พืชไร้ดอกใกล้เคียงเฟิร์น สามารถฟื้นจากสภาวะแห้งเหี่ยวได้ ต้นตั้งและแข็ง อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีรากหนาแน่น กิ่งแบน เรียงเวียนชิดรอบต้นอัดแน่นเป็นกระจุก ใบเดี่ยว คล้ายเกล็ด เรียงสลับเป็น ๔ แถวในระนาบเดียวกัน มีรูปร่างต่างกันเป็น ๒ แบบ คือ ใบแถวข้างเรียงด้านข้างของกิ่งด้านละ ๑ แถว รูปไข่ถึงรูปสามเหลี่ยม ใบ แถวกลางเรียงซ้อนเหลื่อมกันตามแนวยาวของกิ่งเป็น ๒ แถว รูปไข่ถึงรูปขอบขนาน สตรอบิลัสออกที่ปลายกิ่ง รูปร่างเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยใบสร้างอับสปอร์หรือสปอโรฟิลล์ ๒ แบบ รูปร่างเหมือนกัน เรียงเป็น ๔ แถวรอบแกน ตั้งฉากและซ้อนกัน แต่ละใบรูปสามเหลี่ยม
ดอกหินชนิดนี้เป็นพืชไร้ดอกใกล้เคียงเฟิร์น สามารถฟื้นจากสภาวะแห้งเหี่ยวได้ สูงได้ถึง ๑๐ ซม. ต้น ตั้งและแข็ง อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีรากหนาแน่น มีเหง้า สูง ๒-๔ ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางเหง้า ๒-๔ ซม. กิ่งแบน เรียงเวียนชิดรอบต้นอัดแน่นเป็นกระจุก แตกกิ่งแบบขนนก ๒-๓ ชั้น กิ่งย่อย ๔-๗ คู่ กิ่งที่ติดกับลำต้นกว้าง ๑.๘-๒.๕ มม. กิ่งด้านล่างมองเห็นเป็นสีน้ำตาลแดง มักยาวกว่ากิ่ง ด้านบน
ใบเดี่ยว คล้ายเกล็ด เรียงสลับเป็น ๔ แถวใน ระนาบเดียวกัน มีเส้นใบ ๑ เส้น ไม่มีก้านใบ ใบมีรูปร่าง ต่างกันเป็น ๒ แบบ คือ ใบแถวข้างเรียงด้านข้างของกิ่ง ด้านละ ๑ แถว ขอบซ้อนทับกันเป็นระเบียบ รูปไข่ถึงรูป สามเหลี่ยม กว้าง ๑.๔-๑.๖ มม. ยาว ๒.๙-๓.๒ มม. แผ่น ใบเบี้ยว ปลายยาวคล้ายหาง โคนมน ขอบด้านในเป็นเยื่อ บางใส แฉกแหลมไม่เป็นระเบียบ มีขนครุย อาจพบเยื่อ บางในใบแก่ที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ขอบด้านนอกมี แนวเยื่อบาง ๆ เป็นแฉกสั้นห่างจากสัน ม้วนเข้าด้านใน ประมาณ ๐.๕-๑ มม. ใบแถวกลางเรียงซ้อนเหลื่อมกัน ตามแนวยาวของกิ่งเป็น ๒ แถว รูปไข่ถึงรูปขอบขนาน กว้าง ๐.๙-๑.๒ มม. ยาว ๒.๘-๓.๑ มม. แผ่นใบเบี้ยว ปลาย ยาวคล้ายหางและโค้งขึ้น โคนมน ขอบด้านในของกิ่งเป็น เยื่อบางใส หยักไม่เป็นระเบียบ ขอบด้านนอกเป็นเยื่อบาง ใส จักฟันเลื่อย ม้วนลง ใบง่ามกิ่งมี ๑ ใบ เรียงปิดตำแหน่ง รอยแยกของกิ่ง รูปไข่ถึงรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๒.๕ มม. ปลายยาวคล้ายหาง โคนมน ขอบทั้ง ๒ ข้างเป็นเยื่อบางใส หยักไม่เป็นระเบียบ
สตรอบิลัสออกที่ปลายกิ่ง รูปร่างเป็นแท่ง สี่เหลี่ยม กว้าง ๑.๕-๒ มม. ยาว ๑-๒ ซม. ประกอบด้วย ใบสร้างอับสปอร์หรือสปอโรฟิลล์ มี ๒ แบบ รูปร่าง เหมือนกัน เรียงเป็น ๔ แถวรอบแกน ตั้งฉากและซ้อน กัน แต่ละใบรูปสามเหลี่ยม กว้าง ๐.๗-๐.๙ มม. ยาว ๑.๓- ๑.๙ มม. ปลายยาวคล้ายหาง โคนกึ่งรูปหัวใจ ขอบเป็น เยื่อบางใส หยักไม่เป็นระเบียบ แต่ละซอกของสปอโรฟิลล์ มี ๑ อับสปอร์ ช่วงปลายของสตรอบิลัสเป็นใบสร้างอับ ไมโครสปอร์ อับไมโครสปอร์รูปคล้ายไต มีไมโครสปอร์ จำนวนมาก สีเหลือง ช่วงล่างของสตรอบิลัสเป็นใบสร้าง อับเมกะสปอร์ อับเมกะสปอร์รูปทรงค่อนข้างกลมหรือ เป็นเหลี่ยมเล็กน้อย ภายในมักมี ๔ เมกะสปอร์ สีขาว อมเหลืองหรือสีน้ำตาลเข้ม
ดอกหินชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศ ไทยทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาค ตะวันตกเฉียงใต้ พบขึ้นตามซอกหินปูน บริเวณที่มีอากาศ เย็นและมีแดดจัด ที่สูงจากระดับทะเล ๙๐๐-๒,๒๐๐ ม. ในต่างประเทศพบที่รัสเซีย เนปาล จีน มองโกเลีย เกาหลี เหนือ เกาหลีใต้ และเวียดนาม.