ดาดตะกั่ว

Hemigraphis alternata (Burm. f.) T. Anderson

ชื่ออื่น ๆ
ฤๅษีผสมแล้ว (กลาง); ห่งจี๊อั้ง (จีน); ฮ่อมครั่ง (เหนือ)

ไม้ล้มลุก ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาทอดเลื้อย มีขนสั้นนุ่ม บางครั้งมีสีออกแดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายกิ่ง ดอกออกเป็นคู่ ๆ แน่นหรือห่าง ดอก สีขาว ผลแบบผลแห้งแตก รูปคล้ายกระสวย เมล็ดรูปคล้ายเลนส์ มี ๖-๑๒ เมล็ด


     ดาดตะกั่วเป็นไม้ล้มลุก สูง ๓๐-๗๕ ซม. ลำต้น แผ่กิ่งก้านสาขาทอดเลื้อย มีขนสั้นนุ่ม บางครั้งมีสีออกแดง
     ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ หรือรูป ขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง ๒.๕-๖ ซม. ยาว ๔-๑๐ ซม. ปลายแหลมถึงมน โคนมนถึงมนกลม ขอบหยักมนเล็ก แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ สากคาย ด้านบนเป็นมัน สี เขียวแซมสีเทาและสีแดง ด้านล่างสีแดงอ่อนอมม่วงหรือ สีเขียวอมเทาแซมสีแดง มีขนสั้นนุ่มค่อนข้างหนาแน่น ถึงค่อนข้ า งเกลี้ยงบนเส้นใบ มีผลึกหินปูนกระจายทั่วทั้ง แผ่นใบทั้ง ๒ ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ ๕-๖ เส้น เส้นใบ ย่อยแบบร่างแห เส้นกลางใบ เส้นแขนงใบ และเส้นใบ ย่อย เห็นชัดทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบยาว ๒-๕.๕ ซม. สีออกแดง
     ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายกิ่ง ยาว ๒-๑๐ ซม. ก้านช่อยาว ๑-๔.๕ ซม. ดอกออกเป็นคู่ ๆ แน่นหรือห่าง ใบประดับรูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาว ๐.๗- ๑.๕ ซม. ปลายมน ขอบมีขนยาว ดอกที่ซอกใบประดับ ล่าง ๆ มักมีดอกซ้อนกัน ๒ ดอก ดอกที่ซอกใบประดับ บน ๆ มักมีดอกเดียว ใบประดับย่อยอยู่ติดกับกลีบเลี้ยง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงยาวประมาณ ๗ มม. จักลึก ๕ แฉก ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกยาวประมาณ ๑.๕ ซม. โคนเชื่อม ติดกันเป็นหลอดตรง ยาว ๒.๗-๓.๕ ซม. ปลายผายออก ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ปลายมี ๕ แฉก เรียงบิดเวียนในตา ดอก แฉกค่อนข้างเท่ากัน หรือแฉกบน ๓ แฉกเชื่อมกัน และยาวกว่าเล็กน้อย เกสรเพศผู้ ๔ เกสร ติดตรงส่วนที่ ผายออกของหลอดกลีบดอก โคนก้านชูอับเรณูมีเยื่อเชื่อม กัน เยื่อนี้อาจเชื่อมติดกับหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณู คู่หน้ายาวกว่าคู่หลัง โคนมีขน ถัดขึ้นมามีขนต่อม อับเรณู มี ๒ พู ติดเกือบกึ่งกลาง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปคล้าย กระสวย มีขนเฉพาะด้านบน มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๕-๖ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียมีขนสั้นตรง ยอดเกสร เพศเมียเป็น ๒ แฉก รูปลิ่มแคบ แฉกด้านหลังใหญ่กว่า ด้านหน้า
     ผลแบบผลแห้งแตก รูปคล้ายกระสวย เมล็ดรูป คล้ายเลนส์ มี ๖-๑๒ เมล็ด
     ดาดตะกั่วเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิด ในคาบสมุทรมาเลเซีย (เกาะชวา) นำมาปลูกทั่วไปใน เขตร้อน ในประเทศไทยปลูกเป็นไม้ประดับ ยังไม่มีข้อมูล การติดผลในประเทศไทย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดาดตะกั่ว
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hemigraphis alternata (Burm. f.) T. Anderson
ชื่อสกุล
Hemigraphis
คำระบุชนิด
alternata
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- (Burm. f.)
- T. Anderson
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (Burm. f.) ช่วงเวลาคือ (1734-1793)
- T. Anderson ช่วงเวลาคือ (1832-1870)
ชื่ออื่น ๆ
ฤๅษีผสมแล้ว (กลาง); ห่งจี๊อั้ง (จีน); ฮ่อมครั่ง (เหนือ)
ผู้เขียนคำอธิบาย
ดร.ก่องกานดา ชยามฤต
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.