ดาดห้อย๑

Damrongia fulva (Barnett) D. J. Middleton et A. Weber

ไม้ล้มลุกหลายปี โคนต้นแทรกอยู่ในซอกหิน รากแก้วยาวแทรกยึดอยู่ในซอกหิน ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุก แบบกุหลาบซ้อน รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ ใบรอบนอกใหญ่กว่ารอบใน ดอกมักออกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบ ช่อกระจุกซ้อน ออกตามซอกใบ มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ดอกสีขาว ห้อยลง ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอก แคบ เรียวยาว กลีบเลี้ยงขยายขนาดหุ้มอยู่ที่โคน ติดทน เมล็ดขนาดเล็ก มีจำนวนมาก


     ดาดห้อยชนิดนี้เป็นไม้ล้มลุกหลายปี สูง ๑-๓ ซม. มีขนสั้นหนาแน่น โคนต้นแทรกอยู่ในซอกหิน เส้นผ่าน ศูนย์กลาง ๕-๖ มม. สีน้ำตาลอ่อน รากแก้วยาวแทรกยึด อยู่ในซอกหิน
     ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกแบบกุหลาบซ้อน มี ๑๐-๑๘ ใบ รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ กว้าง ๔- ๕.๕ ซม. ยาว ๗-๑๕ ซม. ใบรอบนอกใหญ่กว่ารอบใน ปลายแหลม โคนรูปลิ่มและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบหยัก มีขน สั้นนุ่มหนาแน่นทั้ง ๒ ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ ๖-๘ เส้น ก้านใบยาว ๓-๖ ซม. ก้านใบรอบในสั้นกว่ารอบนอก มีขน สั้นนุ่มหนาแน่น

 


     ดอกมักออกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบช่อกระจุก ซ้อน มี ๑-๘ ช่อ ออกตามซอกใบ แต่ละช่อมีได้ถึง ๕ ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ ๑ ซม. มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ดอกห้อยลง ก้านดอกยาว ๑.๗-๒.๕ ซม. มีขนสั้นนุ่ม หนาแน่น ใบประดับรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้างประมาณ ๑.๕ มม. ยาวประมาณ ๕ มม. ปลายแหลม มีขนสั้นนุ่ม หนาแน่น ใบประดับย่อยรูปใบหอกแกมรูปไข่แคบ กว้าง ประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๓ มม. ปลายแหลม มีขน สั้นนุ่มหนาแน่น กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปแถบแคบ กว้าง ๑.๕-๒ มม. ยาว ๑-๑.๒ ซม ปลายแหลม มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ยาวประมาณ ๑.๓ ซม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แยกเป็น ๒ ซีก ซีกบน ๒ แฉก ซีกล่าง ๓ แฉก รูปไข่กว้างหรือรูปเกือบกลม กว้าง ๕-๖ มม. ยาว ๔.๕-๕ มม. ปลายมนกลม มีขนประปราย เกสร เพศผู้ ๕ เกสร ติดอยู่ในหลอดกลีบดอก ที่สมบูรณ์ ๒ เกสร ยาวประมาณ ๑ ซม. ก้านชูอับเรณูสีขาว ยาวประมาณ ๗ มม. อับเรณูสีขาว รูปไต กว้างประมาณ ๐.๗ มม. ยาว ประมาณ ๑.๕ มม. ที่เหลืออีก ๓ เกสรเป็นหมัน อยู่ใกล้ โคนหลอดกลีบดอก ยาวประมาณ ๒ มม. หรือลดรูปเกือบ ไม่เห็น รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ทรงรูปไข่ กว้างประมาณ ๑.๒ มม. ยาวประมาณ ๔ มม. สีขาว มีขนสั้นหนาแน่น มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้ า นยอดเกสรเพศ เมียยาว ๖-๙ มม. มีขนสั้น ยอดเกสรเพศเมียคล้ายรูป หัวใจ กว้างและยาวประมาณ ๑.๕ มม. สีขาวหรือสีน้ำตาล อ่อน

 


     ผลแบบผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกแคบ เรียว ยาว กลีบเลี้ยงขยายขนาดหุ้มอยู่ที่โคน ติดทน เมล็ด ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก
     ดาดห้อยชนิดนี้เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ พบตามหน้าผาหินปูน ที่สูงจากระดับทะเล ๕๐-๒๐๐ ม. ออกดอกเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม เป็นผลเดือนกันยายนถึงธันวาคม
     ชื่อสกุลตั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พระองค์เจ้า ดิศวรกุมาร, พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๘๖).

 

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาดห้อย๑
ชื่อวิทยาศาสตร์
Damrongia fulva (Barnett) D. J. Middleton et A. Weber
ชื่อสกุล
Damrongia
คำระบุชนิด
fulva
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Barnett)
- D. J. Middleton et A. Weber
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Barnett) ช่วงเวลาคือ (1890-1970)
- D. J. Middleton ช่วงเวลาคือ (1963-)
- A. Weber ช่วงเวลาคือ (1947-)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.