ๙-๒๖ เส้น นูนหรือเรียบ ทางด้านบน นูนทางด้านล่าง เส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัดทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบยาว ๒-๑๔.๕ ซม. แกนกลาง ยาว ๑.๗-๑๓ ซม. ก้านใบย่อยยาว ๒-๕ มม. หูใบรูปใบหอก กว้าง ๐.๗-๑.๕ มม. ยาว ๒-๖ มม. มีขนคล้ายไหม หนาแน่น
     ช่อดอกคล้ายช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ตาม ซอกใบ หรือออกตรงข้ามใบ ยาว ๒-๒๔.๕ ซม. บริเวณ โคนมีใบประดับเป็นกระจุก ๔-๖ ใบ รูปสามเหลี่ยมถึง สามเหลี่ยมแคบ กว้าง ๐.๓-๐.๘ มม. ยาว ๑.๕-๔ มม. ก้านดอกสั้นมากหรือยาวได้ถึง ๓ มม. ดอกรูปดอกถั่ว สีขาวถึงสีขาวนวล ยาว ๐.๘-๑.๙ ซม. กลีบเลี้ยงอวบ น้ำ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กว้าง ๔-๖ มม. ยาว ๒.๓-๓.๕ มม. ด้านนอกมีขนคล้ายไหม ด้านในมีขน ประปรายถึงขนสั้นนุ่ม ปลายแยกเป็น ๔ แฉก รูป สามเหลี่ยมขนาดไม่เท่ากัน แฉกกลางกว้าง ๓-๕.๕ มม. ยาว ๑.๑-๓ มม. ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ขนาดเล็ก กลีบ ดอก ๕ กลีบ กลีบกลางอวบน้ำ รูปวงกลมถึงรูปรี กว้าง ๑.๒-๑.๔ ซม. ยาว ๑.๕-๑.๘ ซม. ปลายมนกลม ตรง ปลายสุดเรียวแหลมถึงแหลม โคนมีติ่งเล็กน้อย ก้าน กลีบยาว ๑-๔ มม. ผิวกลีบด้านนอกมีขนคล้ายไหม ด้าน ในเกลี้ยง กลีบคู่ข้างกว้าง ๒.๘-๖.๕ มม. ยาว ๑.๒-๑.๕ ซม. มีติ่งยื่นออกมาด้านล่าง ก้านกลีบยาว ๐.๘-๓ มม. เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน กลีบคู่ล่างกว้าง ๓-๗ มม. ยาว ๐.๙- ๑.๔ ซม. ด้านนอกมีขนคล้ายไหม ด้านข้างโป่งพอง ก้าน กลีบยาว ๐.๘-๓ มม. เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร เกลี้ยง เชื่อม ติด ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกมี ๙ เกสร โคนก้านชูอับเรณูเชื่อม ติดกันเป็นแผ่น ยาว ๐.๕-๑.๓ ซม. ปลายแยกไม่เท่ากัน ยาวและสั้นสลับกัน อีก ๑ เกสรแยกเป็นอิสระ ยาว ๐.๘- ๑.๗ ซม. อับเรณูยาว ๐.๘-๑.๑ มม. รังไข่อยู่เหนือ วงกลีบ รูปแถบแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๐.๗-๑.๕ มม. ยาว ๐.๖-๑.๓ ซม. มี ๑ ช่อง มีออวุล ๑๐-๑๕ เม็ด ก้าน ยอดเกสรเพศเมียแบน ยาว ๐.๕-๑.๑ ซม. ไม่บิดงอ มีขน ทั้ง ๒ ด้านหรือมีขนด้านเดียว โคนก้านยอดเกสรเพศเมีย คล้ า ยแปรง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม

 


     ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว รูปแถบ กว้าง ๔-๗ มม. ยาว ๓.๒-๙.๕ ซม. ด้านนอกมีขนคล้ายไหมถึงขน กำมะหยี่ ด้านในเกลี้ยง มักมีส่วนของกลีบดอกและก้าน ยอดเกสรเพศเมียติดอยู่ที่ปลาย เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมถึงรูปรี ตามขวางหรือรูปไต กว้าง ๒.๕-๓ มม. ยาว ๓-๓.๕ มม. สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลดำ มีจุดสีเทา มี ๖-๑๔ เมล็ด
     ด่านราชสีห์มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ พบตามป่าผลัดใบ ป่าไผ่และตามเขาหินปูน ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึง ประมาณ ๘๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนสิงหาคม ถึงพฤศจิกายน ในต่างประเทศพบที่จีนตอนใต้ ลาว เวียดนาม และภูมิภาคมาเลเซียยกเว้นเกาะบอร์เนียว
     ประโยชน์ ใบตำพอกฝี.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ด่านราชสีห์
ชื่อวิทยาศาสตร์
Tephrosia vestita Vogel
ชื่อสกุล
Tephrosia
คำระบุชนิด
vestita
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Vogel
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Vogel ช่วงเวลาคือ (1812-1841)
ชื่ออื่น ๆ
หลาบเงือก (ยโสธร); ถั่วโหนกยาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ผู้เขียนคำอธิบาย
นายเสกสรร ไกรทองสุข
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.