ดาดหางนกกะลิง

Begonia elisabethiae Kiew

ไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นใต้ดินเป็นหัวค่อนข้างกลม มีรากเรียวเล็กจำนวนมาก ลำต้นเหนือดินกึ่งตั้งตรง อวบน้ำ สีเขียวอ่อนหรือสีแดงเข้ม ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปใบหอกแกมรูปไข่ ดอกแยกเพศร่วมต้นร่วมช่อ ช่อดอกแบบ ช่อกระจุกด้านเดียว ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาวมีลายเส้นสีแดง ผลแบบผลแห้งแตก ส่วนที่เป็นผลไม่รวมปีกทรง รูปไข่ เมล็ดขนาดเล็ก รูปกระสวย มีจำนวนมาก


     ดาดหางนกกะลิงเป็นไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้น ใต้ดินเป็นหัวค่อนข้างกลม มีรากเรียวเล็ก จำนวนมาก ลำต้น เหนือดินกึ่งตั้งตรง สูง ๑๐-๒๐ ซม. อวบน้ำ สีเขียวอ่อน หรือสีแดงเข้ม เกลี้ยงหรือมีขนสั้นแข็ง
     ใบเดี่ยว เรียงเวียน มี ๒-๓ ใบ รูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง ๖-๘ ซม. ยาว ๑๐-๑๖.๕ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปหัวใจเบี้ยว ขอบค่อนข้างเรียบ หยักละเอียด หรือ เว้าตื้นเป็น ๓-๔ แฉก ปลายแฉกเป็นติ่งแหลม แผ่นใบ ไม่สมมาตร อวบน้ำ เมื่อแห้งบางคล้ายกระดาษ ด้านบน สีเขียวสว่าง สีเขียวเข้ม หรือสีดำแกมสีเขียว มีขนเล็ก น้อย ด้านล่างสีเขียวอ่อนหรือสีม่วงแดง มีขนสั้นแข็ง เส้น ใบจากโคนใบ ๓ เส้น เห็นชัดทางด้านล่าง ก้านใบสีเขียวอ่อน เมื่อแห้งสีน้ำตาลอมม่วงแดง ยาว ๑-๖ ซม. หูใบสี เขียวอ่อน รูปใบหอก กว้าง ๓-๔ มม. ยาว ๕-๗ มม. ขอบ เรียบและเป็นคลื่น ปลายแหลม ติดทน

 


     ดอกแยกเพศร่วมต้นร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อ กระจุกด้านเดียว ออกที่ปลายกิ่ง ยาว ๗-๑๑ ซม. ดอก เพศผู้ ๘-๑๐ ดอก ดอกเพศเมีย ๒-๔ ดอก ใบประดับร่วง ง่าย ใบประดับย่อยรูปเรือ กว้างได้ถึง ๑.๕ มม. ยาว ๑- ๑.๕ มม. สีเขียวอ่อนและมีลายเส้นสีแดง ดอกสีขาวและ มีลายเส้นสีแดง ดอกเพศผู้มีก้านดอกยาว ๐.๘-๑.๕ ซม. มีกลีบรวม ๔ กลีบ เรียงเป็น ๒ วง กลีบวงนอก ๒ กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง ๐.๖-๑ ซม. ยาว ๐.๖- ๑.๕ ซม. ปลายมน ขอบเรียบ ด้านนอกมีขนหนาแน่น บริเวณกึ่งกลางของกลีบ กลีบวงใน ๒ กลีบ รูปไข่กลับ กว้าง ๒-๖ มม. ยาว ๐.๕-๑.๒ ซม. ปลายมน ขอบเรียบ เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีเหลือง เป็น กระจุก ก้านชูเกสรเพศผู้ยาวประมาณ ๓ มม. ก้านชู อับเรณูยาว ๐.๓-๐.๕ มม. อับเรณูรูปไข่ ยาวประมาณ ๑ มม. เชื่อมกันที่ฐานและแตกเป็นร่องสั้นที่ปลาย ดอก เพศเมียมีก้านดอกยาว ๔-๗ มม. กลีบรวม ๕ กลีบ ขนาด ไม่เท่ า กัน รูปไข่กลับ กว้ า ง ๕-๗ มม. ยาว ๑-๑.๒ ซม. ด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนเป็นกระจุก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลขนาดเล็กจำนวนมาก มี ๓ ปีก ขนาดไม่เท่ากัน สีเขียวอ่อนและมีลายเส้นสีแดง ก้าน ยอดเกสรเพศเมีย ๒ ก้าน ยาว ๐.๕-๑ ซม. ยอดเกสร เพศเมียสีเหลือง รูปไต บิดเป็นเกลียว

 


     ผลแบบผลแห้งแตก ห้อยลง สีเขียวอ่อนและ มีลายเส้นสีแดง ส่วนที่เป็นผลไม่รวมปีกทรงรูปไข่ ผลแก่ สีน้ำตาลอ่อน กว้าง ๑-๑.๒ ซม. ยาว ๑.๘-๒ ซม. ปีก ด้านข้าง ๒ ปีกรูปสามเหลี่ยม โค้งไปตามความยาวของ ผล สูงประมาณ ๑ ซม. อีก ๑ ปีกรูปสามเหลี่ยม ไม่ สมมาตร สูงประมาณ ๒ ซม. เมล็ดขนาดเล็ก รูปกระสวย มีจำนวนมาก
     ดาดหางนกกะลิงจัดเป็นพรรณไม้หายากของ ประเทศไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ พบใน ป่าดิบ บริเวณริมลำธารบนภูเขาหินปูนที่มีความชื้นสูง ที่สูงจากระดับทะเล ๑๐๐-๒๐๐ ม. ออกดอกเดือน พฤษภาคมถึงพฤศจิกายน เป็นผลเดือนพฤศจิกายนถึง มกราคม ในต่างประเทศพบที่มาเลเซียตอนใต้.

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาดหางนกกะลิง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Begonia elisabethiae Kiew
ชื่อสกุล
Begonia
คำระบุชนิด
elisabethiae
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Kiew
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Kiew ช่วงเวลาคือ (fl. 1989)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ผศ. ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.