ดับยาง

Solanum erianthum D. Don

ชื่ออื่น ๆ
ขากะอ้าย, ขาตาย, หูควาย (ใต้); ฉับแป้ง (สุโขทัย); ฝ่าแป้ง (เหนือ); มะเขือดง (ขอนแก่น); มั่งพะไป, ลิ้มเม่อเจ้อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); สะแป้ง (สิงห์บุรี); ส่างโมง (เลย)

ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นและกิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มรูปดาวปกคลุมหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบ ขนานแกมรูปไข่ รูปรี รูปใบหอกแกมรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงคล้ายช่อเชิงหลั่น ออกที่ซอกใบ เหนือซอกใบ หรือตรงข้ามใบ ดอกสีขาว ปลายแยกคล้ายรูปดาว ปลายอับเรณูแตกเป็นช่อง ผล แบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงกลม เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกสีเหลืองอมน้ำตาลแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง อมดำหรือสีดำ เมล็ดสีเหลืองอมน้ำตาล รูปทรงค่อนข้างกลมหรือคล้ายรูปไต มีจำนวนมาก


     ดับยางเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง ๑.๕- ๑๐ เมตร แตกกิ่งมาก ลำต้นและกิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มรูป ดาวปกคลุมหนาแน่น
     ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ รูปรี รูปใบหอกแกมรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง ๓.๕- ๑๒ ซม. ยาว ๖-๒๙ ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลมสั้น โคนรูปลิ่ม มน หรือกลม ขอบเรียบหรือเว้ า เป็นคลื่นเล็ก น้อย แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่มรูปดาวปกคลุมหนาแน่น ด้านบนมีขนสั้นนุ่มและขนรูปดาวประปราย เส้นแขนงใบ ข้างละ ๗-๑๐ เส้น เห็นชัดทางด้านล่าง ก้านใบยาว ๑-๗ ซม. มีขนสั้นนุ่มรูปดาวปกคลุมหนาแน่น
     ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงคล้ายช่อเชิงหลั่น ตั้งตรง ออกที่ซอกใบ เหนือซอกใบ หรือตรงข้ามใบ ก้าน ช่อยาว ๒-๑๐ ซม. แตกแขนง ๒ ครั้ง ครั้งละ ๒ แขนง ดอกสีขาวจำนวนมากเรียงสลับบนแต่ละแขนง แต่ละดอก มีก้านยาวไม่เท่ากัน ด้านนอกของช่อมีก้านยาวกว่าด้าน ใน ยาว ๒-๘ มม. มีขนสั้นนุ่มรูปดาวปกคลุมหนาแน่นทั้ง บนก้านช่อดอกและก้านดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ยาวประมาณ ๒ มม. ปลาย แยกเป็น ๕ แฉก รูปไข่กว้างหรือรูปสามเหลี่ยม กว้าง ๒.๕- ๓ มม. ยาว ๓-๕ มม. ติดทนและขยายขนาดใหญ่เมื่อเป็น ผล ด้านนอกมีขนสั้นนุ่มรูปดาวปกคลุมหนาแน่น ด้านในมี ขนสั้นนุ่มประปราย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบด้านในและ เส้นแขนงของกลีบสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็น รูประฆัง ยาว ๒-๒.๕ มม. ปลายแยกคล้ายรูปดาว ๕ แฉก แต่ละแฉกรูปขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง ๓-๕ มม. ยาว ๕-๘ มม. ปลายแหลม มักงอโค้งไปหาก้าน เมื่อดอกบาน ด้านนอกมีขนสั้นนุ่มรูปดาวปกคลุมหนา แน่น ด้านในเกลี้ยงยกเว้นปลายและขอบกลีบดอกที่มีขน รูปดาวประปราย เกสรเพศผู้ ๕ เกสร มีขนาดเท่ากัน ก้าน ชูอับเรณูสีขาว มีส่วนที่เป็นแถบแบนแนบติดที่ฐานด้านใน หลอดกลีบดอก ยาวประมาณ ๒ มม. และส่วนที่แยกเป็น อิสระรูปเรียวแหลม ยาวประมาณ ๑.๕ มม. ติดกับอับเรณู

 

 


ที่ฐาน อับเรณูสีเหลือง รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายตัด กว้างประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๒ มม. ปลายแตกเป็น ช่อง มักเรียงชิดล้อมรอบก้านยอดเกสรเพศเมีย รังไข่ อยู่เหนือวงกลีบ ทรงรูปไข่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ มม. ยาวประมาณ ๒ มม. เว้าเป็นพูตื้น ๆ ๒ พู ตลอด แนวยาว มีขนสั้นนุ่มรูปดาวปกคลุมหนาแน่น มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมีย เรียวเล็ก ยาว ๔-๖ มม. เกลี้ยง โผล่พ้นอับเรณู ยอดเกสร เพศเมียเป็นตุ่ม
     ผลแบบผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๘-๑.๒ ซม. เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกสีเหลืองอมน้ำตาลแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมดำหรือ สีดำ ผิวมีขนสั้นนุ่มรูปดาวประปราย ก้านผลยาว ๕-๗ มม. เมล็ดสีเหลืองอมน้ำตาล รูปทรงค่อนข้างกลมหรือคล้าย รูปไต เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๒ มม. ผิวคล้ายร่างแห มี จำนวนมาก
     ดับยางเป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิด บริเวณเขตร้อนของทวีปอเมริกา มีเขตการกระจายพันธุ์ ในประเทศไทยทั่วทุกภาค พบขึ้นตามป่าดิบ ป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ เขาหินปูน พื้นที่ดินปนทราย ริมถนน ที่ราบริมแหล่งน้ำ หรือที่โล่งแจ้ง ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับ ทะเลถึงประมาณ ๑,๓๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเกือบ ตลอดปี ในต่างประเทศพบได้ทั่วไปในเขตร้อนของเอเชีย ออสเตรเลีย และแอฟริกาตะวันตก
     ประโยชน์ เปลือกรากมีรสหวาน เป็นพิษ แต่ ในปริมาณที่เหมาะสมสามารถนำไปทำยาบรรเทาอาการ อักเสบบวมสำหรับโรคข้ออักเสบ.

 

 

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
ดับยาง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Solanum erianthum D. Don
ชื่อสกุล
Solanum
คำระบุชนิด
erianthum
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- D. Don
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- D. Don ช่วงเวลาคือ (1799-1841)
ชื่ออื่น ๆ
ขากะอ้าย, ขาตาย, หูควาย (ใต้); ฉับแป้ง (สุโขทัย); ฝ่าแป้ง (เหนือ); มะเขือดง (ขอนแก่น); มั่งพะไป, ลิ้มเม่อเจ้อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); สะแป้ง (สิงห์บุรี); ส่างโมง (เลย)
ผู้เขียนคำอธิบาย
รศ. ดร.อารีย์ ทองภักดี
แหล่งอ้างอิง
อนุกรมวิธานพืช อักษร ด กองวิทยาศาสตร์อนุกรมวิธานพืช อักษร ด. pdf.