ไม้เถาหรือไม้รอเลื้อยขนาดใหญ่ กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยมและมีขนนุ่มสีเทาหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย สลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปไข่ ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง รูปสามเหลี่ยม ออกที่ ปลายกิ่งและตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีขาว ผลแบบผลแห้ง ป้อม มีขน และมีกลีบเลี้ยงที่ขยายใหญ่ หุ้มภายนอกเป็นโคมรูปหัวใจ มีเมล็ด ๑ เมล็ด
ด่างเป็นไม้เถาหรือไม้รอเลื้อยขนาดใหญ่ กิ่งอ่อน เป็นสันสี่เหลี่ยมและมีขนนุ่มสีเทาหนาแน่น
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย สลับ ตั้งฉาก รูปรีแกมรูปไข่ กว้าง ๒.๕-๔.๕ ซม. ยาว ๔.๕- ๑๐ ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือสอบเล็กน้อย ขอบหยัก ห่าง ๆ หรือเรียบ แผ่นใบบาง ด้านบนสีเขียว เมื่อยังอ่อน มีขนประปราย ด้านล่างเป็นคราบขาวและมีขนนุ่ม เส้น แขนงใบข้างละ ๕-๘ เส้น เส้นใบย่อยแบบขั้นบันได เห็น ชัดทางด้านล่าง ก้านใบยาวประมาณ ๑ ซม. มีขนนุ่ม
ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง รูปสามเหลี่ยม ออกที่ปลายกิ่งและตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว ๒-๗ ซม. ห้อยลง ทุกส่วนมีขนนุ่มสีเทา ช่อย่อยออกตรงข้ามกัน โคนช่อย่อยมีใบประดับรูปใบหอก ยาว ๓-๕ มม. ร่วงง่าย ดอกเล็กมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นสันสี่เหลี่ยม ปลายแยกเป็นแฉกแหลมสั้น ๔ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลาย แยกเป็นแฉกเบี้ยว ๔ แฉก ยาว ๑-๒ มม. เกสรเพศผู้ ๔ เกสร ยาวใกล้เคียงกัน ติดอยู่ที่ด้านในหลอด รังไข่อยู่เหนือ วงกลีบ ป้อม มีขนแน่น มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๔ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น ๒ แฉก
ผลแบบผลแห้ง ป้อม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓ มม. มีขน และมีกลีบเลี้ยงที่ขยายใหญ่หุ้มภายนอก เป็นโคมรูปหัวใจ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๒ ซม. มีครีบ บาง ๆ ตามยาว ๔ ครีบ ก้านผลยาวประมาณ ๑ ซม. มี เมล็ด ๑ เมล็ด
ด่างเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย มีเขตการ กระจายพันธุ์ทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบขึ้น ตามป่าเบญจพรรณและบริเวณใกล้เขาหินปูน ที่สูงจาก ระดับทะเลประมาณ ๑๕๐ ม.