ดาดใบวง

Begonia adenopoda Lem.

ไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นใต้ดินเป็นหัวค่อนข้างกลม มีรากเรียวเล็ก ลำต้นเหนือดินอวบน้ำ ตั้งตรง สีแดงอมม่วง หรือสีแดงอมเขียว ใบเดี่ยว เรียงเวียนถี่คล้ายเป็นวงรอบข้อ รูปไข่ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปรี ดอก แยกเพศร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อกระจุกด้านเดียว ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว ผลแบบผลแห้งแตก ทรงรูปไข่กว้ า ง มีปีก ๓ ปีก เมล็ดรูปกระสวย มีจำนวนมาก


     ดาดใบวงเป็นไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นใต้ดินเป็น หัวค่อนข้างกลม มีรากเรียวเล็ก ลำต้นเหนือดินอวบน้ำ ตั้งตรง สีแดงอมม่วงหรือสีแดงอมเขียว สูง ๘-๑๐ ซม. เกลี้ยง
     ใบเดี่ยว เรียงเวียนถี่คล้ายเป็นวงรอบข้อ มี ๔-๖ ใบ รูปไข่ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปรี เบี้ยว กว้าง ๐.๘-๒.๕ ซม. ยาว ๑-๖ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปหัวใจหรือรูปลิ่ม ขอบจักฟันเลื่อยถึงหยักมน ไม่เป็นระเบียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนมีขนสั้น แข็งประปราย ด้านล่างเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ ๓-๔ เส้น เห็นชัดทางด้านล่าง เส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นไม่ ชัด ก้านใบเรียว ยาว ๐.๕-๑ ซม. หูใบรูปใบหอก กว้าง ประมาณ ๐.๕ มม. ยาวประมาณ ๑ มม. ติดทน

 


     ดอกแยกเพศร่วมช่อ ช่อดอกแบบช่อกระจุก ด้านเดียว ออกที่ปลายกิ่ง ช่อตั้ง ยาว ๓-๘ ซม. ดอก เพศผู้บานก่อนดอกเพศเมีย ใบประดับ ๑ คู่ ร่วงง่าย ใบ ประดับย่อยรูปใบหอก สีเขียวอ่อน กว้างได้ถึง ๑ มม. ยาว ประมาณ ๒ มม. มีขนต่อมหนาแน่น ดอกสีขาว ก้านดอก ยาว ๑-๒ มม. ดอกเพศผู้มีกลีบรวมรูปเกือบกลม มี ๔ กลีบ เรียงเป็น ๒ วง กลีบวงนอก ๒ กลีบ กว้าง ๒-๓ มม. ยาว ๓-๔ มม. ด้านนอกมีขนต่อมประปราย กลีบวงใน ๒ กลีบ กว้าง ๓-๔ มม. ยาว ๑-๒ มม. เกสรเพศผู้ ๘ เกสร เชื่อมติดกันที่โคน ก้านชูอับเรณูและอับเรณูรูปขอบขนาน สีเหลือง ยาวประมาณ ๒ มม. ดอกเพศเมียมีกลีบรวมรูป เกือบกลม มี ๒-๓ กลีบ เรียงเป็น ๒ วง กลีบวงนอก ๒ กลีบ กว้าง ๓-๕ มม. ยาว ๓-๔ มม. ด้านนอกมีขนต่อม ประปราย กลีบวงใน ๑ กลีบ กว้างและยาว ๓-๔ มม. ด้านนอกเกลี้ยง รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มีขนต่อมหนาแน่น มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลขนาดเล็กจำนวนมาก ก้านยอด เกสรเพศเมียตั้งตรง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น ๒ แฉก รูปไต และบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย
     ผลแบบผลแห้งแตก ทรงรูปไข่กว้าง กว้าง ๖-๗ มม. ยาว ๕-๖ มม. (รวมปีก) สีเขียวอ่อน เมื่ออ่อนมีขน ต่อม มีปีก ๓ ปีก ปีกด้านข้าง ๒ ปีก เป็นครีบยาวตลอด ด้านข้างของผล กว้าง ๔-๕ มม. ยาวประมาณ ๓ มม. อีก ๑ ปีก รูปสามเหลี่ยม กว้างกว่าปีกด้านข้าง ยาว ๔-๕ มม. โค้งไปตามความยาวของผล ผลแก่สีน้ำตาล เมื่อแก่แตก ตามแนวตะเข็บของผล เมล็ดรูปกระสวย ขนาดเล็ก มี จำนวนมาก
     ดาดใบวงจัดเป็นพรรณไม้หายากของไทย มีเขต การกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือ พบตามซอกหินที่ค่อน ข้างชื้น ริมลำธารเล็ก ๆ ของภูเขาหินปูนที่มีแสงน้อย ที่สูงจากระดับทะเลประมาณ ๔๐๐ ม. ออกดอกและ เป็นผลเดือนมิถุนายนถึงกุมภาพันธ์ ในต่างประเทศพบที่ เมียนมา.

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาดใบวง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Begonia adenopoda Lem.
ชื่อสกุล
Begonia
คำระบุชนิด
adenopoda
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Lem.
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- Lem. ช่วงเวลาคือ (1800-1871)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ผศ. ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.